สมัครสมาชิก / เข้าสู่ระบบ
หรือ
หากคุณยังไม่ได้เป็นสมาชิกกับเรา !
การดำเนินการต่อถือว่าคุณยอมรับ
ข้อกำหนดและเงื่อนไข และ นโยบายความเป็นส่วนตัว
เราอาจส่งข่าวสารให้ท่าน ท่านสามารถปิดการรับข่าวสาร
ได้โดยเปลี่ยนการตั้งค่าในบัญชีของท่าน
เราจะไม่ส่งข่าวสารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากท่าน
สมัครสมาชิก / เข้าสู่ระบบ
หากคุณยังไม่ได้เป็นสมาชิกกับเรา !
หรือเข้าสู่ระบบด้วย
หรือ
สั่งซื้อทันทีโดยไม่สมัครสมาชิก
การดำเนินการต่อถือว่าคุณยอมรับ
ข้อกำหนดและเงื่อนไข และ นโยบายความเป็นส่วนตัว
เราอาจส่งข่าวสารให้ท่าน ท่านสามารถปิดการรับข่าวสาร
ได้โดยเปลี่ยนการตั้งค่าในบัญชีของท่าน
เราจะไม่ส่งข่าวสารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากท่าน
ตะกร้าสินค้า
รายการสินค้าที่สั่งซื้อ
ยังไม่มีคำสั่งซื้อ
แนะนำสำหรับคุณ
PRODUCTS
CUSTOMER SERVICE
ABOUT US
PROMOTION
REWARDS
HELPING
สายสุขภาพ ฉลาดอ่านฉลากโภชนาการ เลือกอาหารเพื่อสุขภาพดี
สายสุขภาพ ฉลาดอ่านฉลากโภชนาการ เลือกอาหารเพื่อสุขภาพดี
           
ปัจจุบันปัญหาสุขภาพส่วนใหญ่เกิดจากโภชนาการที่ไม่ดีอันนำไปสู่การเกิดโรคภัยต่าง ๆ อย่างโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ฯลฯ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ระดับประเทศสู่การเกิดนโยบายลด หวาน มัน เค็ม ของกระทรวงสาธารณสุข จากนั้นสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ต่อยอดการแสดงฉลากโภชนาการที่มีความสำคัญแต่มีรายละเอียดของข้อมูลค่อนข้างมาก อาจอ่านเข้าใจได้ยาก ตัวอักษรมีขนาดเล็ก ทำให้เห็นข้อมูลทางโภชนาการได้ไม่ชัดเจน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จึงได้จัดทำรูปแบบของข้อมูลทางโภชนาการที่แสดงค่าพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียม ต่อหนึ่งหน่วยบรรจุภัณฑ์ บนด้านหน้าของฉลากที่เรียกว่า ฉลากโภชนาการแบบจีดีเอ (Guideline Daily Amounts)

แต่ฉลากโภชนาการมีหลายแบบ บางคนอาจไม่ทราบวิธีอ่านฉลากที่ถูกต้อง LiveandFit จึงขอแนะนำให้รู้จักฉลากโภชนาการทุกรูปแบบ และความหมายของคำหรือตัวเลขต่าง ๆ ที่ปรากฎบนฉลากโภชนาการ เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ หรือมีความฉลาดในการอ่านฉลากโภชนาการ ตัดสินใจเลือกซื้ออาหารเพื่อสุขภาพดีจริง ๆ

การอ่านฉลากโภชนาการอย่าเลื่อนผ่าน เพื่อให้ได้อาหารเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น
ฉลากโภชนาการ คือฉลากที่ติดอยู่บนบรรจุภัณฑ์ ซึ่งมีการแสดงข้อมูลโภชนาการที่เป็นประโยชน์ มีการระบุชนิดและปริมาณของสารสำคัญในอาหารที่มีอยู่ในอาหารหรือเครื่องดื่มนั้น ๆ โดยอยู่ในรูปแบบของกรอบสี่เหลี่ยม เรียกว่า “กรอบข้อมูลโภชนาการ” หรือเรียกว่า ฉลากโภชนาการแบบเต็ม  ฉลากโภชนาการแบบย่อ และข้อมูลโภชนาการแบบแท่ง เรียกว่า ฉลากโภชนาการแบบ GDA-จีดีเอ

