0
| เคล็ดลับสุขภาพ

ภัยร้ายที่มาพร้อมกับความหวาน

  Add Friend
อัพเดตโปรโมชั่นและข่าวสารดีๆ ผ่านทาง LINE LIVE & FIT
ID : @Liveandfit
 8 พ.ค. 2562
 3594 ครั้ง
 | 
แชร์ 3 ครั้ง



คนชอบน้ำตาลรู้ไหม? “น้ำตาล” ถึงแม้จะมีรสชาติหวานอร่อย แต่หากบริโภคมากเกินไปก็อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพได้ตั้งแต่หัวจรดเท้า และเป็นต้นเหตุของการเป็นโรคต่าง ๆ ดังนี้

1. โรคอ้วน

น้ำตาลมีสารประกอบโดยรวมที่ทำให้อ้วนได้ง่าย เพราะแทนที่มันจะทำให้รู้สึกอิ่ม แต่กลับรู้สึกหิว เพราะกลูโคสไปช่วยลดระดับฮอร์โมนในร่างกายที่กระตุ้นความหิว ดังนั้น คุณจึงต้องรับประทานเพิ่มมากขึ้น เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูง แบบที่อินซูลินก็ช่วยอะไรไม่ได้ น้ำตาลจะมีการเปลี่ยนรูปไปเป็นไขมัน และจะเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งถ้าหากคุณไม่มีเวลาไปออกกำลังกายเพื่อเผาผลาญพลังงานที่ได้จากน้ำตาล คุณก็จะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นและเป็นโรคอ้วน ซ้ำร้ายยังก่อให้เกิดอาการเสพติด คุณจึงตกอยู่ในวังวนของการกินน้ำตาลไปเรื่อย ๆ ไม่มีสิ้นสุด

2.โรคเบาหวาน

นอกจากการบริโภคน้ำตาลมากเกินไปจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนที่เป็นปัจจัยก่อให้เกิดโรคเบาหวานตามมาได้แล้ว หากกินน้ำตาลมาก ๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจก่อให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินด้วย ซึ่งอินซูลินเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้สมดุล เมื่อผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นก็จะเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานมากกว่าปกติ โดยมีงานวิจัยหนึ่งพบว่าการบริโภคน้ำตาลทุก ๆ 150 แคลอรี่ อาจทำให้เสี่ยงเป็นโรคเบาหวานสูงขึ้นถึง 1.1 เปอร์เซ็นต์ และโรคนี้หากเป็นมากอาจอันตรายถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นได้

3.โรคหัวใจและหลอดเลือด

มีงานวิจัยพบว่าการกินอาหารที่มีน้ำตาลสูงอาจก่อให้เกิดภาวะไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง และน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยที่ไปเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ นอกจากนั้น การบริโภคน้ำตาลปริมาณมาก โดยเฉพาะจากเครื่องดื่มที่เติมน้ำตาล อาจทำให้เกิดโรคอันตรายอย่างโรคหลอดเลือดแดงแข็งได้ ซึ่งโรคนี้เกิดจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ส่งผลให้เลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อไม่เพียงพอ

สมาคมโรคเบาหวานอเมริกาได้เปิดเผยว่า น้ำตาล ไม่ใช่ทำให้เป็นโรคเบาหวานอย่างเดียว แต่เชื่อมโยงกับโรคหัวใจและหลอดเลือดอีกด้วย โดยพบว่าโรคหัวใจกลับเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งในผู้ป่วยเบาหวานระยะที่ 2 ซึ่งคิดเป็น 65% ของอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งหมดที่เสียชีวิต

กองโภชนาการ กรมอนามัย ได้มีการแนะนำปริมาณน้ำตาลที่เหมาะสมต่อวันดังนี้

1.เด็กอายุ 6-13 ปี ควรบริโภคน้ำตาลไม่เกิน 4 ช้อนชา

2.วัยรุ่นหญิง-ชาย 14-25 ปี ควรบริโภคน้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชา

3.ผู้ชายวัยทำงาน 25-60 ปี ควรบริโภคน้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชา

4.ผู้หญิงวัยทำงาน 25 - 60 ปี ควรบริโภคน้ำตาลไม่เกิน 4 ช้อนชา

5.ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ควรบริโภคน้ำตาลไม่เกิน 4 ช้อนชา

6.คนที่ใช้พลังงานมาก อย่างเช่น เกษตรกร ผู้ใช้แรงงาน นักกีฬา ควรบริโภคน้ำตาลไม่เกิน 8 ช้อนชา

 

4.โรคกระดูกพรุน / กระดูกเปราะ 

การที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้เลือดมีภาวะเป็นกรด ร่างกายจึงต้องทำการปรับสมดุลนี้ด้วยการไปดึงแร่ธาตุต่าง ๆ มาใช้งานไม่เว้นแม้กระทั่งแคลเซียม จึงส่งผลให้เกิดปัญหากระดูกพรุนตามมา

