สมัครสมาชิก / เข้าสู่ระบบ
หรือ
หากคุณยังไม่ได้เป็นสมาชิกกับเรา !
การดำเนินการต่อถือว่าคุณยอมรับ
ข้อกำหนดและเงื่อนไข และ นโยบายความเป็นส่วนตัว
เราอาจส่งข่าวสารให้ท่าน ท่านสามารถปิดการรับข่าวสาร
ได้โดยเปลี่ยนการตั้งค่าในบัญชีของท่าน
เราจะไม่ส่งข่าวสารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากท่าน
สมัครสมาชิก / เข้าสู่ระบบ
หากคุณยังไม่ได้เป็นสมาชิกกับเรา !
หรือเข้าสู่ระบบด้วย
หรือ
สั่งซื้อทันทีโดยไม่สมัครสมาชิก
การดำเนินการต่อถือว่าคุณยอมรับ
ข้อกำหนดและเงื่อนไข และ นโยบายความเป็นส่วนตัว
เราอาจส่งข่าวสารให้ท่าน ท่านสามารถปิดการรับข่าวสาร
ได้โดยเปลี่ยนการตั้งค่าในบัญชีของท่าน
เราจะไม่ส่งข่าวสารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากท่าน
ตะกร้าสินค้า
รายการสินค้าที่สั่งซื้อ
ยังไม่มีคำสั่งซื้อ
แนะนำสำหรับคุณ
PRODUCTS
CUSTOMER SERVICE
ABOUT US
PROMOTION
REWARDS
HELPING
เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อร่างกายแข็งแรงแลดูอ่อนเยาว์
เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อร่างกายแข็งแรงแลดูอ่อนเยาว์

ภูมิคุ้มกัน (Immune system)
คือ เกราะป้องกันร่างกายตามธรรมชาติด่านแรก เกิดจากการทำงานร่วมกันของหลายระบบภายในร่างกาย ทั้งอวัยวะต่าง ๆ เซลล์และสารเคมี รวมถึงโปรตีนหลากหลายชนิด ภูมิคุ้มกันยังทำหน้าที่ตรวจสอบหรือสร้างกลไกการตอบสนองที่เรียกกันว่า “ระบบภูมิคุ้มกัน” ทำหน้าที่ป้องกันหรือต่อต้านไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายหรือเกิดการติดเชื้อจากเชื้อโรค ทั้งจากการติดเชื้อภายนอก ได้แก่ แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา หรือสารพิษจากจุลินทรีย์ หรือจากความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย เช่น เนื้องอก หรือเซลล์มะเร็ง ทำให้ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายสามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติ

ตามหลักชีววิทยา เมื่อแอนติเจน (Antigen) หรือ เชื้อโรค สิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย จะสามารถกระตุ้นกลไกของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้เกิดเป็นสารก่อภูมิคุ้มกันที่นำไปสู่การสร้างสารแอนติบอดี (Antibody) เพื่อมาขจัดและทำลายแอนติเจน หรือ เชื้อโรค สิ่งแปลกปลอมจากภายนอกที่เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งในระบบภูมิคุ้มกันนั้นมีเซลล์ชนิดหนึ่งที่เรียกว่าเซลล์เม็ดเลือดขาว (White Blood Cell หรือ Leucocyte) ไหลเวียนอยู่ในกระแสโลหิต มีส่วนช่วยในการทำหน้าที่ขจัดสารพิษ เซลล์ที่เสื่อมสภาพ เซลล์ที่ผิดปกติ และป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคต่าง ๆ ภายในร่างกาย ดังนั้น

หน้าที่สำคัญของระบบภูมิคุ้มกันจึงประกอบด้วย
  • ป้องกัน ทำลาย กำจัด เชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ
  • กำจัดเซลล์ที่เสื่อมสภาพออกจากร่างกาย เช่น เซลล์เม็ดเลือดแดงที่มีอายุมาก
  • ตรวจสอบและกำจัดเซลล์ที่แปรสภาพหรือเซลล์ที่ผิดปกติ เช่น เซลล์ที่กำลังเปลี่ยนไปเป็นเซลล์มะเร็ง เป็นต้น

10 พฤติกรรมเสี่ยง ทำร้ายระบบภูมิคุ้มกัน

1. ชอบกินหวานจากน้ำตาลมากเกินไป
นักโภชนาการหลายท่าน รวมไปถึงมีข้อมูลทางการแพทย์ ต่างยืนยันได้ว่า กินน้ำตาล 1 ช้อนชา มีส่วนทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง 50% ในระยะเวลา 6 ชม. เนื่องจากน้ำตาลจะเข้าไปกดการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาว (เซลล์เม็ดเลือดขาวมีหน้าที่ทำลายเชื้อโรคและปกป้องร่างกายจากสิ่งแปลกปลอม) ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายทำงานบกพร่อง น้ำตาลยังถือเป็นศัตรูตัวร้ายของวิตามินซีในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เนื่องจากมีโครงสร้างทางเคมีที่คล้ายกัน ทำให้ยิ่งมีน้ำตาลในระบบภูมิคุ้มกันมากเท่าไร ก็จะทำให้วิตามินซีเข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดขาวได้น้อยลงเท่านั้น และส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันที่ลดลงอีกด้วย

