สมัครสมาชิก / เข้าสู่ระบบ
หรือ
หากคุณยังไม่ได้เป็นสมาชิกกับเรา !
การดำเนินการต่อถือว่าคุณยอมรับ
ข้อกำหนดและเงื่อนไข และ นโยบายความเป็นส่วนตัว
เราอาจส่งข่าวสารให้ท่าน ท่านสามารถปิดการรับข่าวสาร
ได้โดยเปลี่ยนการตั้งค่าในบัญชีของท่าน
เราจะไม่ส่งข่าวสารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากท่าน
สมัครสมาชิก / เข้าสู่ระบบ
หากคุณยังไม่ได้เป็นสมาชิกกับเรา !
หรือเข้าสู่ระบบด้วย
หรือ
สั่งซื้อทันทีโดยไม่สมัครสมาชิก
การดำเนินการต่อถือว่าคุณยอมรับ
ข้อกำหนดและเงื่อนไข และ นโยบายความเป็นส่วนตัว
เราอาจส่งข่าวสารให้ท่าน ท่านสามารถปิดการรับข่าวสาร
ได้โดยเปลี่ยนการตั้งค่าในบัญชีของท่าน
เราจะไม่ส่งข่าวสารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากท่าน
ตะกร้าสินค้า
รายการสินค้าที่สั่งซื้อ
ยังไม่มีคำสั่งซื้อ
แนะนำสำหรับคุณ
PRODUCTS
CUSTOMER SERVICE
ABOUT US
PROMOTION
REWARDS
HELPING
แสงสีฟ้าภัยเงียบที่เสี่ยงต่อโรคตา ป้องกันและรับมือได้อย่างไร?
แสงสีฟ้าภัยเงียบที่เสี่ยงต่อโรคตา ป้องกันและรับมือได้อย่างไร?


แสงสีฟ้า หรือ Blue Light มีอยู่ตามธรรมชาติในทุกที่และสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันรอบตัวเรา เช่น แสงสีฟ้าที่เกิดจากแสงอาทิตย์ แสงสีฟ้าที่เกิดจากหลอดไฟ จากไส้หลอดฟลูออเรสเซนต์ แสงสีฟ้าที่เกิดจากโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ ทีวี และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ

แสงสีฟ้า เป็นคลื่นรังสีที่มีพลังงานสูง (HEV) ชนิดหนึ่ง โดยเป็นสีในสเปกตรัม (แสงที่ดวงตาคนมองเห็นได้) ที่สามารถทะลุผ่านกระจกตาจนไปถึงจอประสาทตาด้านหลังของดวงตา ที่ประกอบด้วยเซลล์ที่ตอบสนองต่อแสง และเป็นชั้นเนื้อเยื่อที่มีความไวต่อแสงที่ด้านหลังดวงตาซึ่งมีเซลล์ที่ไวต่อแสงหรือที่เรียกว่า เซลล์รับแสง เพื่อให้จอประสาทตาส่งสัญญาณภาพไปยังสมองเพื่อทำให้เรามองเห็นภาพได้


 

แต่แสงสีฟ้าก็สามารถทะลุเข้าไปและทำลายเซลล์รับแสงในดวงตา ตั้งแต่กระจกตา เลนส์ตา จอประสาทตา ที่มีส่วนในการมองเห็น ทำให้เกิดปัญหาภาวะตาอ่อนล้า ตาแพ้แสง มีอาการปวดตา ตาแห้ง แสบตา เคืองตา ตาเบลอ ไปจนถึงจอประสาทตาเสื่อม ฯลฯ เนื่องจากคลื่นแสงพลังงานสูงของแสงสีฟ้าเหนี่ยวนำให้เกิดการสร้างอนุมูลอิสระ (Free Radical) ในเซลล์ของจอประสาทตา ทำให้เซลล์ค่อย ๆ เสื่อมลง ส่งผลให้เป็นโรคจอประสาทตาเสื่อม (Macular degeneration) ที่ถือว่าเป็นภัยเงียบและเสี่ยงต่อการเป็นโรคตาต่าง ๆ ได้

มีผลการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับโรคจอประสาทตาเสื่อมจากผลกระทบตั้งแต่ช่วงการระบาดของไวรัสโควิด Covid-19 จนถึงปัจจุบัน พบว่ามีค่าเฉลี่ยของการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ จำพวกที่ต้องมีหน้าจอ เช่น มือถือ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ ที่มีระยะเวลาใช้งานหน้าจอนานเพิ่มขึ้นถึง 19 ชั่วโมงต่อวัน เกินจากคำแนะนำที่ให้ใช้หน้าจอได้ไม่เกิน 2 ชั่วโมงต่อวัน นอกเหนือจากกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน และยิ่งไม่ต้องสงสัยเลยว่า ทำไมถึงมีจำนวนของผู้ที่ใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงระยะหลังจากที่เกิดการระบาดของโรคโควิดที่เปรียบเสมือนการบังคับให้คนมีวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป เปลี่ยนจากการทำงานที่ออฟฟิศมาทำที่บ้าน (WFH) หรือในเวลาเดียวกัน ช่วงเวลาว่างส่วนใหญ่ของหลาย ๆ คนก็มุ่งเน้นไปที่การเล่นโซเชียลตามแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ เช่น facebook, TikTok, Instagram, Netflix และ YouTube จึงทำให้มีการใช้หน้าจอมากเกินไป และได้ถูกเชื่อมโยงกับผลกระทบเชิงลบต่อสุขภาพของดวงตา โดยเฉพาะเกี่ยวกับการเกิดโรคตา โรคจอประสาทตาเสื่อม ในผู้ที่ต้องสัมผัสกับแสงสีฟ้าเป็นเวลานานนั่นเอง

การดูแลปกป้องดวงตาจากแสงสีฟ้า

ดูแลปกป้องดวงตาคู่เดียวของเราให้ห่างไกลจากผลกระทบที่เกิดจากการสัมผัสแสงสีฟ้าด้วยวิธี...

  1. พักผ่อนสายตาบ่อย ๆ ในทุกช่วงเวลา 20, 30 นาที ด้วยการมองในระยะไกลประมาณ 6 เมตร เป็นเวลา 20 วินาที มีส่วนช่วยลดอาการเมื่อยล้าของดวงตาได้
  2. มีกำหนดระยะห่างของสายตากับหน้าจออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สำหรับคนที่ต้องใช้สายตาจ้องหน้าจออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เป็นประจำ ให้ปรับระยะห่างระหว่างดวงตากับหน้าจอให้อยู่ประมาณ 25 นิ้ว รวมถึงการเลือกใช้โหมดแสงถนอมสายตา ที่ช่วยลดแสงสีฟ้าในหน้าลง ก็จะช่วยเลี่ยงการเกิดอาการตาล้าได้
  3. แอปกรองแสงสีฟ้า แอปพลิเคชัน (Blue light filter app) สำหรับคนชอบเล่นโทรศัพท์กลางคืน มีส่วนช่วยปรับสีหน้าจอตามแสงสว่างภายนอกโดยอัตโนมัติ เพื่อปกป้องดวงตา เนื่องจากแสงสีฟ้าจากมือถือ หรือแท็บเล็ตของคุณอาจทำให้มีอาการตาล้า ปวดตา และในผู้ที่มีปัญหาการนอนหลับ ซึ่งแอปพลิเคชันสำหรับ iOS และ Android อาทิ Blue Light Filter, Night Light Lite Nightligth มีส่วนช่วยปรับแสงหน้าจอของคุณเพื่อลดแสงสีฟ้า ลดอาการปวดตาและแก้ปัญหาการนอนไม่หลับ
  4. สวมแว่นตากรองแสงสีฟ้า มีส่วนช่วยกรองแสงสีฟ้าจากจอคอมพิวเตอร์ จอมือถือ ฯลฯ เพราะตัวแว่นตาจะมีเลนส์ตัดแสงสีฟ้า ช่วยลดการฟุ้งกระเจิงของแสงสีฟ้า ซึ่งอาจจะไม่ได้ช่วยในแง่ของการรักษาโรคตา แต่ช่วยในการป้องกันหรือถนอมดวงตาให้ใช้งานได้ยาวนานและช่วยปกป้องดวงตาจากความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้
  5. ออกแบบแสงสว่างภายในห้อง ควรเลือกแรงวัตต์ของหลอดไฟและจัดวาง (room lighting) ให้ภายในห้องมีระดับแสงรอบตัวที่สม่ำเสมอโดยเฉพาะเวลาใช้อุปกรณ์ดิจิทัล สภาพแวดล้อมของแสงต้องตรงกับความสว่างหน้าจอ เนื่องจากหากแสงสว่างรอบตัวเราต่ำ จะทำให้ดวงตาของคุณรับแสงสีฟ้าเข้ามามากขึ้น
  6. กินอาหารที่มีวิตามินบำรุงสายตาป้องกันความเสื่อมจากแสงสีฟ้า อาหารที่ดีที่สุดสำหรับดวงตาของเราก็คือผักผลไม้ที่มีสีสัน โดยเฉพาะผักที่อุดมไปด้วย Phyto หรือ ไฟโตนิวเทรียนท์ (Phytonutrient) สารอาหารจากพืชโดยตรงที่มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างสุขภาพและป้องกันโรค มีการค้นพบไฟโตนิวเทรียนท์ (Phytonutrient) มากกว่า 10,000 ชนิด แต่ละชนิดก็มีสรรพคุณต่อสุขภาพแตกต่างกันและแบ่งออกเป็นหลายประเภทตามโครงสร้างทางเคมี เช่น แคโรทีนอยด์, ฟลาโวนอยด์, แอนโทไซยานิน, แทนนิน ฯลฯ โดยเฉพาะไฟโตนิวเทรียนท์ที่มีสารสำคัญในกลุ่มแคโรทีนอยด์อันทรงพลังอย่าง ลูทีน (Lutein) และ ซีแซนทีน (Zeaxanthin) ถือเป็นสารอาหารสำคัญที่มีส่วนช่วยในการป้องกันโรคตาที่ดีที่สุดและช่วยลดความเสียหายกับดวงตาที่เกิดจากแสงสีฟ้า รวมไปถึงผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีสารอาหารสำคัญเกี่ยวข้องสัมพันธ์เสริมการทำงานของกันและกันของสารลูทีน (Lutein), ซีแซนทีน (Zeaxanthin), มีโซ-ซีแซนทีน (Meso-zeaxanthin), สารอาหารในกลุ่มแอนโทไซยานิน และวิตามินเอ ที่มีส่วนช่วยในการมองเห็น เป็นวิตามินบำรุงสายตาที่ช่วยดูแลปกป้องดวงตาของเรา และมีส่วนช่วยให้เราเพลิดเพลินไปกับโลกดิจิทัลหรือลดความเสี่ยงจากภัยเงียบที่มากับแสงสีฟ้านั่นเอง

