สมัครสมาชิก / เข้าสู่ระบบ
หรือ
หากคุณยังไม่ได้เป็นสมาชิกกับเรา !
การดำเนินการต่อถือว่าคุณยอมรับ
ข้อกำหนดและเงื่อนไข และ นโยบายความเป็นส่วนตัว
เราอาจส่งข่าวสารให้ท่าน ท่านสามารถปิดการรับข่าวสาร
ได้โดยเปลี่ยนการตั้งค่าในบัญชีของท่าน
เราจะไม่ส่งข่าวสารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากท่าน
สมัครสมาชิก / เข้าสู่ระบบ
หากคุณยังไม่ได้เป็นสมาชิกกับเรา !
หรือเข้าสู่ระบบด้วย
หรือ
สั่งซื้อทันทีโดยไม่สมัครสมาชิก
การดำเนินการต่อถือว่าคุณยอมรับ
ข้อกำหนดและเงื่อนไข และ นโยบายความเป็นส่วนตัว
เราอาจส่งข่าวสารให้ท่าน ท่านสามารถปิดการรับข่าวสาร
ได้โดยเปลี่ยนการตั้งค่าในบัญชีของท่าน
เราจะไม่ส่งข่าวสารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากท่าน
ตะกร้าสินค้า
รายการสินค้าที่สั่งซื้อ
ยังไม่มีคำสั่งซื้อ
แนะนำสำหรับคุณ
PRODUCTS
CUSTOMER SERVICE
ABOUT US
PROMOTION
REWARDS
HELPING
พรมมิสมุนไพรไทย สมองไบร์ท คิดชัด โฟกัสเต็มร้อย มีงานวิจัยรองรับ
พรมมิสมุนไพรไทย สมองไบร์ท คิดชัด โฟกัสเต็มร้อย มีงานวิจัยรองรับ
     
    การทำงานในยุคดิจิทัลนี้ต้องมีความรวดเร็ว แม่นยำ เต็มไปด้วยคุณภาพ ประสิทธิภาพ และพร้อมที่จะรับมือกับความเปลี่ยนแปลง รับมือกับปัญหาต่าง ๆ ที่อาจถาโถมเข้ามาให้ได้แก้ไขตลอดเวลา จนเกิดความสามารถในการทำงานหลายอย่างพร้อมกันได้ ในเวลาเดียวกัน หรือที่เราเรียกว่า การทำงานแบบมัลติทาสกิ้ง (Multitasking) หรือการทำงานตั้งแต่สองอย่างขึ้นไป แต่รู้ไหมว่าการทำงาน Multitasking เสี่ยงทำให้สมองพังแบบไม่รู้ตัว [1]
     ด้วยมีหลายคนเข้าใจว่า Multitasking การทำงานหลายอย่างพร้อมกันได้ในเวลาเดียวกันนั้น บ่งบอกถึงความสามารถเฉพาะตัว หรือมีทักษะสำคัญที่ช่วยเพิ่มความสามารถในการทำงาน หรือในบางคนสามารถทำงานแบบ Multitasking ได้ดี ที่อาจเกิดจากความชำนาญส่วนตัว หรือในบางคนจัดระบบการใช้ความคิดได้ดี จัดลำดับความสำคัญของงานได้ และมีการประมวลผลอย่างเป็นระบบ มีส่วนทำให้สามาถทำงานหลายอย่างไปพร้อม ๆ กันได้สำเร็จ
    แต่ในความเป็นจริง สมองของคนเราไม่ได้เตรียมพร้อมสำหรับการทำงานหลายอย่างพร้อมกัน ไม่ได้ถูกสร้างมาให้ประมวลผลอะไรหลายอย่างพร้อมกัน ต่างจากคอมพิวเตอร์ที่สามารถประมวลผลจากข้อมูลจำนวนมากได้ และสมองของคนเราก็ถูกออกแบบมาให้โฟกัสกับการทำงานทีละอย่างเท่านั้น เมื่อสมองต้องทำงานหลายอย่างพร้อมกัน ต้องสลับสับเปลี่ยนไปมา จึงทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลง หลายคนจะนึกภาพออกหรือจะเข้าใจว่า ทำไมฉันเคยมีอาการ มึน งง หรือ เบลอ จับต้นชนปลายหรือไปต่อไม่ถูก เช่น กำลังจะทำอะไรนะ ทำอะไรค้างไว้นะ ยิ่งเมื่อมีสถานการณ์ที่ถูกรบกวนจากสภาพแวดล้อมเพิ่มเติม เช่น กำลังส่งอีเมลให้ลูกค้าในขณะที่ต้องฟังการประชุมไปด้วย แล้วขณะนั้นก็มีโทรศัพท์เข้ามาให้ต้องทำอะไรสักอย่าง ที่สำคัญไปกว่านั้น การเปลี่ยนสิ่งที่โฟกัสอยู่ สลับไปสลับมานั้น หัวจะปวดเลยใช่ไหม และอาจทำให้เกิดภาวะสมองล้า หรือ Brain Fog ที่ส่งผลทำให้สมาธิสั้นได้อีกด้วย
     มีงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องของ Multitasking พบว่าจำนวนคนประมาณ 2.5% เท่านั้น ที่สามารถทำงานแบบ Multi-tasking ได้ดี เนื่องจากสมองของคนเราถูกออกแบบมาให้โฟกัสกับการทำงานทีละอย่างเท่านั้น นอกจากนี้เวลาส่วนใหญ่ที่เราคิดว่ากำลัง Multitasking นั้น ความจริงก็คือการทำทีละอย่างในอัตราที่เร็วขึ้น หรือสลับทำไปทีละอย่างนั่นเอง และไม่ได้หมายความว่าจะทำงานได้มากขึ้นแต่อย่างใด [1] [2]


จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อทำงานแบบ Multitasking


             
  • ชอบขี้ลืมและมีสมาธิสั้น การจดจ่อตั้งใจทำงานที่มากกว่าหนึ่งงานในเวลาเดียวกัน หรือทำงานสลับกันไปมาระหว่าง 2 งานขึ้นไป มีส่วนทำให้สมาธิและประสิทธิภาพขณะทำงานนั้น ๆ น้อยลง ทั้งยังไม่สามารถรับข้อมูลต่าง ๆ ได้เท่ากับการทำงานเป็นอย่าง ๆ ไป ซึ่งผลที่อาจตามมาก็คือ มีอาการความจำสั้น สมาธิสั้น หลงลืม จำอะไรไม่ค่อยได้นั่นเอง
  • ความเครียดสะสม การทำงานของสมองต้องใช้พลังงานเป็นอย่างมากในการปรับหรือเปลี่ยนโฟกัสทุกครั้งที่สลับไปทำงานอย่างอื่น และทำให้สมองต้องใช้เวลามากกว่าการเลือกที่จะทำงานทีละอย่าง โดยมีงานวิจัยที่ศึกษาพบว่าการทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกันนั้นทำให้เราทำงานได้น้อยลงถึง 40% และอาจทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะมีภาวะเครียดจากการต้องรับมือกับหลายงานพร้อมกัน รวมถึงความเครียดเรื้อรังสะสมจากการทำงานได้น้อยลง และอาจต้องมีการทำงานชดเชยหรือทำงานล่วงเวลาในทุก ๆ วัน
  • สมองสับสนความคิดแปรปรวน มีอีกหนึ่งงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ศึกษาพบว่า คนที่ทำงานแบบ Multitasking จะมีทักษะในการแยกแยะข้อมูลที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องออกจากกันได้น้อยลง อักทั้งยังมีปัญหาในเรื่องของกระบวนการทางความคิด หลังจากสลับไปทำงานอย่างอื่น ยิ่งไปกว่านั้น ประสิทธิภาพการทำงานของสมอง ของคนที่ทำงานในลักษณะนี้มาเป็นเวลานานจะลดลง แม้จะจดจ่อกับการทำงานเพียงงานเดียวก็ตาม [2]
  • เพลียสมอง อ๋อง ๆ สมองอ่อนล้า ความรู้สึกของคนที่เหมือนเมื่อจบวันแล้ว แต่ทำไมยังรู้สึกเหนื่อย รู้สึกเพลีย ทั้งที่ไม่ได้ไปออกแรงหรือใช้กำลังงานอะไรเลย สมองหน่วงๆ ตื้อๆ ตันๆ ไม่ Fresh หรือในบางคนที่รู้สึกว่าสมอง อ๋อง ๆ ประมวลผลช้า แถมยังมีอาการนอนไม่หลับ หรือนอนหลับไม่สนิท ตื่นเช้าแล้วรู้สึกไม่สดชื่นอีกด้วย เพราะคุณอาจจะกำลังอยู่ในภาวะสมองล้า หรือ Brain Fog Syndrome เป็นภาวะที่สมองทำงานหนักมากเกินไปและทำงานหนักเป็นเวลานานจนส่งผลต่อสมองในส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมระบบไฟฟ้าระหว่างเซลล์ระบบประสาท ทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ เหมือนกับการที่มีหมอกมาบดบังการทำงานของสมอง และเป็นที่มาของคำว่าชื่อ Brain Fog Syndrome ที่ถึงแม้อาการจะไม่มีอันตรายมาก แต่หากปล่อยให้ภาวะสมองล้าเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ก็จะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงอื่น ๆ ตามมาได้ เช่น โรคอัลไซเมอร์ สมองเสื่อมก่อนวัย โรคพาร์กินสัน เป็นต้น [3]
     การทำงานหลายอย่างพร้อมกันในเวลาเดียวกัน ยังมีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์ในผู้ที่มีอาการซึมเศร้าและผู้ที่มีอาการวิตกกังวลอีกด้วย โดยผลกระทบเหล่านี้อาจเกิดขึ้นชั่วคราว หรือเกิดขึ้นในระยาวก็อาจเป็นได้ แต่ความเครียดที่เพิ่มขึ้น ส่งผลไปถึงความดันโลหิตและเรื้อรังไปถึงขั้นอาจส่งผลอย่างถาวรต่อสมอง โดยเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองและความบกพร่องทางสติปัญญาอีกด้วย
      มีงานวิจัยจาก University of Sussex (UK) ที่ใช้ MRI สแกนสมองของผู้ที่ทำงานแบบ Multitasking แล้วพบว่าสมองของคนไม่อาจทำงานได้เต็มประสิทธิภาพเมื่อต้องทำงานหลายอย่างพร้อมกัน แล้วถ้าหากคุณยังทำงานแบบ Multitasking ไปเรื่อย ๆ ในระยะยาวแล้ว อาจส่งผลกระทบทำให้คุณต้องเผชิญกับโรคสมองเสื่อมก่อนวัยอันควรก็เป็นได้


