LOGIN / REGISTER
OR
New Register
การดำเนินการต่อถือว่าคุณยอมรับ
Terms of Use and Privacy Policy
เราอาจส่งข่าวสารให้ท่าน ท่านสามารถปิดการรับข่าวสาร
ได้โดยเปลี่ยนการตั้งค่าในบัญชีของท่าน
เราจะไม่ส่งข่าวสารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากท่าน
LOGIN / REGISTER
New Register
Or Login By
OR
Order by Guest Account
การดำเนินการต่อถือว่าคุณยอมรับ
Terms of Use and Privacy Policy
เราอาจส่งข่าวสารให้ท่าน ท่านสามารถปิดการรับข่าวสาร
ได้โดยเปลี่ยนการตั้งค่าในบัญชีของท่าน
เราจะไม่ส่งข่าวสารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากท่าน
MY CART
Manage Item
ยังไม่มีคำสั่งซื้อ
You might also like
PRODUCTS
CUSTOMER SERVICE
ABOUT US
PROMOTION
REWARDS
HELPING
6 สรรพคุณของหญ้าหวานสกัด ที่คุณอาจไม่เคยรู้
6 สรรพคุณของหญ้าหวานสกัด ที่คุณอาจไม่เคยรู้

ทำความรู้จัก สรรพคุณของหญ้าหวาน แบบผู้รอบรู้

หญ้าหวาน หรือที่หลาย ๆ คนอาจเรียกกันติดปากสั้น ๆ ว่า ‘สตีเวีย’ (Stevia) จัดเป็นสมุนไพรที่ให้ความหวานตามธรรมชาติ บางคนอาจเลือกใช้หญ้าหวานทดแทนน้ำตาล และยังมีบางคนที่ใช้เพื่อจุดประสงค์ทางการแพทย์ เช่น ใช้เพื่อการรักษาภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ดังนั้นวันนี้ทาง Live & Fit จะขอพาคุณมาทำความรู้จักกับหญ้าหวานและสรรพคุณของหญ้าหวานสกัดแบบผู้รอบรู้กันค่ะ

หญ้าหวาน...แหล่งความหวานจากธรรมชาติ

หญ้าหวาน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Stevia rebaudiana (Bertoni) หรือเรียกสั้น ๆ ได้ว่า สตีเวีย (Stevia) สมุนไพรชนิดนี้จัดอยู่ในตระกูลเดียวกับเบญจมาศซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลแร็กวีด (Ragweed)

ต้นหญ้าหวานอยู่ในกลุ่มพืชล้มลุกที่มีขนาดเล็ก ด้วยความสูงประมาณ 30 - 90 เซนติเมตร มีลักษณะคล้ายต้นโหระพา ใบหญ้าหวานเป็นส่วนที่มีรสชาติหวานมาก โดยลักษณะของใบจะดูคล้ายหอกหัวกลับ ขอบใบหยัก นอกจากนี้ยังออกดอกเป็นดอกเล็กสีขาว



เดิมทีสมุนไพรพุ่มดกชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ โดยเฉพาะในประเทศปารากวัยและบราซิล สมุนไพรดังกล่าวยังมีชื่อเรียกเป็นภาษาลาตินว่า “Yerba ducle” ที่แปลความหมายได้ว่า “สมุนไพรหวาน” ชาวปารากวัยพื้นเมืองนั้นนิยมใช้เพื่อเพิ่มความหวานให้แก่อาหารและเครื่องดื่มมานานกว่า 1,500 ปี ก่อนที่จะเริ่มมีการเพาะปลูกมากขึ้นในประเทศจีนและญี่ปุ่น ซึ่งชาวญี่ปุ่นเองมักนำสมุนไพรชนิดนี้มาปรุงรสหรือใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญของผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น เนื้อปลาบด ซีอิ๊ว ผักดอง เต้าเจี้ยว เป็นต้น

ในภายหลัง เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2518 ต้นหญ้าหวานถูกนำเข้ามาเพาะปลูกในภาคเหนือของประเทศไทย โดยเฉพาะที่จังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดพะเยา และจังหวัดลำพูน เนื่องจากภูมิภาคที่พืชชนิดนี้สามารถเติบโตได้ดีคือพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลโดยประมาณ 600 - 700 เมตร และปลูกได้ในที่ที่อากาศค่อนข้างเย็นหรือประมาณอุณหภูมิที่ 20 - 26 องศาเซลเซียส

สารสกัดของหญ้าหวานได้มาอย่างไร ?

