0
| Health Tips

เลือกกินอย่างฉลาด อ่านฉลากโภชนาการก่อนซื้อ

  Add Friend
อัพเดตโปรโมชั่นและข่าวสารดีๆ ผ่านทาง LINE LIVE & FIT
ID : @Liveandfit
 21 November 2018
 14430 times
 | 
SHARE 4 times



อ่านฉลากข้อมูลโภชนาการอย่างฉลาด ตอกย้ำผู้บริโภคยุคนี้ กินแต่ของอร่อยที่ไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ แถมยังได้รับสารอาหารครบตามความต้องการของร่างกาย อีกทั้งยังช่วยให้หลีกเลี่ยงสารอาหารที่ไม่ต้องการได้

ผู้ชื่นชอบอาหารสำเร็จรูป ผู้ที่ใส่ใจสุขภาพ และผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง โรคหัวใจ และโรคอ้วนลงพุง ฯลฯ ควรอ่านอ่านฉลากโภชนาการ ที่มีการแสดงข้อมูลโภชนาการ โดยระบุ ชนิด และปริมาณสารอาหาร ของอาหารที่เราซื้อมานั้น ๆ ในกรอบสี่เหลี่ยม บนบรรจุภัณฑ์ที่แสดงอยู่ 2 แบบ คือ

และวิธีการอ่านฉลากโภชนาการนั้น ง่ายแสนง่าย โดยต้องดูที่...

1.ดูปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคต่อภาชนะบรรจุ เป็นปริมาณการกินต่อครั้งที่แนะนำให้กินหนึ่งหน่วยบริโภค ปริมาณการกินต่อครั้งที่ผู้ผลิตแนะนำให้กิน หรือหมายถึง กินครั้งละเท่าไรนั่นเอง ซึ่งได้มาจากค่าเฉลี่ยการกินของคนไทย เมื่อกินในปริมาณเท่านี้แล้วจะได้รับสารอาหารตามที่ระบุไว้บนฉลาก หนึ่งหน่วยบริโภคจะแสดงให้เห็นในปริมาณที่เป็นหน่วยต่าง ๆ เช่น กระป๋อง ชิ้น ถ้วย แก้ว ซอง ถุง กล่อง เป็นต้น ตามด้วยน้ำหนัก…กรัม หรือ มิลลิลิตร

2. เป็นการบอกว่าถ้ากินครั้งละหนึ่งหน่วยบริโภคจะได้รับพลังงานเท่าไหร่ หรือ จะแบ่งกินได้กี่ครั้ง เพราะพลังงานรวมที่ร่างกายควรได้รับ เฉลี่ยไม่ควรเกิน 2,000 กิโลแคลอรี่ / วัน

3. ดูคุณค่าทางโภชนาการต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ว่าจะได้พลังงานเท่าใด และสารอาหารอะไรบ้าง ในปริมาณเท่าใด และปริมาณนี้ คิดเป็นร้อยละเท่าไรของปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน

4. ดูร้อยละของปริมาณที่แนะนำต่อวัน สำหรับการบริโภคเพื่อให้ร่างกายได้รับปริมาณสารอาหารให้ครบตามที่ร่างกายต้องการต่อวัน

เมื่อเรารู้จักอ่านฉลากโภชนาการ เราจะสามารถเลือกซื้ออาหารที่มี โคเลสเตอรอล สูง-ต่ำ ได้ หรือ ผู้ที่เป็นโรคไตก็เลือกอาหารมีโซเดียมต่ำได้ อีกทั้งเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารชนิดเดียวกัน แต่เลือกที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ดีกว่าได้

4 วิธีตรวจสอบฉลากโภชนาการแบบง่าย ๆ ก่อนเลือกซื้อ

  1. เช็กว่าปริมาณพลังงานต่อ 1 หน่วยบริโภคเท่าไหร่
  2. เช็กว่าปริมาณไขมันและไขมันอิ่มตัวมีเท่าไหร่ ในหนึ่งวันเราควรได้รับไขมันอิ่มตัวไม่เกิน 20 กรัมต่อวัน เพราะไขมันอิ่มตัวเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้โคเลสเตอรอลสูงขึ้นและเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ
  3. เช็กว่ามีปริมาณน้ำตาลเท่าไหร่ ในหนึ่งวัน เราควรบริโภคน้ำตาลไม่เกิน 24 กรัม หรือประมาณ 6 ช้อนชา น้ำตาลที่ได้รับเกินกว่าที่ต้องการ จะถูกเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมทำให้เป็นโรคอ้วน และส่งผลให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ไขมันอุดตันในเส้นเลือด และโรคมะเร็ง เป็นต้น
  4. เช็กว่ามีปริมาณเกลือ (โซเดียม) เท่าไหร่ ในหนึ่งวัน เราควรได้รับเกลือโซเดียมไม่เกิน 2,300 มก. การได้รับเกลือโซเดียมมากเกินไป เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคไต และความดันโลหิตสูง

ฉลาดซื้อ ฉลาดคิด ฉลากใช้ชีวิตให้มีสุขภาพดีด้วยการอ่านฉลากข้อมูลโภชนาการ นะคะ

Health Tips Other
see more