อวัยวะทุกส่วนในร่างกายล้วนสำคัญ แต่หากไม่มีดวงตาคู่งาม โลกใบนี้คงมีแต่กลางคืนหรือความมืดมิด เพราะการลืมตาเพื่อมองเห็น ถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญต่อการใช้ชีวิตที่ควรดูแลรักษาดวงตาให้คงสภาพดีอยู่เสมอ แต่ดวงตามีความละเอียดอ่อน เปราะบาง และเสี่ยงต่อการเสื่อมสภาพจากหลายปัจจัย
โดยปกติแล้วตอนอายุยังน้อย จอประสาทตาทำหน้าที่รับภาพได้ดี แต่
พออายุเริ่มเข้าวัย 40 ปี และต่อจากนั้นทุกปี จอประสาทตาจะเริ่มเกิดภาวะเซลล์เสื่อมในส่วนของเซลล์รับภาพของดวงตาหรือถูกทำลายไปเอง ในบางคนเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม หรือโรคจุดรับภาพเสื่อม (Age – Related Macular Degeneration : AMD) เกิดจากการเสื่อมตามอายุ ในอัตราที่ไม่สม่ำเสมอ ขึ้นอยู่กับรูปแบบกิจกรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน ทั้งการทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ การติดโทรศัพท์มือถือ การพบเจอมลภาวะจำพวก ฝุ่น ควัน ความร้อนและแสงแดด
ยิ่งในปัจจุบันนี้ดวงตาของเรามีความเสี่ยงต่อการเสื่อมสภาพจากการทำงานมากขึ้น เช่น การอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน การอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ที่แทบจะเกินครึ่งหนึ่งของชีวิต รวมไปถึงพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ที่ทำให้ดวงตาต้องสัมผัสกับ Blue Light หรือ แสงสีฟ้า คลื่นพลังงานที่มากับแสงจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และมีพลังงานสูงใกล้เคียงกับรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ที่มีส่วนในการทำลายเซลล์รับแสงในดวงตา ตั้งแต่กระจกตา เลนส์ตา จอประสาทตา อีกทั้งยังพบว่า โรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม หรือ "ซีวีเอส" (Computer Vision Syndrome : CVS) กลายเป็นโรคยอดฮิตของคนยุคดิจิทัลไปแล้ว
แสงสีฟ้า มีส่วนทำให้เกิดปัญหาภาวะตาอ่อนล้า (Digital Eye Strain) จะมีอาการปวดตา, ตาเบลอ, ตาแห้ง, แสบตา, เคืองตา, ตาแพ้แสง ไปจนถึงจอประสาทตาเสื่อม อันเป็นกลไกสำคัญของการมองเห็น แต่มีงานวิจัยทางการแพทย์พบว่า การสัมผัสกับแสงสีฟ้าเป็นเวลานาน อาจทำให้เซลล์ต่าง ๆ ในดวงตาถูกทำลาย เนื่องจากคลื่นแสงพลังงานสูงเหนี่ยวนำให้เกิดการสร้างอนุมูลอิสระ (Free Radical) ในเซลล์ของจอประสาทตา ทำให้เซลล์ค่อย ๆ เสื่อมลง ส่งผลให้เป็นโรคจอประสาทตาเสื่อม ซึ่งในผู้หญิงจะมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชาย
ที่สำคัญ ยังไม่มีวิธีรักษาโรคจอประสาทตาเสื่อมให้หายขาด แต่สามารถดูแลรัษาเพื่อชะลอการเกิดภาวะเซลล์เสื่อมหรือเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมช้าที่สุด ให้สามารถใช้งานดวงตาได้นานขึ้น ด้วยการตรวจเช็กสุขภาพตาเป็นประจำโดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป และหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่มีแสงแดดนาน ๆ งดสูบบุหรี่ ควบคุมเบาหวาน ออกกำลังกาย และกินอาหารหลากหลายครบ 5 หมู่ ในสัดส่วนที่เหมาะสมเป็นประจำ ควรมีอาหารที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระและวิตามินบำรุงสายตาต่าง ๆ จำพวก ผลไม้ ผักใบเขียว หรือ
กินผลิตภัณฑ์อาหารเสริมบำรุงสายตาจำพวกสารอาหารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (ลูทีน, ซีแซนทีน, มีโซ-ซีแซนทีน), สารอาหารในกลุ่มแอนโทไซยานิน และวิตามินบำรุงสายตาจำพวก วิตามินเอ วิตามินบี2 วิตามินซี ฯลฯ