ในการสกัดสารให้ความหวานจากหญ้าหวาน มีขั้นตอนที่สำคัญดังนี้
  1. สิ่งสำคัญในการสกัดสารให้ความหวานคือการสกัดสารไกลโคไซด์จากใบซึ่งขั้นตอนแรกเริ่มคือการแช่น้ำใบหญ้าหวาน
  2. อนุภาคของใบหญ้าหวานจะถูกกรองออกจากของเหลว
  3. ของเหลวที่ได้จะถูกทำความสะอาดด้วยการใช้ถ่านกัมมันต์เพื่อการกำจัดสารอินทรีย์อื่น ๆ
  4. จากนั้นของเหลวจะผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนประจุไออนเพื่อนขจัดแร่ธาตุและโลหะต่าง ๆ
  5. จากนั้นไกลโคไซด์ที่ยังคงอยู่จะถูกสกัดให้เข้มข้นจนมีลักษณะเหมือนยาง และถูกนำไปผ่านกระบวนการอื่น ๆ ต่อไปเพื่อให้ได้เป็นวัตถุให้ความหวาน



ทั้งนี้สารประกอบของหญ้าหวานที่ผ่านกระบวนการคัดแยกและทำให้บริสุทธิ์ ประกอบด้วย
  • สตีวิโอไซด์
  • รีบาวดิโอไซด์ เอ ซี ดี อี และ เอฟ
  • สตีวิออลไบโอไซด์
  • ดัลโคไซด์ก
  • สตีวิโอไซด์และรีบาวดิโอไซด์ เอ (reb A) เป็นส่วนประกอบที่มีอยู่มากที่สุด

สำหรับรสชาติหวานที่เป็นเอกลักษณ์ของหญ้าหวานนั้นได้มาจากสารสกัดบริสุทธ์อย่างสารสตีวิออล ไกลโคไซด์ (Steviol glycoside) มีลักษณะเป็นผงสีขาวไปจนถึงสีเหลืองอ่อน ทนต่อความร้อนได้ดี มีความคงตัวสูง และไม่ถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ ซึ่งในสตีวิออล ไกลโคไซด์จะมีสารประกอบสำคัญที่พบมากที่สุดอย่าง สตีวิโอไซด์ (Stevioside) ที่มีคุณสมบัติในการให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลซูโครสหรือน้ำตาลทราย ถึง 300 เท่า

ถึงแม้ว่าสารสตีวิโอไซด์นี้จะมีความหวานกว่าน้ำตาลหลายเท่า แต่ในปี ค.ศ. 2009 สารประกอบดังกล่าวนั้นได้รับการรับรองว่าเป็นสารประกอบที่ปลอดภัยโดยองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (U.S. FDA) จึงมีการนำใปใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ มากขึ้น เช่น อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภค อุตสาหกรรมการแพทย์ เป็นต้น

สำหรับจุดเริ่มต้นของการใช้สตีเวียในประเทศไทยนั้นเริ่มต้นเมื่อมีการประกาศจากกระทรวงสาธารณสุขให้มีการใช้สตีวิโอไซด์ (Stevioside) เป็นสารให้ความหวานได้ (อ้างอิง: ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 262 พ.ศ. 2545) และในปัจจุบันสารสกัดจากหญ้าหวานอย่าง สตีวิออล ไกลโคไซด์ หรือ สตีเวีย ได้รับการขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ว่าสารสกัดชนิดนี้สามารถใช้บริโภคแทนน้ำตาลได้ ทั้งยังมีความปลอดภัย และไม่ก่อให้เกิดอันตราย

6 สรรพคุณของหญ้าหวานสกัดที่คุณอาจไม่เคยรู้

ด้วยพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคที่หันมาใส่ใจสุขภาพแบบองค์รวมมากขึ้นในปัจจุบันส่งผลให้หญ้าหวานได้กลายมาเป็นใบหญ้าหวานสกัดหรือวัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาลที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะไม่เพียงแต่ราคาย่อมเยาว์ หาซื้อได้ง่าย อีกทั้งสรรพคุณของหญ้าหวานสกัดนับได้ว่าตอบโจทย์ผู้บริโภคหลายกลุ่มเป็นอย่างยิ่ง โดย 6 สรรพคุณของหญ้าหวานสกัด มีดังนี้



