สมัครสมาชิก / เข้าสู่ระบบ
หรือ
หากคุณยังไม่ได้เป็นสมาชิกกับเรา !
การดำเนินการต่อถือว่าคุณยอมรับ
ข้อกำหนดและเงื่อนไข และ นโยบายความเป็นส่วนตัว
เราอาจส่งข่าวสารให้ท่าน ท่านสามารถปิดการรับข่าวสาร
ได้โดยเปลี่ยนการตั้งค่าในบัญชีของท่าน
เราจะไม่ส่งข่าวสารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากท่าน
สมัครสมาชิก / เข้าสู่ระบบ
หากคุณยังไม่ได้เป็นสมาชิกกับเรา !
หรือเข้าสู่ระบบด้วย
หรือ
สั่งซื้อทันทีโดยไม่สมัครสมาชิก
การดำเนินการต่อถือว่าคุณยอมรับ
ข้อกำหนดและเงื่อนไข และ นโยบายความเป็นส่วนตัว
เราอาจส่งข่าวสารให้ท่าน ท่านสามารถปิดการรับข่าวสาร
ได้โดยเปลี่ยนการตั้งค่าในบัญชีของท่าน
เราจะไม่ส่งข่าวสารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากท่าน
ตะกร้าสินค้า
รายการสินค้าที่สั่งซื้อ
ยังไม่มีคำสั่งซื้อ
แนะนำสำหรับคุณ
PRODUCTS
CUSTOMER SERVICE
ABOUT US
PROMOTION
REWARDS
HELPING
กินคีโต แต่ติดหวาน ใช้สารให้ความหวานแบบไหนดี!
กินคีโต แต่ติดหวาน ใช้สารให้ความหวานแบบไหนดี!

อาหารคีโต (คีโตเจนิค/Ketogenic diet/Keto Diet ) คือการกินอาหารที่มีปริมาณไขมันสูง 65% โปรตีนปานกลาง 30% และคาร์โบไฮเดรต (แป้ง) หรือคาร์บต่ำ (Low Carb) 5% ซึ่งไขมันที่สูง 65% นั้นไม่จำเป็นต้องมาจากอาหารที่เรากินก็ได้ แต่อาจมาจากแคลอรี่ที่ร่างกายไปดึงมาจากไขมันที่สะสมอยู่ในร่างกาย และเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้อาหารคีโตมีส่วนช่วยทำให้เราห่างไกลจากโรคอ้วนและโรคร้ายอื่น ๆ ที่ตามมากับน้ำหนักตัว

แต่สิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยง หรือระวังเป็นอย่างมากในการกินอาหารคีโตก็คือ การจำกัดอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลไว้ที่ 5% โดยอาหารประเภทข้าวต่าง ๆ ทั้งข้าวเจ้า ข้าวหอมมะลิ ข้าวเหนียว ข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าวโอ๊ต ฯลฯ (รวมไปถึงข้าวสวย ข้าวต้มและโจ๊ก) ถือเป็นอาหารประเภทแป้ง และผลิตภัณฑ์จากข้าวที่แปรรูปเป็นแป้งแล้ว เช่น เส้นพาสต้า, พิซซ่า, คุกกี้, ขนมปัง, เค้ก ฯลฯ อาหารประเภทแป้งเล่านี้เมื่อถูกย่อยจะแปรเปลี่ยนเป็นน้ำตาลและพลังงานแคลอรี่ที่สูงมาก ซึ่งหลักการกินอาหารคีโตนั้น จำเป็นต้องลดปริมาณคาร์โบไฮเดรตให้ต่ำและหลีกเลี่ยงการบริโภคน้ำตาลเอาไว้ เพราะต้องการที่จะหลอกให้ร่างกายเข้าสู่ภาวะที่เรียกว่าการเผาผลาญไขมันสะสมเพื่อผลิตพลังงาน Ketogenic state หรือ Ketosis  ซึ่งถ้าหากเรากินอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตในปริมาณที่มากเกินไป ร่างกายก็จะเปลี่ยนกลับมาเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตแทน แทนที่เป้าหมายหลักคือการเผาผลาญไขมัน

สำหรับผู้ที่ติดหวานแต่ต้องกินคีโต หรืออยากเปลี่ยนมาทดลองกินอาหารคีโต เราขอยืนยันได้เลยว่า วิถีการกินอาหารคีโตของคุณจะแสนอร่อยเพลิดเพลินโดยที่ไม่ต้องกังวลว่าในทุกมื้ออาหารคีโตนั้น ๆ จะขาดรสชาติความหวานไป ด้วย 5 สารให้ความหวานที่ดีที่สุดสำหรับผู้ที่ติดหวานแต่ต้องกินคีโต รวมไปถึง สารให้ความหวานที่ต้องหลีกเลี่ยงในอาหารคีโตที่ควรรู้! นะคะ