2. ความเครียดสะสม
ส่งผลทางลบโดยตรงต่อระบบภูมิคุ้มกัน ยิ่งร่างกายมีระดับความเครียดสูงขึ้นจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมา ซึ่งฮอร์โมนคอร์ติซอลนี้มีส่วนในการไปกดภูมิคุ้มกันให้อ่อนแอลง

3. กินอาหารที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ
โดยเฉพะอาหารที่ผ่านการแปรรูปหรือปรุงแต่งรสที่อุดมไปด้วยน้ำตาล, ไขมันอิ่มตัว, และโซเดียมที่มากเกินปริมาณที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน จะเป็นตัวการทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้สุขภาพของเรามีความเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยได้ง่าย

4. ไม่ออกกำลังกาย / การออกกำลังกายมากเกินไป
การออกกำลังกายเป็นประจำ มีส่วนช่วยเพิ่มการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน เพราะขณะกำลังออกกำลังกาย หัวใจเต้นสม่ำเสมอ เพิ่มกำลังการสูบฉีดไหลเวียนของเลือด กระตุ้นการหมุนเวียนของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน โดยมีผลการศึกษาที่เผยแพร่ใน American Journal of Preventive Medicine ปี 2012 ว่าการอยู่เฉย ๆ ตลอดเวลา หรือไม่ค่อยขยับอวัยวะในร่างกายเลย มีผลโดยตรงต่อระบบภูมิคุ้มกันในการต่อสู้กับเชื้อโรค เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง

การออกกำลังกายหนักมากเกินไป แม้กระทั่งการออกกำลังกายในช่วงที่ร่างกายเจ็บป่วย ก็ส่งผลเสียต่อระภูมิคุ้มกันได้เช่นกัน เนื่องจากการทำกิจกรรมที่มีความหนักหน่วงเป็นเวลานาน มีส่วนทำให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันลดลง มีส่วนทำให้เกิดการอักเสบและเกิดปฏิริยาอ๊อกซิเดชั่นมากเกินไป จำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ต่อสู้กับเชื้อโรคในร่างกายลดลง และในเวลาเดียวกันนั้นฮอร์โมนแห่งความเครียด หรือคอร์ติซอลอาจเพิ่มขึ้น ซึ่งจะไปรบกวนความสามารถของเซลล์ที่คุ้มกันร่างกายไม่ให้ทำงานได้ตามปกติ

5. การขาดวิตามินและแร่ธาตุบางชนิด
วิตามินและแร่ธาตุบางชนิดมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยเฉพาะวิตามินซี, ดี, อี และแร่ธาตุจำพวก สังกะสี, เซเลเนียม รวมไปถึงสารต้านอนุมูลอิสระก็เป็นสารอาหารสำคัญในการดูแลรักษาระบบภูมิคุ้มกันร่างกายให้แข็งแรง

6. พักผ่อนไม่เพียงพอ หรือนอนไม่เป็นเวลา
มีส่วนทำให้ระบบการหลั่งสารฮอร์โมนเมลาโทนินลดลง การหลั่งสารฮอร์โมนที่ลดลงนี้ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอและความเครียดสะสมเพิ่มมากขึ้น เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ไม่สามารถต่อต้านแบคทีเรียและเชื้อไวรัสจากภายนอกร่างกายได้ การนอนอย่างมีคุณภาพมีความสำคัญต่อการมีสุขภาพดีจริง ๆ

7. จุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารไม่สมดุล
จุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารมีมากถึง 5,000 ชนิด เเบ่งเป็นกลุ่มที่เป็นอันตรายหรือก่อโรคภายในร่างกายและกลุ่มที่ดีต่อสุขภาพ ยิ่งในปัจจุบันนี้มีงานวิจัยสนับสนุนว่า จุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งพบมากในลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ มีบทบาทสำคัญต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย โดยจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารและสมอง มีการสื่อสารระหว่างกันผ่านทางระบบประสาท ฮอร์โมน และระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจากโปรตีนที่หลั่งจากเซลล์ต่าง ๆ ในระบบภูมิคุ้มกัน หากจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารขาดความสมดุล อาจทำให้การทำงานของระบบทางเดินอาหารผิดปกติ ลำไส้แปรปรวน และส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

8. สูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์
มีส่วนทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอ ทำให้ร่างกายมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เจ็บป่วยได้มากขึ้น เนื่องจากสารพิษต่าง ๆ ที่มีอยู่ในบุหรี่ ล้วนมีความสามารถในการทำลายเซลล์ปอด และยังส่งผลเสียต่อปริมาณสารอาหารที่มีความสำคัญต่อการทำงานของร่างกาย จึงส่งผลกระทบไปสู่การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย อีกทั้งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็มีส่วนทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานได้ลดลง อีกทั้งยังให้โทษต่อระบบประสาทและตับอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เลย