บำรุงสมอง ดูแลรักษา และป้องกันภาวะสมองพัง


 
  • จัดการตารางงานใหม่และเลือกโฟกัสงานใดงานหนึ่งเป็นหลัก เมื่อมีงานที่มากขึ้น ควรจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังเป็นงาน ๆ หากพะวงกับงานที่ 2 หรือ 3 แก้ไขด้วยการจัดตารางงานใหม่ เพื่อบอกสมองว่าจะทำงานอื่น ๆ ต่อหลังจากจบงานนี้ แล้วทำงานทีละชิ้น กำหนดเวลาในการทำงานให้แน่นอน เป็นการเลือกโฟกัสงานใดงานหนึ่งเป็นหลัก ไม่วอกแวกไปทำงานอื่น เช่น กำหนดเวลาเช็กอีเมลในแต่ละวัน แทนที่การเช็กอีเมลตลอดทั้งวัน พร้อมปรับปรุงสิ่งแวดล้อมรอบตัวเวลาทำงานให้เป็นระเบียบมากขึ้น ไม่ให้ความยุ่งเหยิงทางสายตารบกวนสมองของคุณ
  • สร้างความผ่อนคลายระหว่างทำงาน ด้วยการพักสายตา หรือลุกเดิน เปลี่ยนท่านั่งทุก 1-2 ชั่วโมง หรือพยายามพักด้วยการทำสมาธิ การหายใจเข้าลึก ๆ มีส่วนช่วยไม่ให้เกิดความเครียดจนส่งผลเสียต่อสมอง นอกจากนี้การผ่อนคลายตนเองให้มากขึ้นยังส่งผลดีต่อสภาพจิตใจอีกด้วย
  • ไม่รับข่าวสารด้านลบที่ทำให้เกิดความเครียด เพราะในบางขณะที่กำลังเครียดกับงาน แล้วมาเล่นโซเชียลเจอข่าวสารเชิงลบที่อาจทำให้ไม่สบายใจตลอดทั้งวันได้  ควรพักการเล่นโซเชียลในบางจังหวะที่มีข่าวสารเชิงลบ แล้วไปทำกิจกรรมอื่นที่ตนเองชื่นชอบเพื่อสร้างความผ่อนคลายให้ตัวเอง หรือทำ Social Detox ที่เป็นอีกหนึ่งเทรนด์สุขภาพของคนยุคใหม่ ใช้บำบัดการเสพติดเทคโนโลยีหรือสื่อสังคมออนไลน์ ด้วยการลดบทบาทการใช้โซเชียลมีเดียให้น้อยลง ไปจนถึงขั้นตัดการใช้โซเชียลมีเดียออกไปจากชีวิต  [11]
  • ใส่ใจดูแลสุขภาพ รักตัวเองให้มากขึ้น พยายามพักผ่อนด้วยการนอนหลับวันละ 7 ชั่วโมงขึ้นไป กินอาหารที่มีประโยชน์ เน้นผักผลไม้ที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ และวิตามินต่าง ๆ รวมไปถึงหาเวลาออกกำลังกายบ้าง หรือเป็นไปได้ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ดูแลสุขอนามัย สิ่งพื้นฐานเหล่านี้สามารถช่วยรักษาและต่อต้านภาวะสมองพังได้เป็นอย่างดี [4]
  • บำรุงสมองให้ไบร์ท คิดชัด โฟกัสเต็มร้อย  เพราะคนส่วนใหญ่จะคุ้นเคยว่า ภาวะสมองเสื่อม สมองพัง เป็นเรื่องของคนสูงวัย ที่มักจดจำอะไรไม่ค่อยได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ภาวะสมองเสื่อม สมองพัง เป็นเรื่องใกล้ตัวของกลุ่มคนวัยทำงานที่ถือเป็นกลุ่มเสี่ยง รวมไปถึงกลุ่มคนวัยเรียนที่ต้องบำรุงสมอง ดูแลรักษาป้องกันภาวะสมองพัง ด้วยการเลือกเติมคุณค่าสารอาหารสำคัญจากธรรมชาติเพื่อการบำรุงสมอง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยดูแลปกป้องเซลล์ประสาทและสมองไม่ให้เสื่อมก่อนวัย

