
การทำงานในยุคดิจิทัลนี้ต้องมีความรวดเร็ว แม่นยำ เต็มไปด้วยคุณภาพ ประสิทธิภาพ และพร้อมที่จะรับมือกับความเปลี่ยนแปลง รับมือกับปัญหาต่าง ๆ ที่อาจถาโถมเข้ามาให้ได้แก้ไขตลอดเวลา จนเกิดความสามารถในการทำงานหลายอย่างพร้อมกันได้ ในเวลาเดียวกัน หรือที่เราเรียกว่า การทำงานแบบมัลติทาสกิ้ง (Multitasking) หรือการทำงานตั้งแต่สองอย่างขึ้นไป แต่รู้ไหมว่าการทำงาน Multitasking เสี่ยงทำให้สมองพังแบบไม่รู้ตัว [1]
ด้วยมีหลายคนเข้าใจว่า Multitasking การทำงานหลายอย่างพร้อมกันได้ในเวลาเดียวกันนั้น บ่งบอกถึงความสามารถเฉพาะตัว หรือมีทักษะสำคัญที่ช่วยเพิ่มความสามารถในการทำงาน หรือในบางคนสามารถทำงานแบบ Multitasking ได้ดี ที่อาจเกิดจากความชำนาญส่วนตัว หรือในบางคนจัดระบบการใช้ความคิดได้ดี จัดลำดับความสำคัญของงานได้ และมีการประมวลผลอย่างเป็นระบบ มีส่วนทำให้สามาถทำงานหลายอย่างไปพร้อม ๆ กันได้สำเร็จ
แต่ในความเป็นจริง สมองของคนเราไม่ได้เตรียมพร้อมสำหรับการทำงานหลายอย่างพร้อมกัน ไม่ได้ถูกสร้างมาให้ประมวลผลอะไรหลายอย่างพร้อมกัน ต่างจากคอมพิวเตอร์ที่สามารถประมวลผลจากข้อมูลจำนวนมากได้ และสมองของคนเราก็ถูกออกแบบมาให้โฟกัสกับการทำงานทีละอย่างเท่านั้น เมื่อสมองต้องทำงานหลายอย่างพร้อมกัน ต้องสลับสับเปลี่ยนไปมา จึงทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลง หลายคนจะนึกภาพออกหรือจะเข้าใจว่า ทำไมฉันเคยมีอาการ มึน งง หรือ เบลอ จับต้นชนปลายหรือไปต่อไม่ถูก เช่น กำลังจะทำอะไรนะ ทำอะไรค้างไว้นะ ยิ่งเมื่อมีสถานการณ์ที่ถูกรบกวนจากสภาพแวดล้อมเพิ่มเติม เช่น กำลังส่งอีเมลให้ลูกค้าในขณะที่ต้องฟังการประชุมไปด้วย แล้วขณะนั้นก็มีโทรศัพท์เข้ามาให้ต้องทำอะไรสักอย่าง ที่สำคัญไปกว่านั้น การเปลี่ยนสิ่งที่โฟกัสอยู่ สลับไปสลับมานั้น หัวจะปวดเลยใช่ไหม และอาจทำให้เกิดภาวะสมองล้า หรือ Brain Fog ที่ส่งผลทำให้สมาธิสั้นได้อีกด้วย
มีงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องของ Multitasking พบว่าจำนวนคนประมาณ 2.5% เท่านั้น ที่สามารถทำงานแบบ Multi-tasking ได้ดี เนื่องจากสมองของคนเราถูกออกแบบมาให้โฟกัสกับการทำงานทีละอย่างเท่านั้น นอกจากนี้เวลาส่วนใหญ่ที่เราคิดว่ากำลัง Multitasking นั้น ความจริงก็คือการทำทีละอย่างในอัตราที่เร็วขึ้น หรือสลับทำไปทีละอย่างนั่นเอง และไม่ได้หมายความว่าจะทำงานได้มากขึ้นแต่อย่างใด [1] [2]
จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อทำงานแบบ Multitasking

- ชอบขี้ลืมและมีสมาธิสั้น การจดจ่อตั้งใจทำงานที่มากกว่าหนึ่งงานในเวลาเดียวกัน หรือทำงานสลับกันไปมาระหว่าง 2 งานขึ้นไป มีส่วนทำให้สมาธิและประสิทธิภาพขณะทำงานนั้น ๆ น้อยลง ทั้งยังไม่สามารถรับข้อมูลต่าง ๆ ได้เท่ากับการทำงานเป็นอย่าง ๆ ไป ซึ่งผลที่อาจตามมาก็คือ มีอาการความจำสั้น สมาธิสั้น หลงลืม จำอะไรไม่ค่อยได้นั่นเอง