 1. แคลอรี่ต่ำ
สรรพคุณของหญ้าหวานสกัดที่โดดเด่นคือ การให้ความหวานที่ปราศจากคาร์โบไฮเดรต และจัดว่ามีพลังงานหรือแคลอรี่ต่อหน่วยบริโภคที่ต่ำมากจนอาจนับได้ว่าเป็น 0 แคลอรี่ (Zero Calorie) จึงอาจมีส่วนช่วยในการลดน้ำหนักได้เมื่อใช้ใบหญ้าหวานสกัดทดแทนน้ำตาลปกติที่ให้พลังงานประมาณ 45 แคลอรี่ต่อช้อนโต๊ะ (12 กรัม) ดังนั้นการใช้ใบหญ้าหวานสกัดแทนน้ำตาลอาจช่วยให้คุณอิ่มโดยได้รับแคลอรี่น้อยลง

อ้างอิงจากข้อมูลโดยสถาบันสุขภาพแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา (NIH: National Institutes of Health) จากการศึกษาในผู้ใหญ่ 31 คนที่รับประทานขนมขบเคี้ยวที่ทำจากหญ้าหวานสกัดและให้พลังงาน 290 แคลอรี่นั้นรับประทานอาหารมื้อต่อไปในปริมาณเท่ากันกับผู้ที่ที่รับประทานขนมขบเคี้ยวที่มีน้ำตาลและให้พลังงาน 500 แคลอรี่ ทั้งสองกลุ่มมีรายงานระดับความอิ่มที่ใกล้เคียงกัน กล่าวได้ว่า กลุ่มผู้ที่รับประทานหญ้าหวานสกัดได้รับปริมาณแคลอรี่โดยรวมลดลงในขณะที่ยังรู้สึกพึงพอใจเท่ากัน

ถึงแม้ว่าการใช้สารให้ความหวานที่ไม่มีแคลอรี่ในปริมาณเล็กน้อยอาจเป็นทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพในการลดปริมาณน้ำตาล แต่สิ่งที่ดีที่สุดคือการใช้น้ำตาลน้อยลง และใช้สารทดแทนน้ำตาลในปริมาณที่เหมาะสม ตลอดจนถึงการเลือกใช้แหล่งความหวานจากธรรมชาติ เช่น น้ำตาลจากผลไม้ ร่วมด้วยนะคะ



2. มีส่วนช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาล
การเลือกใช้ใบหญ้าหวานสกัดแทนน้ำตาลอาจเป็นทางเลือกที่ดีเลยทีเดียวสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานหรือผู้ที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เพราะการเลือกใช้ใบหญ้าหวานสกัดส่งผลเล็กน้อยมากหรืออาจไม่ส่งผลเลยต่อระดับกลูโคสในเลือด ระดับอินซูลิน และน้ำหนักตัว

สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานเอง ก็ยังมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่รับรองว่า สารสกัดจากใบหญ้าหวานไม่ได้ให้แคลอรี่หรือคาร์โบไฮเดรตในอาหาร และยังพบว่าใบหญ้าหวานสกัดไม่ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดหรือการตอบสนองของอินซูลิน ด้วยเหตุนี้การใช้ใบหญ้าหวานสกัดในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานอาจเป็นตัวเลือกที่ดี เพราะผู้ป่วยเบาหวานจะสามารถรับประทานอาหารได้หลากหลายขึ้นตามแผนการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ

ยิ่งไปกว่านั้นแล้ว ยังมีผลการศึกษาที่เชื่อถือได้ระบุว่า การใช้ใบหญ้าหวานสกัดทดแทนน้ำตาลทรายมีส่วนช่วยในการลดค่าดัชนีไกลซีมิก (GI: Glycemic Index) หรือค่าดัชนีน้ำตาลได้ นั่นอาจหมายความว่าใบหญ้าหวานสกัดส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดในระดับที่น้อยกว่า

ดังนั้นหากคุณเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน สารสกัดจากหญ้าหวานหรือสตีเวียอาจช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดของคุณอยู่ในเกณฑ์ที่ปกติ ทีนี้ลองหันมาใช้ใบหญ้าหวานสกัดเพื่อเติมความหวานกับโยเกิร์ต กาแฟร้อน หรือชาร้อนโดยไม่เป็นการเพิ่มคาร์โบไฮเดรตกันดูค่ะ

3. ช่วยควบคุมระดับโคเลสเตอรอล
สำหรับผู้ที่กังวลเรื่องระดับโคเลสเตอรอลในเลือด ใบหญ้าหวานสกัดอาจเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจเช่นกัน เพราะสรรพคุณของหญ้าหวานสกัดนั้นมีความเชื่อมโยงกับการควบคุมระดับโคเลสเตรอลเช่นกัน เนื่องจากมีการศึกษาชิ้นหนึ่งในปี ค.ศ. 2009 ชี้ว่าผงสกัดจากใบหญ้าหวานอาจช่วยจัดการกับโคเลสเตอรอลได้