หลักใน "การเลือกเติมสารอาหารจากธรรมชาติเพื่อการบำรุงสมอง" ให้ไบร์ท คิดชัด โฟกัสเต็มร้อย
          ● เติมสารอาหารประเภทสารต้านอนุมูลอิสระ ลดปัญหาอนุมูลอิสระทำร้ายสมอง
          ● เติมสารอาหารที่มีส่วนช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดเข้าสู่สมอง
          ● เติมสารอาหารที่ไม่ปนเปื้อนสารโลหะหนักหรือสารเคมีต่าง ๆ
          ● เติมสารอาหารบำรุงสมอง
            เพราะสมองต้องพึ่งพาสารอาหารจำเป็นจากทั้ง 5 หมู่ เพื่อส่งเสริมการทำงานของสมองและทุกส่วนทั่วร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามินและเกลือแร่ ดังนั้น จึงควรกินอาหารอย่างหลากหลายให้ได้ครบ 5 หมู่ ในสัดส่วนที่พอเหมาะ ไม่มากไม่น้อยจนเกินไป และเพิ่มเติมเสริมสารอาหารบำรุงสมอง ดังนี้

       
พรมมิ (Bacopa)
    พรมมิ (Bacopa) สมุนไพรที่มีสรรพคุณช่วยเพิ่มความจำ บำรุงสมอง จากข้อมูลทางเภสัชวิทยาพบว่า พรมมิ (Bacopa) มีสารออกฤทธิ์ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของความจำ การตัดสินใจ ช่วยปกป้องเซลล์สมอง มีฤทธิ์ต้านความจำเสื่อม ช่วยในเรื่องของการนอนหลับ และลดความวิตกกังวลได้