- ความเครียดสะสม การทำงานของสมองต้องใช้พลังงานเป็นอย่างมากในการปรับหรือเปลี่ยนโฟกัสทุกครั้งที่สลับไปทำงานอย่างอื่น และทำให้สมองต้องใช้เวลามากกว่าการเลือกที่จะทำงานทีละอย่าง โดยมีงานวิจัยที่ศึกษาพบว่าการทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกันนั้นทำให้เราทำงานได้น้อยลงถึง 40% และอาจทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะมีภาวะเครียดจากการต้องรับมือกับหลายงานพร้อมกัน รวมถึงความเครียดเรื้อรังสะสมจากการทำงานได้น้อยลง และอาจต้องมีการทำงานชดเชยหรือทำงานล่วงเวลาในทุก ๆ วัน
- สมองสับสนความคิดแปรปรวน มีอีกหนึ่งงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ศึกษาพบว่า คนที่ทำงานแบบ Multitasking จะมีทักษะในการแยกแยะข้อมูลที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องออกจากกันได้น้อยลง อักทั้งยังมีปัญหาในเรื่องของกระบวนการทางความคิด หลังจากสลับไปทำงานอย่างอื่น ยิ่งไปกว่านั้น ประสิทธิภาพการทำงานของสมอง ของคนที่ทำงานในลักษณะนี้มาเป็นเวลานานจะลดลง แม้จะจดจ่อกับการทำงานเพียงงานเดียวก็ตาม [2]
- เพลียสมอง อ๋อง ๆ สมองอ่อนล้า ความรู้สึกของคนที่เหมือนเมื่อจบวันแล้ว แต่ทำไมยังรู้สึกเหนื่อย รู้สึกเพลีย ทั้งที่ไม่ได้ไปออกแรงหรือใช้กำลังงานอะไรเลย สมองหน่วงๆ ตื้อๆ ตันๆ ไม่ Fresh หรือในบางคนที่รู้สึกว่าสมอง อ๋อง ๆ ประมวลผลช้า แถมยังมีอาการนอนไม่หลับ หรือนอนหลับไม่สนิท ตื่นเช้าแล้วรู้สึกไม่สดชื่นอีกด้วย เพราะคุณอาจจะกำลังอยู่ในภาวะสมองล้า หรือ Brain Fog Syndrome เป็นภาวะที่สมองทำงานหนักมากเกินไปและทำงานหนักเป็นเวลานานจนส่งผลต่อสมองในส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมระบบไฟฟ้าระหว่างเซลล์ระบบประสาท ทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ เหมือนกับการที่มีหมอกมาบดบังการทำงานของสมอง และเป็นที่มาของคำว่าชื่อ Brain Fog Syndrome ที่ถึงแม้อาการจะไม่มีอันตรายมาก แต่หากปล่อยให้ภาวะสมองล้าเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ก็จะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงอื่น ๆ ตามมาได้ เช่น โรคอัลไซเมอร์ สมองเสื่อมก่อนวัย โรคพาร์กินสัน เป็นต้น [3]
การทำงานหลายอย่างพร้อมกันในเวลาเดียวกัน ยังมีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์ในผู้ที่มีอาการซึมเศร้าและผู้ที่มีอาการวิตกกังวลอีกด้วย โดยผลกระทบเหล่านี้อาจเกิดขึ้นชั่วคราว หรือเกิดขึ้นในระยาวก็อาจเป็นได้ แต่ความเครียดที่เพิ่มขึ้น ส่งผลไปถึงความดันโลหิตและเรื้อรังไปถึงขั้นอาจส่งผลอย่างถาวรต่อสมอง โดยเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองและความบกพร่องทางสติปัญญาอีกด้วย
มีงานวิจัยจาก University of Sussex (UK) ที่ใช้ MRI สแกนสมองของผู้ที่ทำงานแบบ Multitasking แล้วพบว่าสมองของคนไม่อาจทำงานได้เต็มประสิทธิภาพเมื่อต้องทำงานหลายอย่างพร้อมกัน แล้วถ้าหากคุณยังทำงานแบบ Multitasking ไปเรื่อย ๆ ในระยะยาวแล้ว อาจส่งผลกระทบทำให้คุณต้องเผชิญกับโรคสมองเสื่อมก่อนวัยอันควรก็เป็นได้