1. ฉลากโภชนาการเต็มรูปแบบ         
เป็นฉลากโภชนาการที่บ่งบอกหรือแสดงชนิดของสารอาหาร และปริมาณของสารสำคัญในอาหาร ที่ผู้บริโภคควรรู้ 15 รายการ ได้แก่ พลังงานทั้งหมด เป็นกิโลแคลอรี (พลังงานจากไขมัน เป็นกิโลแคลอรี), ไขมันทั้งหมด, ไขมันอิ่มตัว, โคเลสเตอรอล, โปรตีน, คาร์โบไฮเดรตทั้งหมด, ใยอาหาร, น้ำตาล, โซเดียม, วิตามินเอ, วิตามินบี1, วิตามินบี2 (อาจจะมี วิตามินบี6) , แคลเซียม, และธาตุเหล็ก หรืออาจมีสารสำคัญอื่น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นกรอบตารางข้อมูลโภชนาการแนวตั้ง และมักปรากฏอยู่ด้านข้างหรือด้านหลังของบรรจุภัณฑ์ แต่หากบรรจุภัณฑ์ชนิดนั้นมีความสูงจำกัด ก็สามารถแสดงฉลากโภชนาการแบบเต็มรูปแบบ (แนวนอน) ตามเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณะสุขกำหนดไว้ ได้เช่นกัน



2. ฉลากโภชนาการแบบย่อ
คือฉลากโภชนาการที่มีสารสำคัญในอาหารตั้งแต่ 8 รายการ จาก 15 รายการสารอาหารที่กำหนดไว้นั้น มีปริมาณน้อยมาก หรือเท่ากับศูนย์ ทำให้ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องแสดงสารอาหารนั้นแบบเต็มรูปแบบ ทำให้มีการจัดทำฉลากโภชนาการแบบย่อขึ้น สำหรับอยู่ด้านข้างหรือด้านหลังของบรรจุภัณฑ์


         
3. ฉลากโภชนาการแบบจีดีเอ (Guideline Daily Amounts: GDA)
เนื่องจากฉลากโภชนาการเต็มรูปแบบ และฉลากโภชนาการแบบย่อ นั้นมีรายละเอียดค่อนข้างมาก อีกทั้งยังมีขนาดตัวอักษรที่เล็ก อาจจะอ่านหรือทำความเข้าใจได้ยาก และมีส่วนทำให้มองเห็นข้อมูลไม่ชัดเจน จึงได้มีการแก้ไขปรับปรุงฉลากโภชนาการให้อ่านเข้าใจง่ายขึ้นและเห็นได้ชัดเจนขึ้น โดยนำค่าพลังงานของสารอาหารที่มีผลกระทบต่อสุขภาพมาแสดงเพิ่มเติมบนฉลากโภชนาการ ฉลากโภชนาการแบบจีดีเอนั้นส่วนใหญ่จะปรากฏอยู่ในส่วนด้านหน้าของบรรจุภัณฑ์