9. อายุและกรรมพันธุ์
มีผลต่อความแข็งแรงของระบบภูมิคุ้มกัน โดยระบบภูมิคุ้มของร่างกายนั้นมักจะเริ่มอ่อนแอลงเมื่ออยู่ในวัยเด็กและวัยสูงอายุ แต่ในวัยหนุ่มสาวมักจะมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง และยังพบว่าเมื่ออายุมากขึ้น ภูมิคุ้มกันในร่างกายก็ยิ่งลดต่ำลงอีกด้วย และการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากพ่อแม่ก็ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้ม ที่หากพ่อแม่มีสุขภาพร่างกายที่ป่วยไข้ง่าย หรือมีโรคประจำตัวก็อาจมีส่วนในการถ่ายทอดมาสู่รุ่นลูกได้ โดยเฉพาะโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง มีส่วนทำให้ร่างกายของลูกไม่แข็งแรงได้

10. ปัจจัยสิ่งแวดล้อม
เมื่อใดที่เราไม่ดูแลความสะอาด หรือการดูแลสุขอนามัย ทั้งกับตัวเองและสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย ย่อมเสี่ยงต่อการสัมผัสกับแหล่งสะสมของเชื้อโรค รวมไปถึงฝุ่นควัน สารพิษ แสงแดด ก็มีส่วนทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอ ด้อยประสิทธิภาพลงเรื่อยๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้


จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อภูมิคุ้มกันอ่อนแอ !

เจ็บป่วยบ่อยครั้ง
เมื่อไหร่ที่ภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง ระบบกลไกการทำงานของภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติของร่างกายไม่สามารถทำหน้าที่ป้องกันหรือต่อต้านไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ เชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมเหล่านั้นก็จะจู่โจมเราได้ง่ายขึ้น อันเป็นที่มาของสาเหตุที่ทำไมเราถึงเจ็บป่วยบ่อย เช่น เป็นไข้หวัดหลายครั้งต่อปี ท้องเสียบ่อย เป็นโรคติดเชื้อทางผิวหนัง เป็นต้น

รักษาบาดแผลนานขึ้น
เริ่มสังเกตตัวเองดูว่า หากมีการบาดเจ็บมีแผลเล็กน้อย แต่ต้องรักษาบาดแผลนานกว่าจะหาย นั่นอาจเป็นสัญญาณฟ้องว่า การที่ร่างกายใช้เวลาในการรักษาบาดแผลนานขึ้น อาจมีสาเหตุมาจากมีการอักเสบเรื้อรัง หรือระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง

น้ำหนักตัวเปลี่ยนแปลงไม่สัมพันธ์
การมีน้ำหนักตัวเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ไม่สมส่วนกับความสูง มีส่วนทำให้ในเซลล์ภูมิคุ้มกันมีเซลล์ไขมันเพิ่มขึ้น และอาจหลั่งสารเคมีบางชนิดที่ส่งผลให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง จนกระทบต่อความสามารถในการดูดซึมสารอาหารที่สำคัญ

การมีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ไม่สมส่วนกับความสูง ก็มีส่วนทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอลงได้เช่นกัน อีกทั้งยังอาจทำให้กระดูกเปราะบางกว่าปกติ และอาจมีอาการเหนื่อยล้าอ่อนเพลียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพและภูมิคุ้มกันร่างกาย

ปัญหาเกี่ยวกับช่องท้อง
ความไม่สมดุลของปริมาณแบคทีเรียหรือจุลินทรีย์ชนิดดีและไม่ดีในระบบทางเดินอาหาร อาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเข้าสู่ภาวะขับของเสียออกจากร่างกายมากเกินไป จนอาจนำไปสู่อาการท้องร่วง ท้องเสีย ท้องผูก และอาจมีก๊าซในช่องท้อง ซึ่งอาการเหล่านี้พบได้บ่อยในผู้ที่กำลังมีระบบภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง

ปัญหาเกี่ยวกับผิวหนัง
ผิวหนังเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย มีหน้าที่สำคัญในการห่อหุ้มร่างกาย เป็นเกราะป้องกันเชื้อโรค ป้องกันแสง UV มีส่วนช่วยควบคุมอุณหภูมิ มีส่วนช่วยควบคุมการสูญเสียน้ำในร่างกาย และผิวหนังยังเป็นแหล่งสังเคราะห์สารเมลานิน วิตามินดี และเคราติน โดยผิวหนังเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ที่จะแสดงอาการฟ้องต่อสายตาเราทันทีที่ภูมิคุ้มกันร่างกายไม่แข็งแรง เช่น
  • ผื่นภูมิแพ้ ส่วนใหญ่เริ่มมาจากการมีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง ส่งผลมาสู่ผิวหนังที่เมื่อเจอกับมลภาวะหรือปัจจัยต่าง ๆ เช่น ฝุ่น ควัน แสงแดด สารพิษ เกสรดอกไม้ ไรฝุ่น ขนสัตว์ ฯลฯ ที่ทำให้เกิดอาการแพ้ มีผื่นแดงผื่นคัน ขึ้นตามผิวหนัง หรือสภาพอากาศเย็นในฤดูหนาวอาจทำให้ผิวแห้ง ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของการเกิดผดผื่นภูมิแพ้
  • ผิวแห้ง ผิวลอก อาจเกิดจากภูมิคุ้มกันอ่อนแอและมีความผิดปกติของระบบที่สามารถทำลายเนื้อเยื่อภายในร่างกายของตัวเอง (ทำร้ายผิวตัวเอง) จนเกิดการอักเสบ
  • ผิวมีสิวอักเสบ เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ทำการต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย หรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายจนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการอักเสบหรือการติดเชื้อของเนื้อเยื่อสู่การเป็นสิวอักเสบ
  • โรคต่อมไขมันอักเสบ หรือ เซ็บเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis) มักเกิดขึ้นบริเวณที่มีต่อมไขมัน เช่น หนังศีรษะ ไรผม หัวคิ้ว ใบหู ข้างจมูก ร่องแก้ม ริมฝีปาก รักแร้ หน้าอก ขาหนีบ เป็นต้น โดยมักมีแสดงอาการ แสบ แดง ลอก และอาจมีอาการคันร่วมด้วย ซึ่งโรคต่อมไขมันอักเสบเกิดจากภูมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอลง จึงเป็นโอกาสทำให้เชื้อโรคเข้าไปกระตุ้นจนเกิดการอักเสบและสูญเสียสมดุลบริเวณผิวหนัง ที่หากใครได้เป็น หรือมีอาการกำเริบ นอกจากจะทำให้จิตตกแล้ว ยังทำให้สูญเสียความมั่นใจ และมีผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันอีกด้วย
  • โรคตุ่มน้ำพอง ไม่ใช่โรคที่เกิดจากการติดเชื้อและไม่ใช่โรคติดต่อสู่ผู้อื่นได้ แต่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติและสร้างสารแอนติบอดี้มาทำลายระบบโครงสร้างที่ทำหน้าที่ยึดเซลล์ผิวหนัง และทำให้ผิวหนังหลุดออกจากกัน กลายเป็นตุ่มน้ำพองและอาจมีแผลถลอกร่วมด้วย

ซึ่งนอกจากความเจ็บป่วยจากสารพัดโรคทางผิวหนังแล้ว ยังอาจส่งผลทำให้ผิวของเรามีริ้วรอย เสื่อมโทรมหรือผิวแก่ก่อนวัยได้อีกด้วย เพราะถ้าภูมิคุ้มกันร่างกายของเราไม่แข็งแรงย่อมส่งผลให้ร่างกายเกิดความไม่สมดุลของอนุมูลอิสระในร่างกายและเกิดการทำลายคอลลาเจนและอีลาสตินในชั้นผิว ทำลายความแข็งแรงของเซลล์ผิว ส่งผลต่อความยืดหยุ่นของผิว ทำให้ผิวมีริ้วรอย หย่อนคล้อย และมีผิวหน้าแก่ก่อนวัยนั่นเอง


มหัศจรรย์ภูมิคุ้มกัน เพื่อร่างกายแข็งแรงแลดูอ่อนเยาว์

มีการศึกษาวิจัยภูมิคุ้มกันของร่างกายมนุษย์จากผู้เชี่ยวชาญมากมาย ต่างทึ่งในความมหัศจรรย์ของระบบภูมิคุ้มกันที่มีความสลับซับซ้อนรองลงมาจากสมอง เพราะระบบภูมิคุ้มกันร่างกายมี cell type นับพันชนิด ส่งโมเลกุลที่มีความจำเพาะมากกว่า 8,000 ยีน มีความเชื่อมโยงเกี่ยวพันกันยุ่งเหยิงซับซ้อนกันไปหมด

ซึ่งความสำคัญของระบบภูมิคุ้มกันร่างกายที่แข็งแรงนั้น คือตัวกำหนดได้ว่า เชื้อโรคต่าง ๆ จะทำร้ายเราได้หนักเบาแค่ไหน เพราะภูมิคุ้มกันของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน และเกิดการเสื่อมสภาพไปตามวัย แต่ก็มีบ้างที่บางคนอายุมากแต่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงดี แต่บางคนอายุไม่มากแต่กลับมีภูมิคุ้มกันร่างกายที่อ่อนแอ อาจเป็นเพราะการใช้ชีวิตที่ไม่สมดุล ทั้งทำงานหนัก ความเครียด เข้านอนดึก พักผ่อนไม่เพียงพอ ดื่มแอลกอฮอร์ สูบบุหรี่ กินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการต่ำ มีน้ำหนักตัวมากเกินพอดี และขาดการออกกำลังกาย ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้ภูมิคุ้มกันเสื่อมถอยเร็วเกินกว่าอายุจริง

ดังนั้น การทำความเข้าใจในกลไกของระบบภูมิคุ้มกันมีส่วนช่วยให้เรารู้เท่าทันโรคภัยและรู้จักวิธีป้องกันดูแลสุขภาพ เพราะการมีระบบภูมิคุ้มกันร่างกายที่แข็งแรงคือสิ่งที่ดีที่สุดในชีวิต

เริ่มดูแลตัวเองเพื่อเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรงแลดูอ่อนเยาว์ตั้งแต่วันนี้ ด้วยการ...

