0
| เคล็ดลับสุขภาพ

อยากผิวสวย อ่อนวัย ต้องใส่ใจ “ฮอร์โมน”

  Add Friend
อัพเดตโปรโมชั่นและข่าวสารดีๆ ผ่านทาง LINE LIVE & FIT
ID : @Liveandfit
 21 ส.ค. 2562
 2801 ครั้ง
 | 
แชร์ 1 ครั้ง

ฮอร์โมน ในร่างกายของคนเรามีหลายชนิด และเป็นสารเคมีชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นมาสื่อสารและทำหน้าที่ร่วมกับอวัยวะต่าง ๆ เพื่อให้ร่างกายสามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ อาทิ

1. กลุ่มฮอร์โมนแห่งความสุข

     1.1 เอ็นโดรฟิน (Endorphin) เปรียบเสมือนมอร์ฟีนธรรมชาติที่ร่างกายหลั่งขึ้นมาเวลามีความสุข ความพึงพอใจ ผ่อนคลาย

     1.2 โดพามีน (Dopamine) เป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว ความจำ การเรียนรู้ ความรักใคร่ ยินดี ที่หลั่งออกมาจากสมองกับเซลล์ประสาทในร่างกาย เซโรโทนิน (Serotonin) เป็นสารต้านความเครียดที่หลั่งจากสมองและหลั่งจากทางเดินอาหารที่มีผลกับการทำงานของกล้ามเนื้อ อารมณ์ และพฤติกรรม และการนอนหลับ

2. กลุ่มฮอร์โมนความเครียด

     2.1 คอร์ติซอล (Cortisol) เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมหมวกไตและถือเป็นสเตียรอยด์ชนิดหนึ่งที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ได้เองเมื่อมีภาวะเครียด มีเหตุการณ์คับขัน วิตกกังวล หรือมีความป่วยไข้ของร่างกาย ฮอร์โมนตัวนี้จะถูกกระตุ้นให้หลั่งมากขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมต่อการฟื้นฟูร่างกาย

     2.2 อะดรีนาลีน (Adrenaline) เป็นฮอร์โมนที่หลั่งจากต่อมหมวกไต เป็นสารแห่งความโกรธ เกี่ยวเนื่องกับการป้องกันตัว ตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินและการใช้พลังงาน เช่น เมื่อเกิดเหตุไฟไหม้จะรีบวิ่งเข้าไปยกของหนักในบ้านออกมาได้

3. กลุ่มฮอร์โมนเพศ

     3.1 เทสโทสเตอโรน (Testosterone) เป็นฮอร์โมนเพศชายที่ส่วนช่วยทำให้ร่างกายเปลี่ยนแปลงตั้งแต่เด็กจนโต ในลักษณะเป็นผู้ชาย มีกล้ามเนื้อใหญ่ขึ้น มีหนวด เครา ขน เสียงแตก และมีการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะเพศ และเริ่มลดลงตามวัยเมื่ออายุ 70 ปีขึ้นไป แต่ก็มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในผู้หญิงได้เช่นเดียวกัน เมื่อผู้หญิงบางคนมีขนดกมากขึ้น สำหรับผู้หญิงที่อยู่ในช่วงวัยทอง รังไข่จะหลั่งฮอร์โมนเอสโตรเจนออกมาน้อยลง ในขณะที่เทสโทสเตอโรนจะยังคงถูกผลิตออกมา ส่งผลให้มีลักษณะเป็นเพศชายมากขึ้น

     3.2 โปรเจสเตอโรน (Progesterone) เป็นฮอร์โมนเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ โดยส่วนใหญ่ฮอร์โมนนี้จะสูงขึ้นในช่วงที่จะตั้งครรภ์หรือมีรอบเดือน เตรียมพร้อมที่จะให้ไข่ที่ได้รับจากสเปิร์มแล้วมาฝังตัว โปรเจสเตอโรน สามารถหลั่งได้จากรังไข่และต่อมหมวกไต

     3.3 เอสโตรเจน (Estrogen) คือ ฮอร์โมนเพศหญิง ถือเป็นหนึ่งในฮอร์โมนระดับซุป’ตาร์ ที่มีส่วนสำคัญต่อการเจริญวัยในผู้หญิง เช่น มีเต้านม สะโพกผาย ผิวพรรณดี มีประจำเดือนปกติ การผลิตไข่ การตกไข่ และมีส่วนช่วยในเรื่องการทำงานของกล้ามเนื้อและกระดูก โดยเฉพาะผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน (ในช่วงวัย 45-50 ปี) ที่มีการลดลงของ ฮอร์โมน เอสโตรเจน ก็จะมีความเสี่ยงในเรื่องของมวลกระดูกบางหรือลดลง กล้ามเนื้อไม่ค่อยแข็งแรง และมีภาวะร้อนวูบวาบตามตัวจากอาการหมดประจำเดือน แต่เราสามารถเพิ่มฮอร์โมนเอสโตเจนได้ด้วยการกิน น้ำมะพร้าว ถั่วเหลือง นมถั่วเหลือง ฯลฯ ที่มีสารอาหารเอสโตรเจนสูง

     3.4 โกรท ฮอทร์โมน Growth Hormone เป็นฮอร์โมนระดับนั่งยานแม่มาดูแลสาว ๆ แต่ก็ทำให้สาว ๆ ดูแย่เมื่อมีอายุมากขึ้น เพราะ โกรท ฮอร์โมน หลั่งออกมามากจากต่อมใต้สมองในขณะนอนหลับ และในเวลาที่ออกกำลังกาย โดย โกรท ฮอร์โมน จะเร่งการดูดซึมน้ำตาลในเลือดเข้าสู่เซลล์ ทำให้เกิดพลังงานซ่อนแซมส่วนต่าง ๆ และที่สำคัญคือส่งผลเกี่ยวเนื่องไปถึงเรื่องผิวพรรณ และกระบวนการเผาผลาญไขมันส่วนเกินในร่างกาย เรียกได้ว่าจะแก่หรือไม่แก่ก็ขึ้นอยู่กับ โกรท ฮอร์โมน นั่นเอง แต่ โกรท ฮอร์โมน หรือฮอร์โมนแห่งความเป็นหนุ่มเป็นสาวนั้นจะเริ่มลดลง 15% ทุก ๆ 10 ปี จนถึงอายุ 60 ปี โกรท ฮอร์โมน จะลดลงเหลือต่ำกว่า 10%


วิธีการรักษาระดับ โกรท ฮอร์โมน คือการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอและตรงเวลาทุกวัน โดยเฉพาะช่วงเวลา 4 ทุ่มถึงตี 2 เป็นช่วงเวลาของการหลั่ง โกรท ฮอร์โมน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายขณะนอนหลับ

และยังมี ฮอร์โมน อีกมากมายที่มี หน้าที่-ความสำคัญ เพื่อให้ร่างกายของคนเราสามารถทำงานได้อย่างปกติ แต่ถ้าอยากสวย อยากสาว ผิวพรรณอ่อนวัย ต้องใส่ใจใน “กลุ่มฮอร์โมนเพศ” เป็นพิเศษ ซึ่งผู้ที่รักและทะนุทนอมผิวพรรณไม่ควรละเลยเป็นอย่างยิ่งนะคะ

บทความที่น่าสนใจ
see more