อาหารที่ต้องแสดงฉลากโภชนาการแบบจีดีเอ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 374) พ.ศ. 2559 เรื่อง อาหารที่ต้องแสดงฉลากโภชนาการ และค่าพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียม แบบ GDA มีดังนี้
  • อาหารขบเคี้ยว ได้แก่ มันฝรั่งทอดหรือมันฝรั่งอบกรอบ ข้าวโพดคั่วทอดหรือข้าวโพดอบกรอบ ข้าวเกรียบทอด หรือข้าวเกรียบอบกรอบ หรืออาหารขบเคี้ยวชนิดอบพอง ถั่วทอด หรือถั่วเคลือบปรุงรส อบกรอบ อบเกลือ, สาหร่ายทอดหรือสาหร่ายอบกรอบ หรือสาหร่ายเคลือบปรุงรสและปลาเส้นทอด อบกรอบหรือปรุงรส เป็นต้น
  • ผลิตภัณฑ์ขนมอบ ได้แก่ ขนมปังกรอบ หรือแครกเกอร์ หรือบิสกิต เวเฟอร์สอดไส้ คุกกี้ เค้ก พาย เบเกอรี่เพสตรี้ ทั้งชนิดที่มีและไม่มีไส้
  • ช็อกโกแลต และผลิตภัณฑ์อาหารที่คล้ายกัน
  • อาหารกึ่งสําเร็จรูป ได้แก่ ก๋วยเตี๋ยว เส้นหมี่ บะหมี่ กวยจั๊บ และวุ้นเส้น ไม่ว่าจะมีการปรุงแต่งหรือไม่ปรุงแต่งก็ตาม ข้าวต้มและโจ๊กที่ปรุงแต่ง ซองเครื่องปรุง
  • อาหารมื้อหลัก เช่น อาหารจานเดียวที่ต้องเก็บรักษาไว้ในตู้เย็น หรือตู้แช่แข็งตลอดระยะเวลาจําหน่าย

ประโยชน์ที่ได้จากการอ่านฉลากโภชนาการ
  1. ฉลากโภชนาการช่วยให้ผู้บริโภคได้เลือกอาหารเพื่อสุขภาพ ที่เหมาะสมและตอบโจทย์กับความต้องการของตัวเองได้ เช่น หากต้องการดูแลสุขภาพและคุมนํ้าหนัก ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีค่าพลังงาน นํ้าตาล และไขมันน้อย
  2. ฉลากโภชนาการช่วยให้ผู้บริโภคที่ต้องการจํากัดการบริโภค หรือ หลีกเลี่ยงสารอาหารที่ไม่ต้องการ เช่น ผู้ที่มีค่าไตสูง ก็อาจเลือกอาหารที่มีโซเดียมต่ำได้อย่างถูกต้อง เป็นต้น
  3. ฉลากโภชนาการช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเปรียบเทียบ หรือเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ในกลุ่มอาหารชนิดเดียวกัน โดยสามารถเลือกยี่ห้อที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ดีกว่าได้
  4. ฉลากโภชนาการส่งเสริมการกินอาหารเพื่อสุขภาพ เพราะบรรจุภัณฑ์อาหารหลากหลายขนาด ไม่ได้ผลิตมาให้กินหมดภายในครั้งเดียว และฉลากโภชนาการก็คือตัวที่จะบอกให้ผู้บริโภคสามารถจำกัดการรับประทานได้อย่างถูกต้อง มีส่วนช่วยส่งเสริมการสร้างสุขภาพที่ดีได้
  5. ฉลากโภชนาการชี้ให้เห็นว่ามีอาหารเพื่อสุขภาพเยอะขึ้น เพราะเมื่อทุกคนเริ่มเข้าใจและอ่านฉลากโภชนาการได้อย่างถูกต้อง ก็จะทำให้ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารกระตือรือร้นที่จะพัฒนาสินค้าของตัวเองให้มีคุณค่าทางโภชนาการที่ดีมากขึ้น เพื่อต่อสู้กับแบรนด์คู่แข่งในกลุ่มอาหารเดียวกัน

การอ่านฉลากโภชนาการแบบง่าย ๆ
วิธีการอ่านฉลากโภชนาการให้เป็น นั้นมีวิธีการแบ่งอ่านฉลากโภชนาการเต็มรูปแบบ และฉลากโภชนาการแบบย่อ ที่มีความคล้ายคลึงใกล้เคียงกันกับการอ่านฉลากโภชนาการแบบจีดีเอ ดังนี้



วิธีการอ่านฉลากโภชนาการเต็มรูปแบบ และวิธีการอ่านฉลากโภชนาการแบบย่อ



ตัวอย่างการอ่านฉลากโภชนาการ



1. หน่วยบริโภค เป็นสิ่งสำคัญที่ควรอ่านเป็นลำดับแรก เนื่องจากในส่วนของหน่วยบริโภคนี้ หมายถึงปริมาณที่แนะนำให้ผู้บริโภครับประทานในแต่ละครั้ง (จากภาพคือ แนะนำให้รับประทานครั้งละ 1 ซอง) เพื่อที่จะได้รับสารอาหารในปริมาณที่ระบุไว้ในส่วนที่ 3