ไม่เครียด
ความเครียดมีส่วนทำให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนที่มีฤทธิ์กดภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้อาจมีภาวะภูมิตก ภูมิพัง และเสี่ยงต่อการเจ็บไข้ได้ง่าย ๆ

เลี่ยงมลพิษ
รีบออกจากสถานที่ที่มีภาวะมลพิษในอากาศให้เร็วที่สุด และพยายามอยู่ในสถานที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์

นอนหลับอย่างมีคุณภาพ
การนอนที่มีคุณภาพคือการเข้านอนตั้งแต่ 4 ทุ่ม และนอนอย่างน้อย 6- 8 ชั่วโมง เพราะการเข้านอนเร็วและหลับได้เร็วก่อนเที่ยงคืน จะทำให้ร่างกายหลั่งโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) ได้ดีกว่าการนอนดึก ซึ่งโกรทฮอร์โมนนี้มีส่วนช่วยซ่อมแซมและฟื้นฟูร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ มีส่วนช่วยให้ผิวพรรณดี ชะลอการเกิดริ้วรอย

ออกกำลังกายมากกว่า 30 นาทีต่อวัน
นอกจากช่วยให้ร่างกายเผาผลาญแคลอรี่ ไขมันส่วนเกิน ยังช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ช่วยขับของเสียผ่านทางเหงื่อ ช่วยลดความเครียด การออกกำลังกายเป็นประจำสนับสนุนระบบภูมิคุ้มกัน ส่งเสริมการไหลเวียนเลือดที่ดีซึ่งทำให้เซลล์ภูมิคุ้มกันสามารถเคลื่อนที่ไปทั่วร่างกายและปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กินอาหารเสริมภูมิคุ้มกัน
70% ของภูมิคุ้มกันร่างกายที่ดีอยู่ที่ระบบทางเดินอาหาร ซึ่งคอยตรวจสอบปริมาณอาหารที่เรากินเข้าไป และกำหนดว่าร่างกายควรนำสารอาหารไปใช้ประโยชน์อย่างไร จึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่เราต้องกินอาหารหลากหลายในปริมาณที่เหมาะสม อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และคุณค่าทางโภชนาการต่าง ๆ ที่มีส่วนช่วยให้สุขภาพดีอยู่เสมอ มันไม่ใช่เพียงการปรับเปลี่ยนปริมาณสารอาหารแค่หนึ่งหรือสองกลุ่ม แต่เราต้องดูแลทุกมื้ออาหารให้สมดุล เพื่อให้ร่างกายได้รับปริมาณสารอาหารเพียงพอต่อเซลล์ทุกระดับในร่างกาย


เสริมภูมิคุ้มกันด้วยโภชนาการ
เลือกกินอาหารที่อุดมไปด้วยสารสำคัญเหล่านี้เพื่อเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง

1. โพรไบโอติกส์และพรีไบโอติกส์
โพรไบโอติกส์ (Probiotics) จุลินทรีย์ชนิดดีที่ทนต่อความเป็นกรดและด่าง จะจับตัวอยู่ที่บริเวณผิวของเยื่อบุลำไส้แล้วผลิตสารต่อต้านหรือกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ชนิดอื่น ๆ เมื่อระบบทางเดินอาหารมีโพรไบโอติกส์อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม จะทำให้มีกระบวนการย่อยอาหารที่ดี ดูดซึมสารอาหารได้ดี ช่วยให้เกิดการขับถ่ายกากของเสียได้ดีขึ้น ส่งผลให้ผิวพรรณสดใสและระบบภูมิคุ้มกันทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น โพรไบโอติกส์ยังมีส่วนช่วยในการผลิตสารไซโตไคน์สำหรับต่อสู้และกำจัดกับสิ่งผิดปกติที่เข้ามาในร่างกายอย่างเชื้อไวรัสต่าง ๆ ได้ การสร้างสมดุลของโพรไบโอติกส์ในลำไส้ จึงมีส่วนช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันไม่เสื่อมสภาพ แม้ว่างานวิจัยในเรื่องนี้จะยังไม่มีผลสรุปแน่ชัดก็ตาม โดยแหล่งอาหารที่มีจุลินทรีย์สุขภาพ (โพรไบโอติกส์) ได้แก่ โยเกิร์ตและนมเปรี้ยวที่ระบุไว้ว่ามีการเติมโพรไบโอติกส์ แต่ควรเลือกที่ไม่มีน้ำตาลหรือน้ำตาลต่ำ

