สมัครสมาชิก / เข้าสู่ระบบ
หรือ
หากคุณยังไม่ได้เป็นสมาชิกกับเรา !
การดำเนินการต่อถือว่าคุณยอมรับ
ข้อกำหนดและเงื่อนไข และ นโยบายความเป็นส่วนตัว
เราอาจส่งข่าวสารให้ท่าน ท่านสามารถปิดการรับข่าวสาร
ได้โดยเปลี่ยนการตั้งค่าในบัญชีของท่าน
เราจะไม่ส่งข่าวสารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากท่าน
สมัครสมาชิก / เข้าสู่ระบบ
หากคุณยังไม่ได้เป็นสมาชิกกับเรา !
หรือเข้าสู่ระบบด้วย
หรือ
สั่งซื้อทันทีโดยไม่สมัครสมาชิก
การดำเนินการต่อถือว่าคุณยอมรับ
ข้อกำหนดและเงื่อนไข และ นโยบายความเป็นส่วนตัว
เราอาจส่งข่าวสารให้ท่าน ท่านสามารถปิดการรับข่าวสาร
ได้โดยเปลี่ยนการตั้งค่าในบัญชีของท่าน
เราจะไม่ส่งข่าวสารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากท่าน
ตะกร้าสินค้า
รายการสินค้าที่สั่งซื้อ
ยังไม่มีคำสั่งซื้อ
แนะนำสำหรับคุณ
PRODUCTS
CUSTOMER SERVICE
ABOUT US
PROMOTION
REWARDS
HELPING
สัญญาณอันตราย บอกภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
สัญญาณอันตราย บอกภาวะน้ำตาลในเลือดสูง

ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เป็นศัพท์ทางการแพทย์สำหรับภาวะที่ระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดเพิ่มสูงขึ้นกว่าระดับปกติ ซึ่งเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน และบางครั้ง ภาวะนี้อาจส่งผลต่อผู้ที่ไม่เป็นโรคเบาหวานได้เช่นกัน แต่คนเหล่านั้นมักจะป่วยหนัก เช่น ผู้ที่เพิ่งเป็นโรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือมีการติดเชื้อรุนแรง อีกทั้งภาวะนี้อาจไม่ก่อให้เกิดอาการใด ๆ หรืออาจก่อให้เกิดอาการรุนแรงจนนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่สามารถคุกคามต่อชีวิตได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานานหลายเดือน หรือหลายปี อาจส่งผลต่อความเสียหายถาวรของร่างกาย เช่น ดวงตา เส้นประสาท หน่วยไต และหลอดเลือด

น้ำตาลในเลือดสูง มักไม่มีอาการบ่งบอกในช่วงแรก แต่เริ่มสังเกตเห็นความผิดปกติได้เมื่อระดับน้ำตาลสูงเกิน 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป อาจใช้เวลาหลายวันไปจนถึงหลายสัปดาห์ จึงจะแสดงอาการอย่างค่อยเป็นค่อยไป และอาการของภาวะน้ำตาลในเลือดสูงที่พบได้บ่อย มีดังนี้

อาการในช่วงเริ่มต้น

◾ ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะในช่วงกลางคืน ◾ มองเห็นไม่ชัด ◾ กระหายน้ำมาก ◾ ปวดศีรษะ ◾ เหนื่อยง่าย


อาการของผู้ที่ระดับน้ำตาลสูงขึ้น และไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีอาจเกิดภาวะเลือดเป็นกรดจากการสะสมของสารคีโตน (Ketones) ซึ่งเป็นของเสียในเลือดและปัสสาวะ ทำให้มีอาการอื่น ๆ ตามมา เช่น

◾ ลมหายใจมีกลิ่นคล้ายผลไม้ ◾ หายใจสั้น ◾ ปากแห้ง ◾ คลื่นไส้ อาเจียน ◾ ปวดท้อง

◾ อ่อนเพลีย ◾ น้ำหนักลด ◾ รู้สึกสับสน ◾ แผลหายช้ากว่าปกติ ◾ ติดเชื้อบริเวณช่องคลอดหรือผิวหนัง ◾ ในรายที่อาการรุนแรงอาจเป็นลม หมดสติ

◾ เส้นประสาทเสียหาย ส่งผลให้มีอาการเท้าเย็นจนปวดหรือไม่มีความรู้สึก ขนขาล่วง หรือหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

◾ มีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหารและลำไส้ เช่น ท้องผูกหรือท้องเสียเรื้อรัง

◾ มีปัญหาเกี่ยวกับดวงตา หลอดเลือด หรือไต

ควรดูแลตัวเองอย่างไรเมื่ออยู่ในภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
เพราะระดับน้ำตาลในเลือด เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา การป้องกันหรือการดูแลตัวเองที่ดีจึงอยู่ที่ความใส่ใจในเรื่องการรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงหรือลดปริมาณการกินหวาน หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ส่วนผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือเป็นโรคเบาหวานนั้น ควรตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ หลีกเลี่ยงน้ำตาลหรือเลือกใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล รับประทานยาและไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ และหากพบความผิดปกติของระดับน้ำตาลในเลือด ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการควบคุมหรือป้องกันอาการไม่ให้หนักขึ้น นะคะ
แชทผ่านไลน์ @Liveandfit