ทำไมต้องกินอาหารเสริมบำรุงสายตา ที่มี...สารอาหารกลุ่มแคโรทีนอยด์
เพราะ ลูทีน (Lutein), ซีแซนทิน (Zeaxanthin), มีโซ-ซีแซนทีน (Meso-zeaxanthin) จัดว่าเป็นสารสำคัญในกลุ่มแคโรทีนอยด์ที่มีอยู่ในจอประสาทตาของคน ทำหน้าที่กรองแสงและป้องกันดวงตาจากแสงแดดหรือรังสีอัลตราไวโอเลต โดยมีผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่บ่งชี้ได้ว่า
ปริมาณของลูทีน (Lutein), ซีแซนทิน (Zeaxanthin), มีโซ-ซีแซนทีน (Meso-zeaxanthin) ในดวงตามีผลต่อประสิทธิภาพการมองเห็นของคนเรา
ลูทีน (Lutein) สารสำคัญในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (Carotenoids) ที่พบในดวงตาของคน อยู่ด้านข้างของจุดรับภาพ (peripheral macula) ช่วยกรองแสงสีฟ้าที่มีอยู่ทั่วไปรอบตัวเรา ทั้งจากแสงแดด แสงจากโทรทัศน์ แสงจากจอคอมพิวเตอร์แสงจากหลอดไฟ ซึ่งเป็นแสงที่หลีกเลี่ยงได้ยากและเป็นอันตรายต่อจอประสาทตา นอกจากนี้ ลูทีนยังทำหน้าที่เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระในดวงตาของคนเราอีกด้วย เพราะในดวงตาจะมีสารอนุมูลอิสระอยู่เป็นจำนวนมากที่เป็นตัวทำลายเซลล์รับภาพ และทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับจอประสาทตาได้
ซีแซนทีน (Zeaxanthin) เป็นสารแคโรทีนอยด์ (Carotenoids) ที่พบในใจกลางของด้านข้างของจุดรับภาพ (mid-peripheral macula) ทำหน้าที่กรองแสงที่จะผ่านเข้าสู่จอตา และช่วยลดการสะท้อนของแสง ป้องกันรังสียูวีจากแสงแดดที่เป็นอันตรายต่อดวงตา ทำให้มีคุณสมบัติช่วยป้องกันโรคหลายชนิด เช่น โรคต้อกระจก โรคจอรับภาพเสื่อม โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น
มีโซ-ซีแซนทีน (Meso-zeaxanthin) เป็นสารแคโรทีนอยด์ (Carotenoids) ที่พบในส่วนกลางของจุดรับภาพ (epicenter macula) ที่มีส่วนช่วยลดการเกิดอนุมูลอิสระ ลดโอกาสเกิดโรคจุดภาพชัดที่จอตาเสื่อม (Macular Degeneration) ซึ่งเกิดขึ้นตามวัย และยังช่วยกรองแสงสีฟ้าในจอตาได้อีกด้วย ซึ่งจากผลการศึกษาวิจัยพบว่า มีโซ-ซีแซนทีน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพมาก โดย มีโซ-ซีแซนทีนต้องสังเคราะห์ขึ้นมาจากจากลูทีน หรือพบเจอในอาหารบางชนิดแต่มีในปริมาณที่น้อยมาก เช่น พบเจอมีโซ-ซีแซนทีนในหนังปลา กระดองกุ้ง และไขมันเต่าทะเลเท่านั้น
ซึ่งจากปัจจัยต่าง ๆ ที่มีส่วนในการทำร้ายดวงตาและการสัมผัสกับแสงสีฟ้าเป็นเวลานาน มีส่วนทำให้เซลล์ต่าง ๆ ในดวงตาถูกทำลาย ทำให้ภาวะของระดับแคโรทีนอยด์ต่ำ (ปริมาณของลูทีน (Lutein), ซีแซนทิน (Zeaxanthin), มีโซ-ซีแซนทีน (Meso-zeaxanthin) ในดวงตาลดลง) และมีความเสี่ยงสูงมากต่อการเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อม การเลือกอาหารเสริมบำรุงสายตา ที่มีสารอาหารในกลุ่มแคโรทีนอยด์จึงเป็นสิ่งจำเป็น และโภชนาการที่เข้าถึงระดับเซลล์ในแต่ละช่วงวัยแบบเฉพาะเจาะจงในรูปแบบผลิตภัณฑ์อาหารเสริมบำรุงสายตา ที่มีการค้นพบสารพฤกษเคมีกลุ่มสารอาหารแคโรทีนอยด์ในดอกดาวเรือง และมีการพัฒนาสูตรสู่การเป็นสารสกัดดอกดาวเรือง สารอาหารเสริมสร้างร่างกาย โดยถูกนำไปใช้เพื่อสร้างเซลล์ใหม่ ทดแทนเซลล์ที่ตายหรือเสียหายไป
สารอาหารกลุ่มแอนโทไซยานิน