พรีไบโอติกส์ (Prebiotics) คือเส้นใยอาหารที่ร่างกายคนเราไม่สามารถย่อยและดูดซึมได้ที่ลำไส้เล็ก แต่จะเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ได้ในรูปแบบที่ไม่เปลี่ยนแปลง และถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ (เป็นอาหารของโพรไบโอติกส์นั่นเอง) ทำให้กระตุ้นการเจริญเติบโตและเสริมการทำงานของโพรไบโอติกส์ โดยแหล่งอาหารที่มีพรีไบโอติกส์พบได้ในถั่วแดง ถั่วเหลือง หัวหอม กระเทียม ในผักและผลไม้ต่าง ๆ เป็นต้น

2. โปรตีน (Protein)
โปรตีน เป็นสารอาหารจำเป็นต่อโครงสร้างพื้นฐานของร่างกาย ช่วยให้ร่างกายสามารถสร้างแอนติบอดี้ที่จำเป็นต่อต้านและป้องกันไวรัส แบคทีเรีย สิ่งแปลกปลอมที่รุกล้ำเข้ามาในร่างกาย ซึ่งโปรตีนคุณภาพดีที่มีกรดอะมิโนจำเป็นครบถ้วนนั้นมีอยู่ในเนื้อสัตว์ ไข่, นม (พร่องหรือขาดมันเนย), ชีส ชนิดที่มีไขมันต่ำ, เต้าหู้, ถั่วเหลือง สำหรับโปรตีนจากพืช เช่น ถั่วต่าง ๆ เมล็ดพืชต่าง ๆ สามารถเลือกกินควบคู่กับแหล่งอาหารจากพืชอื่น ๆ เพื่อเติมเต็มในส่วนของกรดอะมิโนจำเป็น ที่โปรตีนจากพืชชนิดนั้น ๆ มีไม่ครบถ้วน เช่น ถั่วเมล็ดแห้ง (ถั่วเขียว, ถั่วแดง, ถั่วดำ) คู่กับเมล็ดพืชหรือถั่วเปลือกแข็ง และโปรตีนจากปลาทะเลเป็นโปรตีนที่ย่อยง่ายและดูดซึมง่าย และถูกนำมาใช้ในการสร้างเซลล์ต่าง ๆ และการกินปลาทะเล ยังทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารจากกรดไขมันโอเมก้า - 3 ที่มีส่วนช่วยในการต่อต้านเชื้อโรค และมีคุณสมบัติในการต้านการอักเสบ

3. วิตามินซี (Vitamin C)
สุดยอดสารอาหารในการเสริมภูมิคุ้มกันและดูแลผิวพรรณควบคู่กันไป โดยวิตามินซีนั้นถือเป็นวิตามินสำคัญที่มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรงมากขึ้น เนื่องจากวิตามินซีเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระคุณภาพสูง มีส่วนช่วยเพิ่มการดูดซึมแร่ธาตุเหล็ก ช่วยในการซ่อมแซมและเสริมสร้างการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อ และมีส่วนช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวให้มีประสิทธิภาพ

วิตามินซี มีความจำเป็นต่อร่างกายเป็นอย่างมาก แต่ร่างกายไม่สามารถผลิตขึ้นหรือสังเคราะห์เองได้ จึงจำเป็นต้องได้รับวิตามินซีจากอาหารจำพวกผักและผลไม้เป็นส่วนใหญ่ เช่น ส้ม ฝรั่ง มะขามป้อม มะขามเทศ มะลอกอ พริกหวาน คะน้า บรอกโคลี เป็นต้น

ซึ่งความต้องการวิตามินซีต่อวันของร่างกายนั้น ตามข้อกำหนดปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับต่อวัน สำหรับคนไทย พ.ศ. 2563 โดยในเด็กช่วงอายุ 1-8 ปี ควรได้รับวิตามินซี 25-40 มก./วัน ช่วงอายุ 9-18 ปี ควรได้รับวิตามินซี 60-100 มก./วัน และช่วงอายุตั้งแต่ 19 ปีขึ้นไป ควรได้รับวิตามินซี 85-100 มก./วัน

และประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่องการแสดงข้อความกล่าวอ้างหน้าที่ของสารอาหาร ยังระบุคำกล่าวอ้างเกี่ยวกับหน้าที่ของสารอาหารเพื่อให้สอดคล้องกับข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ เป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ระบุเอาไว้ชัดเจนว่า...
  • วิตามินซี มีส่วนช่วยในการทำหน้าที่ตามปกติของระบบภูมิคุ้มกัน
  • วิตามินซี มีส่วนช่วยในการปกป้องเซลล์จากอนุมูลอิสระ
  • วิตามินซี มีส่วนช่วยในกระบวนการต่อต้านอนุมูลอิสระ
  • วิตามินซี มีส่วนช่วยให้หลอดเลือดแข็งแรง
  • วิตามินซี มีส่วนช่วยในการทำหน้าที่ตามปกติของระบบประสาท
รวมไปถึงการเป็นหัวใจหลักสำหรับช่วยดูแลเรื่องผิวพรรณ เพราะว่า...
  • วิตามินซี มีส่วนช่วยในการสร้างคอลลาเจนเพื่อการทำงานตามปกติของผิวหนัง
  • วิตามินซี มีส่วนช่วยในการสร้างคอลลาเจนเพื่อการทำงานตามปกติของกระดูกอ่อน
  • วิตามินซี มีส่วนช่วยในการสร้างคอลลาเจนเพื่อการทำงานตามปกติของกระดูก
  • วิตามินซี มีส่วนช่วยในการสร้างคอลลาเจนเพื่อการทำงานตามปกติของเหงือก
  • วิตามินซี มีส่วนช่วยในการสร้างคอลลาเจนเพื่อการทำงานตามปกติของฟัน ฯลฯ