     
    พรมมิ (Bacopa) เป็นสมุนไพรไทยพื้นบ้านที่พบได้ทั่วทุกภาคในประเทศไทย โดยมีหลักฐานการนำสมุนไพรพรมมิ (Bacopa) มาใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาแผนโบราณตั้งแต่สมัยอยุธยา เช่น ยาเขียวมหาพรหม ยาแก้ซางแห้งในเด็ก พรมมิ (Bacopa) มีสรรพคุณที่โดดเด่นในเรื่องของการบำรุงสมอง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของสมองในด้านความจำ การเรียนรู้ ชะลอ ป้องกัน หรือลดอาการหลงลืม โดยสามารถนำต้นพรมมิ (Bacopa) มาทำเป็นอาหารได้ตามปกติ [5] ในตำราอายุรเวทของอินเดียยกให้ พรมมิ (Bacopa) เป็นทั้งอาหารและยาสมุนไพรที่มีส่วนช่วยเพิ่มความจำ บำรุงสมอง [6]
      ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของพรมมิ (Bacopa)
   มีงานวิจัยที่ศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของพรมมิ (Bacopa) มากมาย โดยเฉพาะฤทธิ์หรือสรรพคุณของพรมมิ (Bacopa) ที่เกี่ยวข้องกับระบบการทำงานของสมองและระบบประสาท ที่เกี่ยวพันกับการเสริมประสิทธิภาพในการเรียนรู้ เพิ่มการจดจำ คลายความวิตกกังวล ช่วยต้านการซึมเศร้า และมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่เกี่ยวข้องกับสารสื่อประสาทในสมอง และอาจเกี่ยวข้องกับการรักษาโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) เป็นต้น ซึ่งเป็นงานวิจัยศึกษาทั้งในวัตถุดิบที่เป็นพืชสมุนไพรพรมมิ สารสกัดจากสมุนไพรพรมมิ สารผสมซาโปนิน (saponins) ที่ได้จากสมุนไพรพรมมิ ที่เรียกว่า bacoside A และในรูปแบบสารบริสุทธิ์ นอกจากนี้ งานวิจัยยังศึกษาถึงกลไกการออกฤทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องระบบประสาท ของสมุนไพรพรมมิ รวมถึงการศึกษาพิษวิทยาของสารสกัดพรมมิ และศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาอื่น ๆ ในสมุนไทยพรมมิ [6]
     และพบว่าสารสกัดจากพรมมิ (Bacopa) มีชื่อเสียงด้านการส่งเสริมความจำและการเรียนรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบำรุงสมองและฟื้นฟูสมองจากการใช้งานหนัก และมีคุณสมบัติเสริมประสิทธิภาพความจำผ่านกระบวนการทางชีวภาพหลายประการ
  1. กระตุ้นการสังเคราะห์ สารสื่อประสาท ที่ช่วยในการเรียนรู้และความจำ
  บำรุงสมองด้วยพรมมิ ช่วยเพิ่มระดับของสารสื่อประสาท อะเซทิลโคลีน (Acetylcholine) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการเรียนรู้และความจำ การเพิ่มปริมาณอะเซทิลโคลีน จะช่วยเสริมการส่งสัญญาณในสมอง ทำให้สมองสามารถจดจำข้อมูลได้ดีขึ้น
  1. ปกป้องเซลล์สมองจากความเครียดออกซิเดชัน (Oxidative Stress)
     บำรุงสมองด้วยพรมมิ ได้รับคุณค่าของสารสำคัญในพรมมิ ได้แก่ แบโคไซด์ (Bacosides) ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีส่วนช่วยปกป้องเซลล์สมองจากความเสียหายที่เกิดจากความเครียดออกซิเดชัน โดยลดความเสื่อมของเซลล์ประสาทในสมองและสนับสนุนการสร้างเซลล์ใหม่
  1. เพิ่มการไหลเวียนของเลือดในสมอง
      บำรุงสมองด้วยพรมมิ ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ทำให้สมองได้รับออกซิเจนและสารอาหารที่จำเป็น ส่งผลให้การทำงานของสมองเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อความจำและสมาธิ โดยเฉพาะในช่วงที่ต้องทำงานหรือเรียนรู้ข้อมูลใหม่ ๆ
  1. ลดความเครียดและคลายความวิตกกังวล
      บำรุงสมองด้วยพรมมิ ช่วยลดความเครียดและความวิตกกังวล ช่วยให้จิตใจสงบลง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้สมองมีความพร้อมในการจดจำและเรียนรู้ได้ดีขึ้น

      จากงานวิจัยศึกษา
  • มีงานวิจัยที่ทำการทดสอบทางคลินิกในมนุษย์พบว่า พรมมิ (Bacopa) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจดจำในเด็กและในผู้ใหญ่
      โดยให้เด็กนักเรียนกินสารสกัดพรมมิ 350 มก. ต่อวัน เป็นเวลา 3 เดือน พบว่าสามารถสร้าง  เสริมหรือเพิ่มการเรียนรู้ได้ดี
   การทดสอบทางคลินิกพบว่ากินสารสกัดพรมมิ 300 มก. ต่อวัน ในอาสาสมัครที่มีสุขภาพดี 38 คน และมีอายุระหว่าง 18-60 ปี พบว่าสามารถสร้างเสริมหรือเพิ่มการเรียนรู้ได้ดีเช่นกัน
       การทดลองในผู้สูงอายุ มากกว่า 55 ปี ด้วยการกินสารสกัดพรมมิ 300-600 มก. ต่อวัน พบว่ามีคุณภาพชีวิตที่ดีเพิ่มขึ้น มีประสิทธิภาพของการทรงตัว เพิ่มการตื่นตัวต่อสิ่งเร้า และลดความวิตกกังวล
  • งานวิจัยในปี 2008 ที่ตีพิมพ์ใน Journal of Alternative and Complementary Medicine พบว่าผู้ที่กินสารสกัดจากพรมมิเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ มีการพัฒนาทางด้านความจำระยะยาว และการประมวลผลข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น
  • งานวิจัยจาก Australia’s Swinburne University ศึกษาพรมมิแล้วพบลว่า พรมมิ (Bacopa) มีส่วนช่วยลดความวิตกกังวล การทำงานของสมองที่ดีขึ้น ทั้งด้านการจดจำ การเรียนรู้ และการรับรู้ข้อมูลในระยะยาว
     ดังนั้น สารสกัดจากพรมมิเป็นอีกหนึ่งสมุนไพรที่มีงานวิจัยรับรองว่า สามารถช่วยเสริมสร้างความจำและการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงช่วยคลายความเครียดที่อาจส่งผลเสียต่อสมองของคุณ