บำรุงสมอง ดูแลรักษา และป้องกันภาวะสมองพัง
- จัดการตารางงานใหม่และเลือกโฟกัสงานใดงานหนึ่งเป็นหลัก เมื่อมีงานที่มากขึ้น ควรจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังเป็นงาน ๆ หากพะวงกับงานที่ 2 หรือ 3 แก้ไขด้วยการจัดตารางงานใหม่ เพื่อบอกสมองว่าจะทำงานอื่น ๆ ต่อหลังจากจบงานนี้ แล้วทำงานทีละชิ้น กำหนดเวลาในการทำงานให้แน่นอน เป็นการเลือกโฟกัสงานใดงานหนึ่งเป็นหลัก ไม่วอกแวกไปทำงานอื่น เช่น กำหนดเวลาเช็กอีเมลในแต่ละวัน แทนที่การเช็กอีเมลตลอดทั้งวัน พร้อมปรับปรุงสิ่งแวดล้อมรอบตัวเวลาทำงานให้เป็นระเบียบมากขึ้น ไม่ให้ความยุ่งเหยิงทางสายตารบกวนสมองของคุณ
- สร้างความผ่อนคลายระหว่างทำงาน ด้วยการพักสายตา หรือลุกเดิน เปลี่ยนท่านั่งทุก 1-2 ชั่วโมง หรือพยายามพักด้วยการทำสมาธิ การหายใจเข้าลึก ๆ มีส่วนช่วยไม่ให้เกิดความเครียดจนส่งผลเสียต่อสมอง นอกจากนี้การผ่อนคลายตนเองให้มากขึ้นยังส่งผลดีต่อสภาพจิตใจอีกด้วย
- ไม่รับข่าวสารด้านลบที่ทำให้เกิดความเครียด เพราะในบางขณะที่กำลังเครียดกับงาน แล้วมาเล่นโซเชียลเจอข่าวสารเชิงลบที่อาจทำให้ไม่สบายใจตลอดทั้งวันได้ ควรพักการเล่นโซเชียลในบางจังหวะที่มีข่าวสารเชิงลบ แล้วไปทำกิจกรรมอื่นที่ตนเองชื่นชอบเพื่อสร้างความผ่อนคลายให้ตัวเอง หรือทำ Social Detox ที่เป็นอีกหนึ่งเทรนด์สุขภาพของคนยุคใหม่ ใช้บำบัดการเสพติดเทคโนโลยีหรือสื่อสังคมออนไลน์ ด้วยการลดบทบาทการใช้โซเชียลมีเดียให้น้อยลง ไปจนถึงขั้นตัดการใช้โซเชียลมีเดียออกไปจากชีวิต [11]
- ใส่ใจดูแลสุขภาพ รักตัวเองให้มากขึ้น พยายามพักผ่อนด้วยการนอนหลับวันละ 7 ชั่วโมงขึ้นไป กินอาหารที่มีประโยชน์ เน้นผักผลไม้ที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ และวิตามินต่าง ๆ รวมไปถึงหาเวลาออกกำลังกายบ้าง หรือเป็นไปได้ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ดูแลสุขอนามัย สิ่งพื้นฐานเหล่านี้สามารถช่วยรักษาและต่อต้านภาวะสมองพังได้เป็นอย่างดี [4]
- บำรุงสมองให้ไบร์ท คิดชัด โฟกัสเต็มร้อย เพราะคนส่วนใหญ่จะคุ้นเคยว่า ภาวะสมองเสื่อม สมองพัง เป็นเรื่องของคนสูงวัย ที่มักจดจำอะไรไม่ค่อยได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ภาวะสมองเสื่อม สมองพัง เป็นเรื่องใกล้ตัวของกลุ่มคนวัยทำงานที่ถือเป็นกลุ่มเสี่ยง รวมไปถึงกลุ่มคนวัยเรียนที่ต้องบำรุงสมอง ดูแลรักษาป้องกันภาวะสมองพัง ด้วยการเลือกเติมคุณค่าสารอาหารสำคัญจากธรรมชาติเพื่อการบำรุงสมอง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยดูแลปกป้องเซลล์ประสาทและสมองไม่ให้เสื่อมก่อนวัย
หลักใน "การเลือกเติมสารอาหารจากธรรมชาติเพื่อการบำรุงสมอง" ให้ไบร์ท คิดชัด โฟกัสเต็มร้อย
● เติมสารอาหารประเภทสารต้านอนุมูลอิสระ ลดปัญหาอนุมูลอิสระทำร้ายสมอง