อ้างอิงจากผู้เข้าร่วมการศึกษาที่ได้ทำการรับประทานสารสกัดจากใบหญ้าหวาน 20 มิลลิลิตรทุกวันเป็นเวลาหนึ่งเดือน ผลของการศึกษาพบว่าสารสกัดจากใบหญ้าหวานมีส่วนช่วยในการลดโคเลสเตอรอลไม่ดีหรือชนิด LDL และไขมันไตรกลีเซอไรด์โดยไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงเชิงลบ ในขณะเดียวกันยังช่วยเพิ่มไขมันดีชนิด HDL แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อสรุปชัดเจนว่า การใช้ใบหญ้าหวานสกัดในปริมาณที่น้อยลงเป็นครั้งคราวจะสามารถให้ผลเดียวกันหรือไม่



4. ลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งตับอ่อน
อีกหนึ่งสรรพคุณของหญ้าหวานสกัดที่หลาย ๆ คนอาจไม่เคยรู้ คือ ในใบหญ้าหวานสกัดจะมีสารสเตอรอล (Sterols) และสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิดรวมทั้ง สารเคมเฟอรอล (Kaempferol) ที่จัดอยู่ในกลุ่มสารพฤกษศาสตร์ในกลุ่มฟลาโวนอยด์ มักพบในผักและผลไม้ มีคุณสมบัติเด่นเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งจากการศึกษาชิ้นหนึ่ง พบว่าสารเคมเฟอรอลนี้สามารถลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งตับอ่อนได้ถึงร้อยละ 23 กล่าวได้ว่า ใบหญ้าหวานสกัดอาจเป็นตัวเลือกที่เหมาะสำหรับกลุ่มคนรักสุขภาพเช่นกัน



5. ลดความเสี่ยงต่อภาวะน้ำหนักเกินและเบาหวานในเด็ก
การบริโภคน้ำตาลในหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น น้ำตาลซูโครส น้ำตาลฟรักโตส นั้นมีความเชื่อมโยงกับการอักเสบ ภาวะน้ำหนักเกิน และอาจนำไปสู่การเกิดภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังเช่น โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคหัวใจ และสำหรับในเด็กเองที่มักบริโภคอาหาร เครื่องดื่มโดยเฉพาะขนมขบเคี้ยวที่มีน้ำตาลสูงอาจนำไปสู่ภาวะเจ็บป่วยต่าง ๆ เช่นเดียวกันกับผู้ใหญ่

ดังนั้นการควบคุมปริมาณน้ำตาลในอาหารจึงมีความสำคัญ ซึ่งใบหญ้าหวานสกัดอาจเป็นทางเลือกในการลดระดับแคลอรี่และความหวานที่ไม่จำเป็นสำหรับโภชนาการของเด็ก

ในประเทศไทยเอง มีผลวิจัยของทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่ได้กล่าวเสริมไว้ว่า การใช้สารสกัดจากใบหญ้าหวานมีความปลอดภัยในทุกกรณี โดยค่าสูงสุดที่สามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัยคือ ปริมาณ  7,938 มิลลิกรัม/กิโลกรัม(น้ำหนักตัว)/วัน นอกจากนี้สารสกัดจากใบหญ้าหวานยังสามารถใช้ทดแทนน้ำตาลได้ เหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย

ดังนั้น หากคุณพ่อคุณแม่ท่านไหนกำลังต้องการดูแลควบคุมโภชนาการโดยเฉพาะการบริโภคน้ำตาลในเด็ก และกำลังมองหาทางเลือกสุขภาพดี ๆ สำหรับลูกรัก อาจลองเลือกใช้เป็นใบหญ้าหวานสกัดเป็นวัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาลได้เช่นกันนะคะ 



สรรพคุณของหญ้าหวานที่แตกต่างจากน้ำตาลทรายอย่างเห็นได้ชัดคือ อัตราที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ต่ำ เนื่องจากไม่มีการบันทึกกรณีการแพ้ใบหญ้าหวานสกัดตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008 แม้แต่สารสกัดจากหญ้าหวานในรูปแบบบริสุทธิ์สูงก็ไม่น่าจะก่อให้เกิดอาการแพ้ใด ๆ