สารอาหารสัมพันธ์ เสริมคุณค่ากันและกัน ช่วยดูแลถนอมดวงตา

ลูทีน (Lutein), ซีแซนทีน (Zeaxanthin), มีโซ-ซีแซนทีน (Meso-zeaxanthin)



ลูทีน (Lutein), ซีแซนทีน (Zeaxanthin), มีโซ-ซีแซนทีน (Meso-zeaxanthin) เป็นสารอาหารสำคัญในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (Carotenoids) ที่พบในดวงตาของคน หรือพบในจุดภาพชัด (Macular Pigment) โดยลูทีน (Lutein), ซีแซนทีน (Zeaxanthin), มีโซ-ซีแซนทีน (Meso-zeaxanthin) มีส่วนช่วยในการกรองแสงสีฟ้าที่มีอยู่ในแสงแดด แสงจากจอคอมพิวเตอร์ จอมือถือ ฯลฯ ซึ่งเป็นแสงที่หลีกเลี่ยงได้ยาก และมีผลการศึกษาที่ได้แสดงให้เห็นว่าลูทีน (Lutein), ซีแซนทีน (Zeaxanthin), มีโซ-ซีแซนทีน (Meso-zeaxanthin)  สามารถบล็อกหรือกรองแสงสีฟ้าไม่ให้เข้าถึงโครงสร้างภายในของดวงตาและเป็นอันตรายต่อจอประสาทตา ทำให้ลดความเสี่ยงจากโรคตาที่เกิดจากแสงสีฟ้า อีกทั้งยังส่งผลดีต่อการมองเห็นที่ดีขึ้น โดยเฉพาะในที่ที่มีแสงน้อยหรือมีปัญหาเกี่ยวกับการสะท้อนแสง

ผลการศึกษาและงานวิจัยยังพบว่าลูทีน (Lutein), ซีแซนทีน (Zeaxanthin) มีส่วนช่วยเพิ่มความหนาของพิกเมนต์ในจุดกลางของจอประสาทตา และช่วยลดความเสี่ยงของภาวะจอประสาทตาเสื่อมที่เกี่ยวข้องกับอายุและปรับปรุงการทำงานของการมองเห็นในผู้ที่มีระยะเริ่มต้นของโรคตา