แอนโทไซยานิน (Anthocyanins) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพสูง ที่มีส่วนช่วยดูแลปกป้องดวงตา มีส่วนช่วยป้องกันเซลล์ในร่างกายจากการทำลายของอนุมูลอิสระที่อาจนำไปสู่การเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ และจากผลการศึกษาและงานวิจัยของสารแอนโทไซยานิน พบว่ามีส่วนช่วยในการมองเห็นในที่มืดหรือที่มีแสงน้อย, มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดต้อกระจก, มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของโรคจอประสาทตาเสื่อม เป็นต้น
โดย แอนโทไซยานิน เป็นสารที่ให้สีม่วง สีแดง สีน้ำเงิน ในพืชผัก เช่น กะหล่ำปลีม่วง หอมแดง มะเขือเทศ ในผลไม้ เช่น บิลเบอร์รี่ (Bilberry), แบลคเคอร์แรนท์, สตรอว์เบอรี รวมทั้งธัญพืชและถั่วที่มีสีเข้ม แต่จะ
พบสารแอนโทไซยาโนไซด์ (Anthocyanosides) ในบิลเบอร์รี่ (Bilberry) มากกว่าเมื่อเทียบกับผักและผลไม้อื่น ๆ
แอนโทไซยานิน มีส่วนช่วยในการมองเห็นในที่มืดหรือมีแสงน้อย
แอนโทไซยานิน มีส่วนช่วยในการเร่งคืนสภาพของโรดอปซิน ซึ่งเป็นโปรตีนที่ไวต่อการรับแสงที่เซลล์รับแสงรูปแท่งในจอประสาทตา จึงช่วยให้ดวงตามองเห็นภาพในที่มืดเวลากลางคืนได้ชัดเจนขึ้น และยังมีส่วนช่วยคลายความเหนื่อยล้าของดวงตา (อาการตาล้า) ในกลุ่มคนทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ เนื่องจากแอนโทไซยานินมีส่วนช่วยในการไหลเวียนของเลือดในเส้นเลือดฝอยที่ตา ทำให้ดวงตาได้รับสารอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงได้ดีขึ้น
แอนโทไซยานิน มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดต้อกระจก
เมื่อดวงตาสัมผัสกับแสงเป็นเวลานาน ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระขึ้นที่เซลล์ของดวงตา ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโปรตีนในเนื้อเลนส์ มีการเพิ่มขึ้นของโปรตีนชนิดที่ไม่ละลายน้ำ ทำให้เลนส์แก้วตาแข็งและทึบแสงมากขึ้น ที่เรียกว่าต้อกระจก
จากการศึกษาวิจัยทางคลินิกด้วยการให้อาสาสมัครที่เป็นโรคต้อกระจกจำนวน 50 คน รับประทานสารสกัดจากบิลเบอร์รี่ที่มีปริมาณแอนโทไซยานิน 25% ในปริมาณ 180 มิลลิกรัม ร่วมกับรับประทานวิตามินอี 100 มิลลิกรัม จำนวน 2 ครั้งต่อวัน และรับประทานติดต่อกันเป็นเวลา 4 เดือน ผลสรุปได้ว่า กลุ่มคนที่รับประทานสารสกัดจากบิลเบอร์รี่นั้น สามารถยับยั้งการเกิดต้อกระจกเพิ่ม ได้ถึง 96%
แอนโทไซยานิน มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของโรคจอประสาทตาเสื่อม
จากผลการศึกษาความสัมพันธ์ของดวงตาที่ได้รับแสงมากเกินควรต่อเซลล์รับแสงของจอประสาทตา ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมนั้น พบว่าสารแอนโทไซยานินที่ได้จากสารสกัดจากบิลเบอร์รี่ มีส่วนต้านอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นในดวงตาจากการสัมผัสแสง มีส่วนช่วยยับยั้งการตายของเซลล์จอประสาทตา
สารอาหารกลุ่มวิตามินบำรุงสายตา
จำพวก วิตามินเอ วิตามินบี2 วิตามินซี ฯลฯ ที่มีส่วนช่วยคงสภาพปกติของการมองเห็น มีส่วนช่วยคงสภาพปกติของเยื่อบุต่าง ๆ มีส่วนช่วยในการทำงานตามปกติของระบบประสาท มีส่วนช่วยในกระบวนการต่อต้านอนุมูลอิสระ มีส่วนช่วยในการปกป้องเซลล์จากอนุมูลอิสระ ซึ่ง วิตามินบำรุงสายตา เหล่านี้ มีส่วนช่วยดูแลปกป้องดวงตา ช่วยปกป้องจากอนุมูลอิสระ ช่วยให้เซลล์บริเวณจอประสาทตาเสื่อมช้าและเสื่อมน้อยลงจากการทำลายของอนุมูลอิสระ (Free radical) นั่นเอง
ที่มา
[1] การดูแลสุขภาพตา / สสส
[2] จอประสาทตาเสื่อม / โรงพยาบาลเปาโล
[3] แสงสีฟ้าคืออะไร / คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
[4] ลูทีน ดีต่อดวงตา มีประโยชน์ต่อสุขภาพจริงหรือ ?