โดยจะพ่วงมาด้วย จำนวนหน่วยบริโภคต่อภาชนะบรรจุ (ถุง) หมายถึงผลิตภัณฑ์นี้อาจมีการแบ่งชงดื่มได้หลายครั้ง (จากภาพคือ ผลิตภัณฑ์นี้สามารถแบ่งชงดื่มได้ 10 ครั้ง หรือ 10 ซอง) และหากชงดื่มผลิตภัณฑ์นี้หมดในครั้งเดียว คุณค่าทางโภชนาการที่จะได้รับก็จะเพิ่มมากขึ้นเท่ากับจำนวนหน่วยบริโภคนั้น (จากภาพคือ ถ้าชงดื่มผลิตภัณฑ์นี้หมดในครั้งเดียว จะได้รับปริมาณสารอาหารเป็น 10 เท่า ของปริมาณที่แสดงในส่วนที่ 3)

ตัวอย่าง การคำนวณจากภาพ เช่น หากชงดื่มผลิตภัณฑ์นี้ภายในครั้งเดียวหมด

จะได้รับใยอาหาร จากปริมาณใยอาหารในฉลากโภชนาการ หนึ่งหน่วยบริโภค (4 กรัม ต่อซอง) คูณกับ จำนวนหน่วยบริโภค (10 ซอง ต่อถุง) หรือเท่ากับ 4 กรัมต่อซอง x 10 ซอง = 40 กรัม
หรือได้รับใยอาหารเทียบเท่า 160% ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน โดยได้มาจากค่าร้อยละของปริมาณใยอาหารที่แนะนำต่อวัน คูณกับจำนวนหน่วยบริโภค เท่ากับ 16% ต่อซอง x 10 ซอง = 160%

ทั้งนี้ หากจำนวนหน่วยบริโภคเท่ากับ 1 ซองเล็ก หมายถึง หากชงดื่มผลิตภัณฑ์นี้หมดภายในครั้งเดียว คุณค่าทางโภชนาการที่ได้รับ จะเท่ากับค่าที่แสดงในส่วนที่ 3

2. พลังงานต่อหนึ่งหน่วยบริโภค หมายถึง พลังงาน (แคลอรี่) ที่ร่างกายจะได้รับเมื่อชงดื่มผลิตภัณฑ์นี้ในปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภค (จากภาพคือ หากชงเครื่องดื่มหรือผลิตภัณฑ์นี้หนึ่งหน่วยบริโภค หรือเท่ากับ 1 ซอง และเทียบเท่ากับ 9 กรัม หมายถึงจะได้รับพลังงาน 35 กิโลแคลอรี)

ยกตัวอย่างการคำนวณจากภาพ เช่น หากชงดื่มผลิตภัณฑ์นี้หมดภายในครั้งเดียว จะได้รับพลังงานทั้งหมด 350 กิโลแคลอรี โดยได้มาจากค่าพลังงานหนึ่งหน่วยบริโภค คือ 35 กิโลแคลอรี คูณกับ จำนวนหน่วยบริโภคใน 1 ถุง คือ 10 ซอง (35 x 10) = 350 กิโลแคลอรี

3. ร้อยละของปริมาณที่แนะนำคุณค่าทางโภชนาการต่อวัน หมายถึง สารอาหารที่ได้รับจากการบริโภคแต่ละครั้งนั้น คิดเป็นสัดส่วนเท่าใดของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน (Thai RDI)* รวมทั้งแสดงปริมาณสารอาหารในหน่วยกรัมหรือมิลลิกรัมด้วย (จากภาพคือ หากชงดื่มผลิตภัณฑ์นี้หนึ่งหน่วยบริโภคหรือเท่ากับ 1 ซอง จะได้รับ ใยอาหาร 4 กรัม เท่ากับ 16% ของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน (Thai RDI) ที่แนะนำให้คนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป รับประทาน ใยอาหาร 25 กรัมต่อวัน)