5.เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง

อินซูลินเป็นฮอร์โมนที่นำพากลูโคสในกระแสเลือดเข้าสู่เซลล์ต่าง ๆ และกระตุ้นให้เซลล์เผาผลาญกลูโคสแทนที่จะเผาผลาญไขมัน การรับประทานน้ำตาลมากเกินไป อาจทำให้อินซูลินทำงานผิดปกติ ส่งผลให้เซลล์เกิดภาวะดื้ออินซูลิน ที่เรียกว่า ภาวะต้านอินซูลิน ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพหลายอย่าง และอินซูลินยังเป็นหนึ่งในฮอร์โมนที่ควบคุมการเจริญเติบโตและการเพิ่มทวีคูณของเซลล์มะเร็ง ดังนั้น การมีระดับอินซูลินสูงอย่างต่อเนื่อง อาจนำไปสู่การเกิดโรคมะเร็งได้าความเกี่ยวข้องระหว่างการบริโภคน้ำ

มีงานวิจัยหนึ่งศึกษตาลกับการเกิดโรคมะเร็งในกลุ่มตัวอย่าง 430,000 ราย พบว่าการบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มที่เติมน้ำตาลมีส่วนเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งเยื่อหุ้มปอด และมะเร็งลำไส้เล็ก ซึ่งสอดคล้องกับอีกงานวิจัยหนึ่งที่พบว่าผู้หญิงที่กินขนมปังหวานและคุกกี้มากกว่า 3 ครั้ง/สัปดาห์ เสี่ยงเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกมากกว่าผู้หญิงที่กินอาหารเหล่านี้น้อยกว่า 0.5 ครั้ง/สัปดาห์ ถึง 1.42 เท่า อย่างไรก็ตาม งานค้นคว้าในประเด็นนี้ยังมีอยู่ค่อนข้างน้อย จึงจำเป็นต้องศึกษาวิจัยเพิ่มเติมต่อไป เพื่อยืนยันให้ชัดเจนว่าการบริโภคน้ำตาลในปริมาณมากนั้นมีส่วนก่อให้เกิดเซลล์มะเร็งจริง

6.เสี่ยงโรคซึมเศร้า

นักวิจัยเชื่อว่าภาวะน้ำตาลในเลือดไม่คงที่ ระดับสารสื่อประสาทในสมองที่ผิดปกติ และการอักเสบตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต โดยมีงานค้นคว้าที่พบว่าผู้ชายที่บริโภคน้ำตาล 67 กรัม/วันหรือมากกว่านั้น มีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าผู้ชายที่บริโภคน้ำตาลน้อยกว่า 40 กรัม/วันถึง 23 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสอดคล้องกับอีกงานวิจัยหนึ่งที่ทดลองในผู้หญิง 69,000 คนแล้วพบว่า ผู้หญิงที่บริโภคน้ำตาลปริมาณมากที่สุดมีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าผู้หญิงที่บริโภคน้ำตาลปริมาณน้อยที่สุดอย่างเห็นได้ชัด และมีการศึกษาที่ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Public Health Journal ซึ่งติดตามผลจากคนกว่า 9,000 คน พบความเชื่อมโยงระหว่างภาวะซึมเศร้ากับการรับประทานน้ำตาลและอาหารฟาสต์ฟู้ด ว่า ผู้ที่รับประทานอาหารขยะติดต่อกัน 6 ปี เกือบ 40% มีความเสี่ยงสูงมากที่จะเป็นโรคซึมเศร้า เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้รับประทานอาหารขยะซ้ำยังเกิดภาวะดื้ออินซูลินและสมองยังหลั่งสารโดปามีน (dopamine) ซึ่งเป็นสารความสุขน้อยลงอีกด้วย


7.ไขมันพอกตับ

น้ำตาล เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ตับสะสมไขมันไว้ตามอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายมากขึ้น และเมื่อเวลาผ่านไปนานวันเข้า อาจจะทำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับ (Non-alcoholic fatty liver disease) ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคตับอักเสบและโรคตับแข็งในอนาคตได้


8.โรคแก่ก่อนวัย (ผิวพรรณเหี่ยวย่น)

น้ำตาล เมื่อเข้าสู่กระแสเลือดแล้วก็จะไปเกาะหรือไปจับกับเส้นใยโปรตีนในร่างกาย แล้วเปลี่ยนเป็นโมเลกุลใหม่ที่ชื่อ AGEs (Advanced Glycation End-products) ซึ่งโมเลกุล AGEs นี้จะไปทำลายโปรตีนที่ชื่อว่าคอลลาเจนและอิลาสติก ซึ่งเป็นโปรตีนที่ทำให้ผิวกระชับและมีความยืดหยุ่น เมื่อโปรตีนเหล่านี้ถูกทำลายไปก็จะทำให้ผิวเหี่ยวย่นและหย่อนคล้อยก่อนวัยได้


อันตรายจาก น้ำตาล นอกจากจะก่อให้เกิดโรคดังกล่าวแล้ว ยังเป็นสาเหตุของโรคอีกหลายชนิด ดังนั้น เพื่อสุขภาพที่ดีก็ควรจะลดการบริโภคน้ำตาลลง หรือหลีกเลี่ยง หรือมองหาสารให้ความหวานทดแทนการบริโภคน้ำตาลทรายกันนะคะ

บทความที่น่าสนใจ
see more