5 สารให้ความหวานที่ดีที่สุดสำหรับผู้ที่ติดหวานแต่ต้องกินคีโต

1. ใบหญ้าหวานสกัด/สตีเวีย (Stevia)
 ใบหญ้าหวานสกัด หรือสตีเวียเป็นสารให้ความหวานจากธรรมชาติที่ได้จากพืช Stevia rebaudiana ที่มีรสชาติความหวานอยู่ในส่วนของใบ โดยมีความพิเศษตรงที่สารสตีวิโอไซด์ (stevioside) ในใบหญ้าหวานนั้น ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทราย 15 เท่า แต่ไม่ให้พลังงาน (0 แคลอรี่) จึงได้รับความนิยมจากทาง การแพทย์, ยาสมุนไพร, อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม อย่างในญี่ปุ่นได้นำไปผสมกับอาหารต่าง ๆ อย่าง เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว ผักดอง เนื้อปลาบด ฯลฯ แต่ด้วยการวิจัยและพัฒนาเพื่อให้ได้คุณค่าทางโภชนาการสูงสุด จึงได้มีการพัฒนามาสู่สารให้ความหวานที่สกัดจากใบหญ้าหวาน แต่ให้รสหวานมากกว่าน้ำตาลทรายถึง 300 เท่า แต่ไม่ให้พลังงาน (0 แคลอรี่) ถือว่าเป็นสารให้ความหวานที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ ซึ่งหมายความว่า มีแคลอรีหรือคาร์โบไฮเดรตเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย

สำหรับสายเฮลตี้มือใหม่ที่ติดหวานแต่ต้องกินคีโต หรือกำลังมีแผนพิจารณาเมนูอาหารคีโตไว้ในชีวิตประจำวัน ใบหญ้าหวานสกัด คือหนึ่งในสารให้ความหวานยอดนิยมที่มีให้เลือกทั้งแบบผงและแบบของเหลว สำหรับใช้ปรุงอาหารและเครื่องดื่ม มีคุณสมบัติทนต่อความร้อนได้ดี มีความคงตัวสูง สามารถปรุงรสหวานในอาหารที่กำลังผัด แกง ทอด บนเตาได้

นอกจากใบหญ้าหวานสกัดจะเป็นสารให้ความหวานที่มีความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายหลายเท่า รู้ไหมว่า ปี ค.ศ. 2009 ใบหญ้าหวานสกัดได้ผ่านการรับรองว่าเป็นสารประกอบที่ปลอดภัยโดยองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (U.S. FDA) จึงมีการนำสารให้ความหวานชนิดนี้ไปใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภค อุตสาหกรรมการแพทย์ เป็นต้น แต่สำหรับจุดเริ่มต้นของการใช้สารให้ความหวาน (ใบหญ้าหวานสกัด) ในประเทศไทยนั้น เริ่มต้นเมื่อมีการประกาศจากกระทรวงสาธารณสุขให้มีการใช้สตีวิโอไซด์ (Stevioside) เป็นสารให้ความหวานได้ (อ้างอิง: ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 262 พ.ศ. 2545) และในปัจจุบัน ใบหญ้าหวานสกัด อย่าง สตีวิออล ไกลโคไซด์ หรือ สตีเวีย ได้รับการขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อนุญาตให้เป็นสารให้ความหวานที่สามารถใช้บริโภคแทนน้ำตาลได้ ทั้งยังมีความปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน และเป็นที่ชื่นชอบของผู้ที่กำลังหลีกเลี่ยงน้ำตาลอีกด้วย