      
โสม หรือ สารสกัดจากโสม
 
โดยเฉพาะโสมเกาหลี (Panax ginseng) มีสารสำคัญชื่อว่า จินเซโนไซด์ (Ginsenosides) ที่มีคุณสมบัติช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในสมอง ทำให้เซลล์สมองได้รับออกซิเจนและสารอาหารอย่างเพียงพอ จึงสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ  เพิ่มพลังงานและลดความเหนื่อยล้าของสมอง ทำให้รู้สึกสดชื่นและมีสมาธิดีขึ้น นอกจากนี้ จินเซโนไซด์ยังช่วยปกป้องเซลล์ประสาทจากความเสียหายที่เกิดจากความเครียดออกซิเดชัน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการป้องกันโรคที่เกี่ยวข้องกับความเสื่อมของสมองในระยะยาว เช่น โรคอัลไซเมอร์



     สารสกัดจากโสม เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในด้านการช่วยบำรุงสมองและเติมพลังในการทำงานของสมองผ่านหลายกลไกที่ได้รับการศึกษา ดังนี้
  1. เพิ่มพลังงานและลดความเหนื่อยล้าของสมอง
      โสมมีสารสำคัญชื่อว่า จินเซโนไซด์ (Ginsenosides) ที่มีคุณสมบัติช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในสมอง ทำให้เซลล์สมองได้รับออกซิเจนและสารอาหารอย่างเพียงพอ จึงสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งการไหลเวียนเลือดที่ดีขึ้นนี้ช่วยลดความเหนื่อยล้าของสมอง ทำให้ผู้ใช้รู้สึกสดชื่นและมีสมาธิดีขึ้น
  1. เพิ่มประสิทธิภาพการจดจำและเสริมสร้างการเรียนรู้
       มีงานวิจัยหลายชิ้นที่ศึกษาพบว่า โสม สามารถช่วยกระตุ้นการทำงานของสารสื่อประสาท อะเซทิลโคลีน (Acetylcholine) ที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการเรียนรู้และความจำ ทำให้ช่วยเสริมความจำระยะยาวและการรับรู้ (Cognition) ได้ดีขึ้น นอกจากนี้ จินเซโนไซด์ยังช่วยปกป้องเซลล์ประสาทจากความเสียหายที่เกิดจากความเครียดออกซิเดชัน ซึ่งอาจนำไปสู่การเสื่อมของสมองได้
  1. เติมเต็มความอารมณ์ดี ช่วยลดความเครียด
     โสม มีผลในการช่วยลดความเครียดผ่านการปรับระดับฮอร์โมนความเครียด โดยสามารถช่วยลดระดับคอร์ติซอลในร่างกาย ช่วยให้สมองผ่อนคลายและคลายความกังวลได้ดีขึ้น ทำให้มีสมาธิที่ดีขึ้นและลดอาการสมองล้าในระหว่างวัน
  1. เสริมสร้างความแข็งแรงของเซลล์ประสาท
      โสมมีฤทธิ์ต้านการอักเสบและสารต้านอนุมูลอิสระสูง ซึ่งสามารถช่วยลดการอักเสบของสมองและป้องกันความเสียหายของเซลล์ประสาท ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการป้องกันโรคที่เกี่ยวข้องกับความเสื่อมของสมองในระยะยาว เช่น โรคอัลไซเมอร์