4. Thai RDI (Thai Recommended Daily Intakes) คือ ปริมาณสารสำคัญในอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวันสำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป (Thai RDI) โดยคิดจากความต้องการพลังงาน วันละ 2,000 กิโลแคลอรี (ปรากฏอยู่ในฉลากโภชนาการ แบบเต็ม) โดยมีเกณฑ์มาตรฐาน ดังนี้
  • ไขมันทั้งหมด น้อยกว่า 65 กรัม
  • ไขมันอิ่มตัว น้อยกว่า 20 กรัม
  • โคเลสเตอรอล น้อยกว่า 300 มิลลิกรัม
  • คาร์บไฮเดรตทั้งหมด 300 กรัม
  • ใยอาหาร 25 กรัม
  • โซเดียม น้อยกว่า 2,400 มิลลิกรัม

การอ่านฉลากโภชนาการแบบ GDA-จีดีเอ (Guideline Daily Amounts)


         
ฉลากโภชนาการแบบจีดีเอ (GDA) หรือฉลากหวานมันเค็มที่มีการแสดงค่าของ พลังงาน น้ำตาล ไขมัน โซเดียม ต่อหนึ่งหน่วยบรรจุภัณฑ์ (กล่อง ห่อ ซอง) ของผลิตภัณฑ์อาหาร ที่ฉลากด้านหน้าบรรจุภัณฑ์

สิ่งที่อยู่บนฉลากโภชนาการแบบจีดีเอ มีดังนี้
  1. คุณค่าทางโภชนาการต่อ… แสดงปริมาณที่เข้าใจง่ายของหนึ่งหน่วยบรรจุภัณฑ์ เช่น 1 ซอง, 1 ซองเล็ก, 1 กล่อง, 1 ถุง เป็นต้น
  2. ควรแบ่งกิน…ครั้ง บอกถึงปริมาณที่เหมาะสมในการรับประทานแต่ละครั้ง หรือ จำนวนครั้งที่แนะนำให้รับประทาน เพราะบางที ขนม 1 ซอง อาจจะรับประทานได้หลายครั้ง ไม่ต้องทานหมดในครั้งเดียวก็ได้ ซึ่งคำนวณได้จากปริมาณหนึ่งหน่วยบรรจุภัณฑ์ หารด้วยหนึ่งหน่วยบริโภค ทั้งนี้หากผลิตภัณฑ์มีปริมาณเท่ากับหรือน้อยกว่า 1 หน่วยบริโภค หรือรับประทานได้ 1 ครั้ง ไม่ต้องแสดงข้อความ “ควรแบ่งกิน…ครั้ง”
  3. ค่าพลังงาน (กิโลแคลอรี), น้ำตาล (กรัม), ไขมัน (กรัม), และโซเดียม (มิลลิกรัม), ที่ร่างกายจะได้รับ เมื่อรับประทานผลิตภัณฑ์นี้ให้หมดภายในครั้งเดียว (เป็นปริมาณสารอาหารของทั้งบรรจุภัณฑ์)
  4. บอกถึงว่า เมื่อบริโภคทั้งหมด จะได้รับพลังงาน น้ำตาล ไขมัน โซเดียม คิดเป็นกี่เปอร์เซ็นของปริมาณที่แนะนำให้รับประทานในแต่ละวัน 

ค่าร้อยละของพลังงาน น้ำตาล ไขมัน โซเดียม เมื่อเทียบกับปริมาณสูงสุดที่บริโภคได้ต่อวัน ดังนี้