● เติมสารอาหารที่มีส่วนช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดเข้าสู่สมอง
● เติมสารอาหารที่ไม่ปนเปื้อนสารโลหะหนักหรือสารเคมีต่าง ๆ
● เติมสารอาหารบำรุงสมอง
เพราะสมองต้องพึ่งพาสารอาหารจำเป็นจากทั้ง 5 หมู่ เพื่อส่งเสริมการทำงานของสมองและทุกส่วนทั่วร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามินและเกลือแร่ ดังนั้น จึงควรกินอาหารอย่างหลากหลายให้ได้ครบ 5 หมู่ ในสัดส่วนที่พอเหมาะ ไม่มากไม่น้อยจนเกินไป และเพิ่มเติมเสริมสารอาหารบำรุงสมอง ดังนี้
พรมมิ (Bacopa)
พรมมิ (Bacopa) สมุนไพรที่มีสรรพคุณช่วยเพิ่มความจำ บำรุงสมอง จากข้อมูลทางเภสัชวิทยาพบว่า พรมมิ (Bacopa) มีสารออกฤทธิ์ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของความจำ การตัดสินใจ ช่วยปกป้องเซลล์สมอง มีฤทธิ์ต้านความจำเสื่อม ช่วยในเรื่องของการนอนหลับ และลดความวิตกกังวลได้

พรมมิ (Bacopa) เป็นสมุนไพรไทยพื้นบ้านที่พบได้ทั่วทุกภาคในประเทศไทย โดยมีหลักฐานการนำสมุนไพรพรมมิ (Bacopa) มาใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาแผนโบราณตั้งแต่สมัยอยุธยา เช่น ยาเขียวมหาพรหม ยาแก้ซางแห้งในเด็ก พรมมิ (Bacopa) มีสรรพคุณที่โดดเด่นในเรื่องของการบำรุงสมอง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของสมองในด้านความจำ การเรียนรู้ ชะลอ ป้องกัน หรือลดอาการหลงลืม โดยสามารถนำต้นพรมมิ (Bacopa) มาทำเป็นอาหารได้ตามปกติ [5] ในตำราอายุรเวทของอินเดียยกให้ พรมมิ (Bacopa) เป็นทั้งอาหารและยาสมุนไพรที่มีส่วนช่วยเพิ่มความจำ บำรุงสมอง [6]
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของพรมมิ (Bacopa)
มีงานวิจัยที่ศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของพรมมิ (Bacopa) มากมาย โดยเฉพาะฤทธิ์หรือสรรพคุณของพรมมิ (Bacopa) ที่เกี่ยวข้องกับระบบการทำงานของสมองและระบบประสาท ที่เกี่ยวพันกับการเสริมประสิทธิภาพในการเรียนรู้ เพิ่มการจดจำ คลายความวิตกกังวล ช่วยต้านการซึมเศร้า และมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่เกี่ยวข้องกับสารสื่อประสาทในสมอง และอาจเกี่ยวข้องกับการรักษาโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) เป็นต้น ซึ่งเป็นงานวิจัยศึกษาทั้งในวัตถุดิบที่เป็นพืชสมุนไพรพรมมิ สารสกัดจากสมุนไพรพรมมิ สารผสมซาโปนิน (saponins) ที่ได้จากสมุนไพรพรมมิ ที่เรียกว่า bacoside A และในรูปแบบสารบริสุทธิ์ นอกจากนี้ งานวิจัยยังศึกษาถึงกลไกการออกฤทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องระบบประสาท ของสมุนไพรพรมมิ รวมถึงการศึกษาพิษวิทยาของสารสกัดพรมมิ และศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาอื่น ๆ ในสมุนไทยพรมมิ [6]