2. ซูคราโลส (Sucralose)
เพราะในน้ำตาลทราย 1 ช้อนชา มีค่าแคลอรีเท่ากับ 16 แคลอรี ซูคราโลส จึงเป็นอีกหนึ่งสารให้ความหวานยอดนิยม ที่ให้รสชาติหวานเหมือนน้ำตาล เพราะทำมาจากซูโครสที่ได้มาจากน้ำตาล (ในบางผู้ผลิตอาจใช้ อ้อย เป็นสารตั้งต้น) ผ่านกระบวนการทางเคมีหลายขั้นตอนจนกระทั่งโมเลกุลเกิดการเปลี่ยนแปลงสู่การเป็นสารให้ความหวานทดแทนน้ำตาลที่ปราศจากพลังงานหรือคาร์โบไฮเดรต (0 แคลอรี่) อีกทั้งยังเป็นสารให้ความหวานที่ให้รสหวานมากกว่าน้ำตาลประมาณ 600 เท่า และไม่มีรสชาติขมเฝื่อนติดลิ้นเหมือนสารให้ความหวานบางชนิด รวมไปถึงสามารถปรุงรสหวานในอาหารที่กำลังผัด แกง ทอด บนเตาร้อน ๆ ได้ ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีการวิจัยส่วนใหญ่เกี่ยวกับ ซูคราโลส และพบว่าการบริโภคซูคราโลสไม่ส่งผลกระทบใด ๆ ต่อระดับน้ำตาลในเลือดหรือระดับอินซูลิน จึงเป็นสารให้ความหวานที่มีความปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ที่หลีกเลี่ยงน้ำตาล และเป็นที่ชื่นชอบของผู้ที่กำลังกินอาหารคีโตด้วยเช่นกัน

3. ไซลิทอล (Xylitol)
อาจมีหลายคนที่เคยได้ลิ้มลองหมากฝรั่ง ลูกอม หรือน้ำยาบ้วนปากสูตรปราศจากน้ำตาลที่มักจะมีส่วนผสมอย่าง “ไซลิทอล” เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลแน่นอน

ไซลิทอลเป็นสารให้ความหวานได้มาจากพืชจำพวกเส้นใยหรือซังข้าวโพด และต้นเบิร์ชที่ผ่านกระบวนการสกัดทางเคมีหลายขั้นตอนจนได้เป็นผลึกเม็ดสีขาวที่มีรสชาติเหมือนน้ำตาล ซึ่งให้ความหวานอยู่ในระดับเทียบเท่ากับน้ำตาลทรายแต่มีแคลอรี่เพียง 3 แคลอรี่ต่อกรัม และคาร์โบไฮเดรต 4 กรัมต่อช้อนชา ซึ่งอาจสรุปได้ว่าไซลิทอลให้แคลอรี่น้อยกว่าน้ำตาลถึง 40% และมีคาร์โบไฮเดรตต่ำ แต่สำหรับผู้ที่กินอาหารคีโต อาจจำเป็นต้องควบคุมปริมาณการใช้สารให้ความหวานชนิดนี้ด้วยนะคะ

และทราบหรือไม่ว่า ไซลิทอลถูกจัดประเภทให้เป็นน้ำตาลแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่ง แต่คำว่าแอลกอฮอล์เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของชื่อประเภทสารให้ความหวานชนิดนี้ ดังนั้นการใช้ไซลิทอลจะไม่ทำให้เกิดอาการเมาหรือส่งผลในเชิงลบต่อผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์อย่างแน่นอน

อีกข้อเท็จจริงที่น่าสนใจที่มีงานวิจัยและการศึกษารองรับคือ ไซลิทอลไม่นับเป็นคาร์โบไฮเดรตสุทธิเนื่องจากไซลิทอลไม่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดหรือระดับอินซูลินเพิ่มขึ้นเหมือนน้ำตาล นั่นเป็นเพราะว่าไซลิทอลมีค่าดัชนีน้ำตาลอยู่ที่ 13 และมีเพียง 50% เท่านั้นที่ระบบทางเดินอาหารมีการดูดซึม จึงทำให้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลชนิดนี้ได้รับความนิยมในผลิตภัณฑ์คาร์โบไฮเดรตต่ำในท้องตลาดค่ะ

4. อีริทริทอล (Erythritol)
อีริทริทอล เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลที่อยู่ในประเภทน้ำตาลแอลกอฮอล์เช่นเดียวกันกับไซลิทอล โดยสามารถพบอีริทริทอลได้ตามธรรมชาติเพียงเล็กน้อยในผลไม้หลายชนิด นอกจากนี้ยังพบได้จากเห็ดและอาหารที่ได้จากการหมักเช่น ไวน์ ชีส ซึ่งตามปกติแล้วอีริทริทอลผลิตได้จากการหมักเชื้อยีสต์ในข้าวโพดหรือแป้งข้าวโพดจนได้เป็นสารให้ความหวานที่มีรสหวานเหมือนน้ำตาลทรายประมาณ 70%

