ไขมันสะสมในร่างกายมากเกินไปไม่ดี และเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดโรคต่าง ๆ อาทิ โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคอ้วน เป็นต้น ซึ่งผู้ที่ดูแลสุขภาพส่วนใหญ่ จึงหลีกเลี่ยงอาหารที่มีปริมาณไขมันสูง แต่ก็ยังมีเจ้าไขมันตัวร้ายแอบแฝงมากับอาหารสำเร็จรูปที่เราชอบซื้อมารับประทาน เพราะถือว่าเป็นอีกหนึ่งในอาหารจานด่วนที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่เร่งรีบได้เป็นอย่างดีสำหรับคนที่มีเวลาน้อยหรือมีเวลาไม่มากพอที่จะทำอาหารรับประทานเอง
แต่ผู้บริโภคอย่างเราป้องกันได้เพียงรู้จักอ่านฉลากข้อมูลโภชนาการแล้วเลือกผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีส่วนผสมของไขมัน หรือถ้ามี...ก็ให้มีให้น้อยที่สุด ง่าย ๆ ให้สังเกตตรงส่วนประกอบ (Ingredients) และตารางโภชนาการ (Nutrition facts) มองหาส่วนผสมของไขมันว่ามีค่าเป็น 0 ก. (g) เราก็หลีกเลี่ยงไขมันอันตรายนี้ได้แล้ว
โดยในแต่ละบรรจุภัณฑ์อาจมีการระบุข้อมูลโภชนาการของไขมันแตกต่างกันออกไป เช่น
แต่บรรจุภัณฑ์ส่วนใหญ่ในไทยจะระบุส่วนผสมที่เป็น…
1. ไขมันอิ่มตัว Saturated Fat
ไขมันอิ่มตัวเป็นไขมันที่มีลักษณะแข็งตัวได้ เช่น เนย ครีมเทียม เนยแข็ง ไขมันสัตว์ ไขมันมะพร้าว ปาล์ม ฯลฯ
2. ไขมันชนิดทรานส์ Trans-Fat
คือไขมันที่เกิดจากการแปรรูป สามารถเก็บไว้ได้นาน ไม่เหม็นหืน ไม่เป็นไข และทนความร้อนสูง รวมถึงมีรสชาติใกล้เคียงกับไขมันที่มาจากสัตว์แต่ราคาถูกกว่า บรรดาผู้ประกอบกิจการอาหารต่าง ๆ จึงนิยมนำไขมันทรานส์มาใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารมากมาย เช่น ขนมขบเคี้ยวกรุบกรอบทั้งหลาย, กลุ่มอาหารฟาสด์ฟูด ซึ่งใช้เป็นน้ำมันสำหรับทอดไก่, มันฝรั่ง, โดนัท, เบเกอร์รี่ และเป็นส่วนผสมในวิปปิ้งครีม เป็นต้น
แต่ในบรรดาไขมันทั้งหลาย นักโภชนาการจัดให้ไขมันทรานส์นั้นอันตรายเป็นอันดับหนึ่ง เพราะนอกจากจะเข้าไปเพิ่มระดับ LDL (low-density lipoprotein) ซึ่งเป็นโคเลสเตอรอลชนิดเลวในเลือดเช่นเดียวกับการบริโภคไขมันอิ่มตัว (ไขมันจากสัตว์และน้ำมันปาล์ม) แล้ว ไขมันทรานส์ยังไปลดระดับ HDL (high-density lipoprotein) ซึ่งเป็นโคเลสเตอรอลชนิดดีในเลือดอีกด้วย ซึ่งการรับประทานอาหารที่มีไขมันทรานส์ติดต่อกันเป็นเวลานาน จะยิ่งเพิ่มโอกาสการเป็นเบาหวาน อ้วนลงพุง และตับทำงานเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และ โรคหลอดเลือดสูง ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของประชากรโลกเลยทีเดียว
ในปัจจุบันมีหลายประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา แคนาดา สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ต่างออกข้อบังคับเกี่ยวกับการระบุปริมาณของไขมันบนฉลากโภชนาการ และให้คำแนะนำแก่ประชาชนในการจำกัดการบริโภคอาหารที่มีไขมัน
สำหรับในประเทศไทย มีการประกาศจากกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 388 พ.ศ.2561 ในราชกิจจานุเบกษา เรื่องกำหนด อาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2561 ที่ผ่านมา เพราะกรดไขมันทรานส์ (Trans Fatty Acids) จากน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (Partially Hydrogenated Oils) ส่งผลต่อการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
ผู้บริโภคจึงควรรู้จักและดูแลตัวเอง หลีกเลี่ยงการรับประทานผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของไขมันทรานส์ โดยให้สังเกตตรงส่วนประกอบ (Ingredients) และตารางโภชนาการ (Nutrition facts) ตรงจุดไขมันรวม (Total fat) หากมีชื่อ อาทิ Hydrogenated vegetable oil, partially Hydrogenated vegetable oil, vegetable oil shortening, Hydrogenated margarine แสดงว่าผลิตภัณฑ์นั้นมีส่วนผสมของไขมันทรานส์ สำหรับเครื่องดื่มเพื่อรูปร่างและสุขภาพที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน จะมีระบุบนกล่องหรือถุง “Trans Fat 0 g” ส่วนกลุ่มที่ไม่มีฉลากบอก เช่น อาหารฟาดฟู้ด, ขนมเบเกอรี่ทั้งหลาย หรือ พิชซ่า ก็ควรรับประทานแต่น้อย และเลือกร้านที่เชื่อถือได้จะดีต่อสุขภาพเราที่สุดนะคะ