และพบว่าสารสกัดจากพรมมิ (Bacopa) มีชื่อเสียงด้านการส่งเสริมความจำและการเรียนรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบำรุงสมองและฟื้นฟูสมองจากการใช้งานหนัก และมีคุณสมบัติเสริมประสิทธิภาพความจำผ่านกระบวนการทางชีวภาพหลายประการ
- กระตุ้นการสังเคราะห์ สารสื่อประสาท ที่ช่วยในการเรียนรู้และความจำ
บำรุงสมองด้วยพรมมิ ช่วยเพิ่มระดับของสารสื่อประสาท อะเซทิลโคลีน (Acetylcholine) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการเรียนรู้และความจำ การเพิ่มปริมาณอะเซทิลโคลีน จะช่วยเสริมการส่งสัญญาณในสมอง ทำให้สมองสามารถจดจำข้อมูลได้ดีขึ้น
- ปกป้องเซลล์สมองจากความเครียดออกซิเดชัน (Oxidative Stress)
บำรุงสมองด้วยพรมมิ ได้รับคุณค่าของสารสำคัญในพรมมิ ได้แก่ แบโคไซด์ (Bacosides) ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีส่วนช่วยปกป้องเซลล์สมองจากความเสียหายที่เกิดจากความเครียดออกซิเดชัน โดยลดความเสื่อมของเซลล์ประสาทในสมองและสนับสนุนการสร้างเซลล์ใหม่
- เพิ่มการไหลเวียนของเลือดในสมอง
บำรุงสมองด้วยพรมมิ ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ทำให้สมองได้รับออกซิเจนและสารอาหารที่จำเป็น ส่งผลให้การทำงานของสมองเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อความจำและสมาธิ โดยเฉพาะในช่วงที่ต้องทำงานหรือเรียนรู้ข้อมูลใหม่ ๆ
- ลดความเครียดและคลายความวิตกกังวล
บำรุงสมองด้วยพรมมิ ช่วยลดความเครียดและความวิตกกังวล ช่วยให้จิตใจสงบลง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้สมองมีความพร้อมในการจดจำและเรียนรู้ได้ดีขึ้น
จากงานวิจัยศึกษา
- มีงานวิจัยที่ทำการทดสอบทางคลินิกในมนุษย์พบว่า พรมมิ (Bacopa) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจดจำในเด็กและในผู้ใหญ่
โดยให้เด็กนักเรียนกินสารสกัดพรมมิ 350 มก. ต่อวัน เป็นเวลา 3 เดือน พบว่าสามารถสร้าง เสริมหรือเพิ่มการเรียนรู้ได้ดี
การทดสอบทางคลินิกพบว่ากินสารสกัดพรมมิ 300 มก. ต่อวัน ในอาสาสมัครที่มีสุขภาพดี 38 คน และมีอายุระหว่าง 18-60 ปี พบว่าสามารถสร้างเสริมหรือเพิ่มการเรียนรู้ได้ดีเช่นกัน
การทดลองในผู้สูงอายุ มากกว่า 55 ปี ด้วยการกินสารสกัดพรมมิ 300-600 มก. ต่อวัน พบว่ามีคุณภาพชีวิตที่ดีเพิ่มขึ้น มีประสิทธิภาพของการทรงตัว เพิ่มการตื่นตัวต่อสิ่งเร้า และลดความวิตกกังวล
- งานวิจัยในปี 2008 ที่ตีพิมพ์ใน Journal of Alternative and Complementary Medicine พบว่าผู้ที่กินสารสกัดจากพรมมิเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ มีการพัฒนาทางด้านความจำระยะยาว และการประมวลผลข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น
- งานวิจัยจาก Australia’s Swinburne University ศึกษาพรมมิแล้วพบลว่า พรมมิ (Bacopa) มีส่วนช่วยลดความวิตกกังวล การทำงานของสมองที่ดีขึ้น ทั้งด้านการจดจำ การเรียนรู้ และการรับรู้ข้อมูลในระยะยาว