และในส่วนของมีโซ-ซีแซนทีน (Meso-zeaxanthin) มีส่วนช่วยลดการเกิดอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นในดวงตา ลดโอกาสเกิดโรคจุดภาพชัดที่จอตาเสื่อม (Macular Degeneration) ซึ่งเกิดขึ้นตามวัย ซึ่งจากผลการศึกษายังพบว่า มีโซ-ซีแซนทีน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพมาก โดยพบเจอ มีโซ-ซีแซนทีน ในอาหารบางชนิดแต่มีในปริมาณที่น้อยมาก เช่น พบเจอมีโซ-ซีแซนทีนในหนังปลา กระดองกุ้ง และไขมันเต่าทะเลเท่านั้น แต่ด้วยงานวิจัยคุณภาพที่ทำให้สามารถสังเคราะห์ มีโซ-ซีแซนทีน ขึ้นมาจากจากลูทีน (Lutein) และค้นพบสารพฤกษเคมีกลุ่มสารอาหารแคโรทีนอยด์อย่าง มีโซ-ซีแซนทีน, ลูทีน, และซีแซนทีน ในดอกดาวเรือง

ลูทีน (Lutein) & วิตามินเอ (Vitamin A)

สารอาหารสำคัญอย่างลูทีน (Lutein) ยังมีความสัมพันธ์กับกับวิตามินเอ และมีความเข้มข้นในจุดกลางของจอประสาทตาและจุดรับภาพ ดังนั้น ลูทีน (Lutein) และ วิตามินเอ (Vitamin A) จึงเป็นสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการมองเห็นที่ดี และยังทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระเพื่อลดความเสียหายจากอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นกับดวงตาอีกด้วย

ลูทีน (Lutein), ซีแซนทีน (Zeaxanthin) พบมากในดอกดาวเรือง ผักใบเขียว ข้าวโพด ไข่แดง เป็นต้น โดยเฉพาะดอกดาวเรืองที่นิยมนำมาสกัดเพื่อให้ได้อาหารของดวงตาอย่างสารลูทีน (Lutein), ซีแซนทีน (Zeaxanthin)

วิตามิน A ถือเป็นวิตามินบำรุงสายตาที่พบมากในไข่แดง ตับ นม และในพืชผักกลุ่มที่มีสารแคโรทีนอยด์ ได้แก่ ผักใบเขียวเข้มและผลไม้สีเหลือง สีส้ม เช่น แครอท ฟักทอง มันเทศ และมะละกอสุก เป็นต้น

สารแอนโทไซยานิน

แอนโทไซยานิน (Anthocyanins) เป็นสารอาหารที่มีคุณสมบัติเป็นต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพสูง โดย แอนโทไซยานิน (Anthocyanins) เป็นสารไฟโตนิวเทรียนท์ที่ทำให้เกิด สีแดง สีม่วง สีน้ำเงิน ในพืช เช่น หอมแดง กะหล่ำปลีม่วง มะเขือเทศ และในผลไม้ อย่าง แบลคเคอร์แรนท์, สตรอว์เบอรี, บิลเบอร์รี่ (Bilberry) รวมทั้งธัญพืชและถั่วที่มีสีเข้ม แต่จะพบปริมาณของสารแอนโทไซยานินในบิลเบอร์รี (Bilberry) มากกว่าผักและผลไม้อื่น ๆ

จากข้อมูลด้านโภชนาการ จะเห็นได้ว่า บิลเบอร์รี (Bilberry) เป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง การกินผลบิลเบอร์รี (Bilberry) หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีสารสกัดจากบิลเบอร์รี (Bilberry) จะมีสุขภาพที่ดี ห่างไกลจากโรคเรื้อรังต่างๆ และมีส่วนช่วยบำรุงสายตา ลดอาการตาล้า มีส่วนช่วยทำให้มองเห็นในเวลากลางคืนได้ดี ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคตาชนิดต่างๆ ได้

การปกป้องดวงตาของเราจากผลกระทบที่เป็นอันตรายจากแสงสีฟ้าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการรักษาสุขภาพดวงตาที่ดี และสารอาหารที่กล่าวถึงข้างต้นนั้น ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถปรับปรุงการทำงานของดวงตา มีส่วนช่วยในการมองเห็น ลดความเสี่ยงของการเสื่อมสภาพขอจอประสาทตาที่เกี่ยวข้องกับอายุได้ดีอีกด้วย


 


ที่มา

[1] สีและแสง การวัดการดูดกลืน สถาบันนวัตกรรมและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล

[2] แสงที่ตามองเห็น (visible light) กับ รังสีเอกซ์ (x-ray)

[3] ผลกระทบของแสงสีฟ้าต่อสุขภาพดวงตาของคุณ

[4] ลูทีนและซีแซนทีน อาหารของดวงตา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

[5] Phytonutrients – Nature’s Natural Defense

[6] Clinical Evidence of the Benefits of Phytonutrients in Human Healthcare

[7] 8 Ways to Protect Your Eyes from Blue Light

แชทผ่านไลน์ @Liveandfit