4. แร่ธาตุสังกะสี หรือ ซิงค์ (zinc)
สังกะสี หรือ ซิงค์ (Zinc) เป็นแร่ธาตุสำคัญที่มีส่วนช่วยในกระบวนการทำงานของร่างกายหลายระบบ เช่น มีส่วนช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน การสืบพันธุ์ การเจริญเติบโต ดีต่อระบบประสาทและการมองเห็น และช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้ผิว ฯลฯ โดยบทบาทสำคัญของแร่ธาตุสังกะสีที่มีต่อร่างกาย ได้แก่...

สังกะสี ช่วยบำรุงเส้นผม เล็บ และผิวพรรณ
แร่ธาตุสังกะสี หรือ ซิงค์ (zinc) เป็นสารอาหารหลักที่มีส่วนช่วยในการการเจริญเติบโตของเส้นผม เล็บ และช่วยคงสภาพของผิวหนังไม่ให้เสื่อมสภาพ ซึ่งเส้นผมและเล็บถือเป็นส่วนหนึ่งของผิวหนังที่ประกอบไปด้วยเซลล์ของหนังกำพร้าที่กลายรูปและเต็มไปด้วยสารโปรตีนแข็ง ๆ ที่เรียกว่าเคอราติน (Keratin) เป็นผิวหนังที่ตายแล้ว ไม่มีเส้นประสาทมาเลี้ยงจึงสามารถตัดได้โดยไม่เจ็บ โดยสังกะสีมีบทบาทสำคัญอยู่ในส่วนของโครงสร้างโปรตีน ครอบคลุมกระบวนการสร้างโปรตีนภายในเซลล์ มีส่วนสำคัญต่อการสร้างเซลล์ใหม่ ช่วยซ่อมแซมเส้นผม เล็บที่อ่อนแอ และผิวหนังให้แข็งแรงมากขึ้น และยังช่วยควบคุมการทำงานของต่อมไขมันบนหนังศีรษะ จึงลดปัญหาการหลุดร่วงของเส้นผม เล็บเปลี่ยนสีหรือเปราะบาง ส่งเสริมให้เซลล์ผิวที่ถูกสร้างขึ้นใหม่มีสุขภาพดี และยังทำหน้าที่เป็นสารต่อต้านอนุมลอิสระที่ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ผิวอีกด้วย

สังกะสี ช่วยลดการอักเสบ ลดการเกิดสิว
นอกจากสังกะสี หรือ ซิงค์ (zinc) จะมีส่วนช่วยในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายแล้ว ยังมีส่วนช่วยลดการอักเสบ และลดการเกิดสิวได้อีกด้วย เพราะสาเหตุของการเกิดสิวหรือการอักเสบของสิวนั้น เกิดจากการกระตุ้นของเชื้อแบคทีเรีย ไขมันและเซลล์ผิวใต้ชั้นผิวหนังที่ตายลง เมื่อร่างกายขาดแร่ธาตุสังกะสีจึงทำให้เกิดการอักเสบได้

สังกะสี ช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพเพศชาย
สังกะสี หรือ ซิงค์ (zinc) ไม่เพียงแต่ช่วยดูแลสุขภาพร่างกายของผู้หญิง แต่สังกะสียังมีส่วนช่วยในการบำรุงดูแลสุขภาพของผู้ชายด้วยเช่นกัน เพราะสังกะสี หรือ ซิงค์ (zinc) จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของระบบสืบพันธุ์ มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างฮอร์โมนเพศชาย ช่วยเพิ่มปริมาณอสุจิหรือสเปิร์ม และช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงานของต่อมลูกหมาก หากร่างกายขาดสังกะสี หรือ ซิงค์ (zinc) ก็อาจมีส่วนทำให้เป็นหมันได้ เนื่องจากน้ำจากต่อมลูกหมากลดลงและส่งผลทำให้การผลิตอสุจิก็ลดลงตามไปด้วย

สังกะสี ช่วยบำรุงดวงตา
มีการวิจัยจากหลายสถาบันเผยแพร่เอาไว้ว่า สังกะสี หรือ ซิงค์ (zinc) มีส่วนช่วยในการลำเลียงสารสำคัญอย่างวิตามินเอจากตับไปสู่ดวงตาได้ ทำให้มีส่วนช่วยในการป้องกันหรือลดการเสื่อมของจอประสาทตา และป้องกันหรือลดความเสี่ยงของการเกิดต้อกระจกได้