  • ค่าพลังงาน คิดเป็นร้อยละของพลังงาน 2,000 กิโลแคลอรี (จากภาพคือ ค่าพลังงาน 2% เท่ากับ หากชงดื่มผลิตภัณฑ์นี้หนึ่งหน่วยบริโภคหรือเท่ากับ 1 ซอง จะได้รับ ค่าพลังงาน 35 กิโลแคลอรี จากค่าพลังงานที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน (Thai RDI) ที่แนะนำให้คนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป คือ พลังงาน 2,000 กิโลแคลอรี่)
  • ค่าน้ำตาล คิดเป็นร้อยละของน้ำตาล 65 กรัม
  • ค่าไขมัน คิดเป็นร้อยละของไขมัน 65 กรัม
  • ค่าโซเดียม คิดเป็นร้อยละของโซเดียม 2,400 มิลลิกรัม
จากข้อมูลข้างต้น เมื่อผู้บริโภคได้เรียนรู้และสามารถอ่านฉลากโภชนาการได้อย่างเข้าใจแล้วนั้น ก็จะสามารถนำข้อมูลมาใช้เพื่อตัดสนใจเลือกซื้ออาหารที่เหมาะสมต่อสุขภาพได้

รู้หรือไม่ ว่ามี 4 สุดสำคัญที่ต้องเช็กฉลากข้อมูลโภชนาการก่อนซื้อ



อ่านฉลากโภชนาการด้วยความเข้าใจเพื่อสร้างสุขภาพที่ดี
  • เปอร์เซ็นต์สารอาหาร บนฉลากโภชนาการ อ้างอิงจากผู้ที่ต้องการปริมาณพลังงานไม่เกิน 2,000 กิโลแคลอรี แต่ในความเป็นจริง ความต้องการพลังงานของแต่ละคนนั้นต่างกัน ขึ้นอยู่กับเพศ อายุ และกิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน
  • ปริมาณสารอาหาร 0 กรัม อาจไม่ได้หมายความว่าผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ไม่มีสารอาหารนั้นอยู่เลย เพียงแต่กฎหมายกำหนดว่า ถ้าสารอาหารไหนน้อยกว่า 0.5 กรัม ต่อหน่วยบริโภค สามารถระบุเป็น 0 กรัมได้ ดังนั้นคำว่า น้ำตาล 0 กรัม ก็อาจจะมีน้ำตาลแอบแฝงอยู่ก็เป็นได้
  • คำโฆษณาชวนเชื่อ อย่างไม่มีน้ำตาลหรือไขมันต่ำ ก็ไม่ได้หมายความว่าผลิตภัณฑ์นั้น ๆ จะดีต่อสุขภาพเสมอไป เพราะอาจจะมีสารอาหารไม่ดีอื่น ๆ แอบแฝงตัวอยู่ ดังนั้นการอ่านฉลากโภชนาการ จึงเป็นสิ่งสำคัญ ช่วยให้ไม่โดนหลอก และได้เลือกอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับคุณนั่นเอง
และที่กล่าวมานี้คือวิธีการอ่านฉลากโภชนาการก่อนเลือกซื้อ พร้อมข้อมูลโภชนาการที่คนเราต้องการในแต่ละวัน ซึ่งน่าจะช่วยให้ทุกคนเข้าใจและอ่านฉลากโภชนาการได้อย่างถูกต้องมากขึ้น และหากใครกำลังสนใจผลิตภัณฑ์อาหารดี ๆ ที่มีคุณภาพและมาพร้อมข้อมูลโภชนาการที่ครบครัน ก็สามารถซื้อสินค้าจาก LiveandFit ที่มีให้เลือกช้อปสำหรับไลฟ์สไตล์ของแต่ละคน อยู่ที่ไหนก็ช้อปง่าย LiveandFitShop เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ
 
ที่มา
[1] FDA How to Understand and Use the Nutrition Facts Label
[2] คู่มือรณรงค์ให้ความรู้เรื่องฉลากโภชนาการ แบบ จีดีเอ (GDA) ฉบับ อสม. และประชาชน โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
[3
ฉลากโภชนาการแบบ GDA อ่านง่ายได้ประโยชน์
[4] กองอาหาร  FOOD DIVISION / อย.

[5ฉลากโภชนาการ คืออะไร? คู่มือสอนอ่านฉลาก เข้าใจง่าย / hdmall blog
[6] รู้จักแคลอรี่ / Self-Monitoring
แชทผ่านไลน์ @Liveandfit