0
| เคล็ดลับสุขภาพ

ทำไม ! มัทฉะชั้นเลิศ ต้องมาจากเมืองนิชิโอะ

  Add Friend
อัพเดตโปรโมชั่นและข่าวสารดีๆ ผ่านทาง LINE LIVE & FIT
ID : @Liveandfit
 22 เม.ย. 2563
 4733 ครั้ง
 | 
แชร์ 0 ครั้ง

   
     ชาเขียวมัทฉะที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่นั้นมาจากประเทศญี่ปุ่นแทบทั้งสิ้น หากคุณไม่รู้จักแบรนด์เกี่ยวกับชาเขียวผง ขอแนะนำว่าควรเลือกชาเขียวจากสถานที่เพาะปลูกที่ได้รับความนิยมอย่างเช่น ชาเขียวมัทฉะจากเมืองนิชิโอะ จังหวัดไอจิ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตมัทฉะหลักแห่งหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น

     โดยเฉพาะชาเขียวมัทฉะมีประวัติความเป็นมาหลายร้อยปีแล้ว เมื่อนักบวชชาวญี่ปุ่น Eichu จากวัด Bonshakuji จังหวัดไอจิ ได้เดินทางไปเป็นทูตที่ประเทศจีนรวมทั้งศึกษาตัวยาสมุนไพรจากจีน แล้วเอาชากลับมาถวายให้จักรพรรดิ Saga เมื่อท่านได้ดื่มชาก็เกิดความประทับใจในรสชาติ แต่ในสมัยนั้นความนิยมยังคงมีอยู่แต่ในเฉพาะกลุ่มชนชั้นสูงเท่านั้น ต่อมาคนญี่ปุ่นได้พัฒนาชาเขียวให้เป็นเอกลักษณ์และภาพลักษณ์ของญี่ปุ่นชัดเจนมากขึ้น เรียกได้ว่าชาดีอยู่ที่การประณีตใส่ใจในรายละเอียดจนเกิดเป็นวัฒนธรรมการชงชาหรือมนต์เสน่ห์อีกแบบหนึ่งของประเทศญี่ปุ่นนั่นเอง

     เมืองนิชิโอะ เป็นเมืองเล็ก ๆ ในจังหวัดไอจิ ที่อุดมไปด้วยธรรมชาติและยังสามารถคงความดั้งเดิมของสภาพแวดล้อมบ้านเมืองได้เป็นอย่างดีจนได้รับการเป็น Little Kyoto เลยทีเดียว อีกทั้งยังเป็นเมืองที่โดดเด่นทางด้านมัทฉะเป็นอย่างมาก ที่นี่เป็นพื้นที่ปลูกชาคุณภาพดี มีพิพิธภัณฑ์ไอยะ นิชิโอะ มัทชะ กรีนที (Aiya Nishio Matcha Green Tea Museum) แสดงขั้นตอนการผลิตชาเขียวมัทฉะของที่เมืองนิชิโอะแห่งนี้ ตั้งแต่การปลูก เก็บเกี่ยว ไปจนถึงขั้นตอนการบดจนได้เป็นผงชาเขียวมัทฉะคุณภาพดีที่มีชื่อเสียงอันดับต้นของโลก

  • การปลูก หัวใจสำคัญคือการปลูกในร่ม เมื่อใบชาเริ่มแตกยอดแล้วเพื่อไม่ให้ใบชากระทบแสงแดด เรียกได้ว่าเป็นการชะลอการเจริญเติบโตในช่วงนั้น ยอดใบชาที่ได้จึงมีสีเขียวเข้มมากขึ้น ให้รสชาติหวานไม่ขมอย่างที่หลายคนเข้าใจ
  • การเก็บเกี่ยว การเก็บเกี่ยวใบชาต้องคัดสรรด้วยมือเท่านั้น โดยผู้เชี่ยวชาญในการเก็บใบชาจะเลือกช่วงที่ยอดอ่อนของใบชาบานสะพรั่ง
  • การอบใบชา อบด้วยไอน้ำโดยใช้เวลาประมาณ 15 - 20 วินาที และจะพร้อมใช้งานได้ภายใน 12 - 20 ชั่วโมงหลังเก็บเกี่ยว
  • การเป่าแห้ง จากขั้นตอนการอบไอน้ำใบชาที่งองุ้มจะถูกนำมาทำ “เคียวคุโระ” (Kyokuro) และ “เซนฉะ” (Sencha) ในขณะที่ใบชาที่ไม่งองุ้มจะถูกนำมาทำ “มัทฉะ” (Matcha) โดยจะใช้เครื่องเป่าที่ใช้ลมเย็น ๆ เบา ๆ ช่วยให้น้ำระเหยและแห้งตามต้องการโดยไม่ทำให้ใบชาเสียหาย
  • การบดเป็นผง นำใบชาที่แห้งสนิทแล้วไปหมุนกลิ้งหรือบดเป็นผงด้วยครก ซึ่งในสมัยก่อนนิยมใช้ครกหิน ให้ผู้ดื่มได้รับสารอาหารในใบชาได้อย่างเต็มที่

 

     เพราะคุณเลือกมัทฉะอย่างคนรักมัทฉะ จึงต้องเลือกชาเขียวมัทฉะจากเมืองนิชิโอะ จังหวัดไอจิ ประเทศญี่ปุ่น ขอแนะนำ! ผลิตภัณฑ์ชาสุวรรณ ชาเชียวมัทฉะ 

บทความที่น่าสนใจ
see more