สังกะสี ช่วยป้องกันโรคหัวใจ
สังกะสี หรือ ซิงค์ (zinc) ยังมีส่วนช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงการเกิดโรคเรื้อรัง (NCDs) ทั้งหลายได้ เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง น้ำตาลในเลือดสูง เพราะสังกะสี หรือ ซิงค์ (zinc) มีส่วนสำคัญในการลดระดับของไตรกรีเซอไรด์ (Triglyceride) คอเลสเตอรอล (Cholesterol) และช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ที่ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงหรือภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจ หรือโรคเบาหวาน และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ ได้

สังกะสี ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
สังกะสี หรือ ซิงค์ (zinc) ถือเป็นสุดยอดแร่ธาตุเสริมภูมิคุ้มกันและเป็นสารอาหารเสริมภูมิคุ้มกันที่มีช่วยปกป้องเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย มีส่วนช่วยในการเพิ่มจำนวนและประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดขาวชนิดที–เซลล์ (T-Cell) ซึ่งเป็นเซลล์สำคัญชนิดหนึ่งของร่างกายที่มีหน้าที่หลักในการค้นหาเชื้อโรค เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา รวมถึงสารก่อภูมิแพ้ที่เข้าสู่ร่างกายและกำจัดทิ้ง

แต่ร่างกายไม่สามารถผลิตหรือกักเก็บแร่ธาตุสังกะสีไว้ได้ การกินอาหารที่มีแร่ธาตุสังกะสีจำพวก เนื้อสัตว์และเครื่องใน, อาหารทะเล เช่น หอยนางรม, หอยแครง, ไข่และนม และการบริโภคข้าวกล้องแทนข้าวขัดสี และการกินธัญพืชจำพวก งาขาว งาดำ ถั่วลิสง ถั่วแดง ฯลฯ จะทำให้ร่างกายได้รับคุณประโยชน์จากแร่ธาตุสังกะสี และหากได้รับปริมาณแร่ธาตุสังกะสีในจำนวนที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายต่อวันก็จะดีต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก

ที่สำคัญ ควรเลือกกินอาหารที่มีวิตามินเสริมภูมิคุ้มกันเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายหรืออาหารเสริมภูมิคุ้มกันที่มีวิตามินซีและสังกะสี ซิงค์ (zinc) ในทุกวัน ซึ่งเราจะเห็นได้ชัดเจนว่าคุณสมบัติของ วิตามินซีและสังกะสี ซิงค์ (zinc) หากกินร่วมกันแล้ว จะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรงขึ้น และช่วยดูแลฟื้นฟูร่างกายและผิวพรรณให้แลดูอ่อนเยาว์อีกด้วย

และหากคุณไม่แน่ใจว่าอาหารมื้อหลักที่คุณกินในทุกวันนั้นจะมีสารอาหารเสริมภูมิคุ้มกันได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายหรือไม่ การเลือกกินผลิตภัณฑ์วิตามินเสริมภูมิคุ้มกันที่มีวิตามินซีและสังกะสี ซิงค์ (zinc) ก็สามารถช่วยดูแลสุขภาพของคุณได้อีกทาง หรือควรเป็นไปตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร
 

ที่มา
[1] สถาบันวัคซีนแห่งชาติ - National Vaccine Institute
[2] ระบบภูมิคุ้มกัน ทำหน้าที่อย่างไร ในการกำจัดเชื้อก่อโรคในมนุษย์
[3] ระบบภูมิคุ้มกันคืออะไร?
[4] ป่วยบ่อยอาจเพราะไม่ค่อยมีภูมิคุ้มกัน
[5] 5 สัญญาณผิวเตือนภูมิคุ้มกันพัง
[6] ผิวเครียด ปัญหาผิวที่หลายคนอาจไม่รู้
[7] ภูมิคุ้มกัน คือปราการที่มั่น สำคัญสุดท้ายแม้ผ่านพ้นยุค COVID-19 ไปแล้ว
[8] มลพิษในอากาศกับปัญหาสุขภาพ
[9] ต้องกินใยอาหารมากแค่ไหนถึงจะพอ (ต่อ) ใจ?
[10] อยากเสริมภูมิคุ้มกันด้วยอาหาร ต้องกินอะไรให้ได้ประไยชน์เต็มๆ
[11] หลักวิทยาภูมิคุ้มกัน / กาญจนา อู่สุวรรณทิม / สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร
[12] โพรไบโอติกส์ (Probiotics) และพรีไบโอติกส์ (Prebiotics) สองคำนี้เหมือนกันหรือไม่?
[13] วิตามินซี / อาหารเสริมภูมิคุ้มกัน ในช่วงการแพร่ระบาด COVID-19
[14] ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ. 2563 สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
[15] ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย / สำนักโภชนาการ / กรมอนามัย
[16] รายงานการศึกษาวิจัยปี 2553 / ปริมาณแมกนีเซียมและสังกะสีในอาหาร / กลุ่มวิจัยอาหารเพื่อโภชนาการ สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
[17] ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย / สำนักโภชนาการ / กรมอนามัย
แชทผ่านไลน์ @Liveandfit