เมื่อปี ค.ศ. 2010 คณะกรรมการความปลอดภัยด้านอาหารแห่งยุโรป (EFSA) ได้ทำการตรวจสอบและทบทวนเอกสารที่มีอยู่เพื่อตั้งข้อพิจารณาว่ามีสาเหตุที่น่ากังวลเกี่ยวกับโอกาสที่จะเกิดอาการแพ้ต่อใบหญ้าหวานสกัดหรือไม่ ผู้ตรวจสอบให้ข้อสรุปว่า “สตีวิออล ไกลโคไซด์ไม่ทำปฏิกิริยาและไม่ถูกเผาผลาญเป็นสารประกอบที่ทำปฏิกิริยา ดังนั้นสตีวิออล ไกลโคไซด์ที่อยู่ระหว่างการประเมินจึงไม่น่าจะทำให้เกิดอาการแพ้เมื่อบริโภคในอาหาร”

ผู้ที่มีประสบกับภาวะภูมิแพ้น้ำตาล (Sugar allergy) หรือมีอาการแพ้น้ำตาลซูโครส (Sucrose-isomaltose malabsorption) อาจลองหันมาใช้ใบหญ้าหวานสกัดหรือสตีเวียทดแทนน้ำตาลเพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพ้ซูโครสค่ะ

ข้อควรรู้ก่อนการบริโภคใบหญ้าหวานสกัด
  • หลีกเลี่ยงการบริโภคใบหญ้าหวานดิบ คุณควรเลือกใบหญ้าหวานสกัดที่ผ่านกระบวนการผลิตจากผู้ผลิตที่เชื่อถือได้ เพราะการบริโภคใบหญ้าหวานดิบอาจเป็นอันตรายต่อไต ระบบสืบพันธุ์ ระบบหัวใจและหลอดเลือดได้ นอกจากนี้ยังอาจลดความดันโลหิตให้ต่ำลงจนเกินไป หรือมีปฏิกิริยากับยาที่คุณใช้ได้
  • สำหรับสตรีมีครรภ์และคุณแม่ที่อยู่ระหว่างการให้นมบุตร อาจจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ใบหญ้าหวานสกัด
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวานจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ใบหญ้าหวานสกัด เพราะถึงแม้ว่ามีงานวิจัยบางชิ้นที่ชี่ให้เห็นว่า สารประกอบหรือสารเคมีบางชนิดที่มีในใบหญ้าหวานอาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด แต่ยังมีงานวิจัยบางชิ้นที่ไม่สนับสนุนในเรื่องนี้
  • ผู้ที่มีภาวะภูมิแพ้ต่อแร็กวีด (Ragweed) หรือหญ้าในสกุลเดียวกันเช่น เบญจมาศ เดซี่ ดาวเรือง และพืชอื่น ๆ เพราะในทางทฤษฎียังมีผู้ที่มีปฏิกิริยาไวต่อแร็กวีดและพืชในสกุลเดียวกัน จึงอาจมีปฏิกิริยาไวต่อโรคเบาหวาน
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคไต และโรคความดันโลหิตสูงควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ใบหญ้าหวานสกัด



เคล็ดไม่ลับ..เติมความหวานให้กับอาหารจานโปรดของคุณ

คุณสามารถใช้หญ้าหวานทดแทนน้ำตาลในอาหารและเครื่องดื่มที่คุณชื่นชอบ เพื่อเพิ่มรสชาติหวานแบบธรรมชาติ เช่น
  • เครื่องดื่มร้อนอย่าง กาแฟ โกโก้ หรือชา
  • ปรุงรสโยเกิร์ตรสธรรมชาติที่ไม่หวาน
  • เติมความหวานอาหารหมักดอง
  • ปรุงรสในน้ำปั่นอย่าง ผักผลไม้ปั่น หรือสมูทตี้
  • ใช้เป็นเครื่องปรุงอาหารรับประทานที่บ้าน ได้ทั้งรสหวานจากธรรมชาติและสุขภาพที่ดี

อย่างไรก็ตาม สำหรับการใช้ใบหญ้าหวานสกัดทดแทนน้ำตาลไม่ว่าจะเป็นการประกอบอาหาร หรือเพื่อการปรุงรสอาหารก่อนรับประทาน ควรอ่านฉลากผลิตภัณฑ์และใช้ในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพกันนะคะ

ที่สำคัญ.. อย่าลืมเลือก ฟิตเน่ สวีท สตีเวีย ใบหญ้าหวานสกัด 1 ช้อนชา (0 แคลอรี่) ให้ความหวานเท่ากับ น้ำตาลทราย 1 ช้อนชา (16 แคลอรี่) ช้อนต่อช้อนเหมือนเดิม ไม่ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้น้ำตาล สะดวกปรุงรสอาหารและเครื่องดื่มได้ทั้งร้อนและเย็น

แชทผ่านไลน์ @Liveandfit