           จากงานวิจัยศึกษา
  • มีงานวิจัยที่ศึกษา โสม ในปี 2010 พบว่า ผู้ที่รับประทานโสมเป็นประจำ มีการทำงานของสมองที่ดีขึ้น โดยเฉพาะในด้านความจำ การเรียนรู้ และการตัดสินใจ
  • งานวิจัยที่ตีพิมพ์ใน Journal of Psychopharmacology ระบุว่า โสมสามารถช่วยลดความเครียดและเพิ่มสมาธิในกลุ่มคนที่ทำงานภายใต้ภาวะเครียดสูง โดยพบว่าการบริโภคโสมช่วยลดระดับคอร์ติซอลซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความเครียดได้ดี
         โสม จึงเป็นสมุนไพรที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายว่าเป็น สารสกัดที่ช่วยบำรุงสมองและเพิ่มพลังในการทำงานของสมอง ทั้งในแง่ของความจำ สมาธิ และการลดความเหนื่อยล้าจากการทำงานหนัก [7] [8]

         
 วิตามินบี12
   
สารอาหารสำคัญเพื่อการฟื้นฟูสมองที่อ่อนล้า เป็นสารอาหารจำเป็นต่อการทำงานของระบบประสาทและสมอง  มีส่วนสำคัญในการบำรุงสมอง ฟื้นฟูสมองที่อ่อนล้า โดยเฉพาะในด้านการส่งเสริมพลังงานแก่เซลล์สมอง และป้องกันการเสื่อมของเซลล์ในระบบประสาท หากขาดวิตามินบี12 จะทำให้เซลล์ประสาททำงานช้าลง เกิดอาการเหนื่อยล้าและความจำไม่ดี การได้รับวิตามินบี12 อย่างเพียงพอจึงมีส่วนช่วยให้สมองได้รับออกซิเจนและสารอาหารที่จำเป็นอย่างต่อเนื่อง และทำให้สมองทำงานได้เต็มอย่างประสิทธิภาพ



     วิตามินบี12 พบได้แต่เฉพาะในเนื้อสัตว์ ปลา สัตว์ปีก และผลิตภัณฑ์จากนมต่าง ๆ ซึ่งในคนที่ขาดวิตามินบี 12 อาจส่งผลให้เกิดภาวะสมองเสื่อมได้ ผู้ที่รับประทานอาหารมังสวิรัติ จึงควรหมั่นตรวจว่ามีโรคของวิตามินบี 12 ต่ำหรือไม่ เพราะถ้าวิตามินบี 12 ต่ำ แพทย์อาจให้รับประทานวิตามินบี 12 เป็นอาหารเสริมเพิ่มเติม เพราะวิตามิน บี12 ช่วยสร้างสารที่จำเป็นในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง และบำรุงเนื้อเยื่อประสาท มีบทบาทสำคัญในการดูแลและฟื้นฟูสมองที่อ่อนล้าผ่านหลายกลไก โดยเฉพาะในด้านการส่งเสริมพลังงานแก่เซลล์สมอง และป้องกันการเสื่อมของระบบประสาท และช่วยสนับสนุนกระบวนการต่าง ๆ ดังนี้
  1. ฟื้นพลังให้สมอง ลดอาการสมองล้า
       วิตามินบี12 เป็นส่วนสำคัญในการช่วยสังเคราะห์ ไมอีลิน (Myelin) สารเคลือบเส้นประสาท โดยวิตามินบี 12 มีส่วนช่วยให้การส่งสัญญาณประสาทในสมองเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดการสูญเสียพลังงานระหว่างการสื่อสารของเซลล์สมอง เมื่อไมอีลินไมอีลิน (Myelin) แข็งแรงขึ้น สมองฟื้นพลัง จะสามารถทำงานได้ดีขึ้นและลดอาการล้าของสมอง
  1. ช่วยผลิตพลังงานให้กับเซลล์สมอง ฟื้นความจำ
  วิตามินบี12 เป็นโคเอนไซม์ที่จำเป็นในกระบวนการเปลี่ยนกรดไขมันและกรดอะมิโนให้เป็นพลังงาน ซึ่งเป็นพลังงานที่จำเป็นต่อการทำงานของสมองและระบบประสาทโดยเฉพาะในส่วนที่ต้องการพลังงานสูง หากขาดวิตามินบี 12 จะทำให้เซลล์ประสาททำงานช้าลง เกิดอาการเหนื่อยล้าและความจำไม่ดี
  1. ลดความเสื่อมของเซลล์ ฟื้นฟูสมองล้า
        วิตามินบี12 ทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความเครียดออกซิเดชันที่เป็นสาเหตุของการเสื่อมของเซลล์ประสาท เมื่อสมองได้รับการป้องกันจากอนุมูลอิสระจะช่วยลดความเสื่อมและฟื้นฟูสมองที่ล้าได้ดีขึ้น
  1. ฟื้นฟูประสิทธภาพการทำงานของสมอง ป้องกันภาวะขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง
      การขาดวิตามินบี12 อาจทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง ซึ่งส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้ไม่เต็มที่ การได้รับวิตามินบี 12 อย่างเพียงพอจึงมีส่วนช่วยให้สมองได้รับออกซิเจนและสารอาหารที่จำเป็นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้สมองทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
        จากงานวิจัยศึกษา
  • American Journal of Clinical Nutrition ปี 2016 พบว่าผู้สูงอายุที่มีระดับวิตามินบี12 เพียงพอ มีการทำงานของสมองที่ดีกว่าในด้านความจำและการเรียนรู้เมื่อเทียบกับกลุ่มที่มีระดับวิตามินบี12 ต่ำ เป็นข้อบ่งชี้ว่าวิตามินบี12 ช่วยลดความเสื่อมของสมองได้ดีในระยะยาว
  • งานวิจัยใน Journal of Neurology พบว่า วิตามินบี12 ช่วยเสริมสร้างไมอีลินและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคระบบประสาท ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของความเสื่อมและความล้าของสมอง วิตามินบี12 จึงมีส่วนสำคัญในการฟื้นฟูภาวะสมองล้าจากการทำงานที่ต้องใช้ความคิด ใช้สมองมาก ๆ และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของสมอง
     ดังนั้น วิตามินบี12 จึงมีส่วนช่วยอย่างมากในการฟื้นฟูสมองที่เหนื่อยล้า สนับสนุนกระบวนการทำงานของระบบประสาทและเพิ่มพลังงานให้สมอง ทำให้สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ [9] [10]