อีริทริทอลจัดเป็นสารให้ความหวานที่มีแคลอรี่และคาร์โบไฮเดรตต่ำมาก ข้อดีของสารให้ความหวานแทนน้ำตาลชนิดนี้ มีงานวิจัยรองรับที่แสดงให้เห็นว่า อีริทริทอลนั้นไม่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดหรืออินซูลินเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังมีความแตกต่างจากน้ำตาลแอลกอฮอล์ชนิดอื่น ๆ ตรงที่อีริทริทอลส่วนใหญ่จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดก่อนที่จะไปถึงลำไส้ใหญ่ และ 90% จะถูกขับออกทางปัสสาวะ นอกจากนี้ อีริทริทอล ยังมีน้ำหนักโมเลกุลที่น้อยกว่า จึงไม่ก่อให้เกิดปัญหาทางเดินอาหารที่เกี่ยวข้องกับน้ำตาลแอลกอฮอล์

และสามารถใช้ อีริทริทอล ในการประกอบอาหารที่ต้องผ่านความร้อนได้อีกด้วย

5. น้ำตาลหล่อฮังก๊วย (Monk Fruit Sweetener)
หล่อฮังก๊วย เป็นสมุนไพรจีนที่นิยมนำผลแห้งมาต้มน้ำแล้วบริโภคเป็นเครื่องดื่ม ปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างมากในการนำมาใช้เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาล เนื่องจากมีรสหวานกว่าน้ำตาลในธรรมชาติกว่า 250 เท่า โดยรสหวานดังกล่าวไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด ให้พลังงานต่ำ และตัวผลหล่อฮังก๊วยเองก็มีสรรพคุณทางยารวมอยู่ด้วย

สารให้ความหวานที่เรียกว่า น้ำตาลหล่อฮังก๊วย ได้มาจากการนำเมล็ดและผิวของผลหล่อฮังก๊วยมาบดเป็นน้ำ ก่อนที่จะนำไปผ่านกระบวนการแปรรูปให้ได้เป็นผงเข้มข้น และในระหว่างการแปรรูปโมโกรไซด์จะถูกแยกออกจากน้ำ จึงทำให้น้ำตาลหล่อฮังก๊วยปราศจากฟรุกโตสหรือกลูโคส แต่ยังสามารถให้ความหวานธรรมชาติได้มากกว่าน้ำตาล 100–250 เท่าที่อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเข้มข้นของสารไมโกรไซด์ค่ะ และเหตุผลที่ว่า ทำไมน้ำตาลหล่อฮังก๊วยจึงถูกเลือกให้เป็น 1 ใน 5 สารให้ความหวานแทนน้ำตาลทางเลือกที่เหมาะสำหรับผู้ที่กินอาหารคีโตเจนิก ก็เป็นเพราะว่า สารให้ความหวานชนิดนี้ปราศจากแคลอรี่และคาร์โบไฮเดรต อีกทั้งยังมีข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ว่า ไมโกรไซด์ที่มีอยู่ในสารให้ความหวานชนิดนี้อาจช่วยกระตุ้นการปล่อยอินซูลิน ซึ่งสามารถส่งเสริมการลำเลียงน้ำตาลออกจากกระแสเลือดเพื่อช่วยในการจัดการกับระดับน้ำตาลในเลือดได้เช่นเดียวกัน

น้ำตาลหล่อฮังก๊วย ได้รับการยอมรับจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) เมื่อปี พ.ศ. 2553 ว่าสามารถใช้เป็นสารให้ความหวานได้อย่างปลอดภัย และยังไม่มีรายงานผลข้างเคียงจากการใช้ในเด็ก สตรีตั้งครรภ์ หรือในหญิงให้นมบุตร
  • สารให้ความหวานที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับผู้ที่กินอาหารคีโต
  • สารให้ความหวานบางชนิดที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง สามารถเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดและขัดขวางคีโตซีสได้
  • น้ำตาลมะพร้าว มีฟรุกโตสสูง อาจส่งผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้
  • น้ำผึ้ง ให้แคลอรี่และคาร์โบไฮเดรตสูง อาจไม่เหมาะสำหรับนำมาปรุงรสในอาหารคีโต
  • น้ำเชื่อมเมเปิ้ล มีน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตสูง

อินทผาลัม ผลไม้แห้งที่มีรสหวานอร่อยเป็นธรรมชาติ มักนิยมนำมาเป็นวัตถุดิบหรือสารให้ความหวานแทนน้ำตาลในมื้ออาหารที่ให้ไฟเบอร์ วิตามิน และแร่ธาตุอื่น ๆ แต่ก็ยังมีคาร์โบไฮเดรตสูงเกินกว่าจะเป็นอาหารคีโต
แชทผ่านไลน์ @Liveandfit