      เมื่องานวิจัยต่าง ๆ บอกเราว่า Multitasking ไม่ใช่สิ่งที่ส่งผลดีต่อการทำงานอีกต่อไป ครั้งหน้าที่ต้องเผชิญกับการทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกัน ให้ลองหยุด Multitasking แล้วพยายามโฟกัสงานใดงานหนึ่งไปทีละงานตามเคล็ดลับข้างต้น คุณอาจพบว่าตัวเองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เครียดน้อยลง และมีความสุขกับงานที่ทำมากกว่าเดิมก็เป็นได้

ที่มา
[1] https://www.brownhealth.org/be-well/multitasking-and-how-it-affects-your-brain-health     การทำงานหลายอย่างพร้อมกันและส่งผลต่อสุขภาพสมองของคุณอย่างไร / Jennifer E. Davis, PhD / January 26, 2023
[2]
https://health.clevelandclinic.org/science-clear-multitasking-doesnt-work     เหตุใดการทำงานหลายอย่างพร้อมกันจึงไม่ทำงาน / Health Essentials logo / Cleveland Clinic
[3] https://www.petcharavejhospital.com/th/Article/article_detail/Brain-Fog-Syndrome     ภาวะสมองล้า / โรงพยาบาลเพชรเวช
[4] https://community.thriveglobal.com/9-ways-multitasking-is-killing-your-brain-and-productivity-according-to-neuroscientists/     การทำงานหลายอย่างพร้อมกันทำร้ายสมอง / Thrive Global
[5] https://www.gpoplanet.com/th/blog/15285/brahmi?srsltid=AfmBOor2QIbjqpksqLtkIb3MUBO-y8QWL12qHXUBvMAiF_VjExqev5j5    พรมมิ สมุนไพรพื้นบ้านบำรุงสมอง / GPOPLANETองค์การเภสัชกรรม
[6] https://www.nupress.grad.nu.ac.th/พรมมิ-บำรุงความจำ/    พรมมิ สมุนไพรบำรุงความจำ / สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร
[7] http://lib3.dss.go.th/fulltext/dss_j/2561_66_208_P18-20.pdf   / จินเซโนไซด์ เสริมแกร่ง สร้างสุขภาพ / วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ ปีที่ 66 ฉบับที่ 208 กันยายน 2561
[8] https://pmc.ncbi.nlm.nih.gov/articles/PMC8020288/   ศักยภาพทางเภสัชวิทยาของโสมและส่วนประกอบหลักของโสม



[9] https://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content?contenttypeid=19&contentid=vitaminb-12  / วิตามิบี12 / UNIVERSITY of ROCHESTER MEDICAL CENTER
[10] https://www.healthline.com/nutrition/vitamin-b12-benefits  / ประโยชน์ต่อสุขภาพของวิตามินบี 12 ตามหลักวิทยาศาสตร์ / healthline

[11] https://www.pobpad.com/social-detox-โซเชียลดีท็อกซ์-บำบัด 

แชทผ่านไลน์ @Liveandfit