ดังนั้น สารสกัดจากพรมมิเป็นอีกหนึ่งสมุนไพรที่มีงานวิจัยรับรองว่า สามารถช่วยเสริมสร้างความจำและการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงช่วยคลายความเครียดที่อาจส่งผลเสียต่อสมองของคุณ
โสม หรือ สารสกัดจากโสม
โดยเฉพาะโสมเกาหลี (Panax ginseng) มีสารสำคัญชื่อว่า จินเซโนไซด์ (Ginsenosides) ที่มีคุณสมบัติช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในสมอง ทำให้เซลล์สมองได้รับออกซิเจนและสารอาหารอย่างเพียงพอ จึงสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ เพิ่มพลังงานและลดความเหนื่อยล้าของสมอง ทำให้รู้สึกสดชื่นและมีสมาธิดีขึ้น นอกจากนี้ จินเซโนไซด์ยังช่วยปกป้องเซลล์ประสาทจากความเสียหายที่เกิดจากความเครียดออกซิเดชัน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการป้องกันโรคที่เกี่ยวข้องกับความเสื่อมของสมองในระยะยาว เช่น โรคอัลไซเมอร์

สารสกัดจากโสม เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในด้านการช่วยบำรุงสมองและเติมพลังในการทำงานของสมองผ่านหลายกลไกที่ได้รับการศึกษา ดังนี้
- เพิ่มพลังงานและลดความเหนื่อยล้าของสมอง
โสมมีสารสำคัญชื่อว่า จินเซโนไซด์ (Ginsenosides) ที่มีคุณสมบัติช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในสมอง ทำให้เซลล์สมองได้รับออกซิเจนและสารอาหารอย่างเพียงพอ จึงสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งการไหลเวียนเลือดที่ดีขึ้นนี้ช่วยลดความเหนื่อยล้าของสมอง ทำให้ผู้ใช้รู้สึกสดชื่นและมีสมาธิดีขึ้น
- เพิ่มประสิทธิภาพการจดจำและเสริมสร้างการเรียนรู้
มีงานวิจัยหลายชิ้นที่ศึกษาพบว่า โสม สามารถช่วยกระตุ้นการทำงานของสารสื่อประสาท อะเซทิลโคลีน (Acetylcholine) ที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการเรียนรู้และความจำ ทำให้ช่วยเสริมความจำระยะยาวและการรับรู้ (Cognition) ได้ดีขึ้น นอกจากนี้ จินเซโนไซด์ยังช่วยปกป้องเซลล์ประสาทจากความเสียหายที่เกิดจากความเครียดออกซิเดชัน ซึ่งอาจนำไปสู่การเสื่อมของสมองได้
- เติมเต็มความอารมณ์ดี ช่วยลดความเครียด
โสม มีผลในการช่วยลดความเครียดผ่านการปรับระดับฮอร์โมนความเครียด โดยสามารถช่วยลดระดับคอร์ติซอลในร่างกาย ช่วยให้สมองผ่อนคลายและคลายความกังวลได้ดีขึ้น ทำให้มีสมาธิที่ดีขึ้นและลดอาการสมองล้าในระหว่างวัน
- เสริมสร้างความแข็งแรงของเซลล์ประสาท
โสมมีฤทธิ์ต้านการอักเสบและสารต้านอนุมูลอิสระสูง ซึ่งสามารถช่วยลดการอักเสบของสมองและป้องกันความเสียหายของเซลล์ประสาท ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการป้องกันโรคที่เกี่ยวข้องกับความเสื่อมของสมองในระยะยาว เช่น โรคอัลไซเมอร์
จากงานวิจัยศึกษา
- มีงานวิจัยที่ศึกษา โสม ในปี 2010 พบว่า ผู้ที่รับประทานโสมเป็นประจำ มีการทำงานของสมองที่ดีขึ้น โดยเฉพาะในด้านความจำ การเรียนรู้ และการตัดสินใจ
- งานวิจัยที่ตีพิมพ์ใน Journal of Psychopharmacology ระบุว่า โสมสามารถช่วยลดความเครียดและเพิ่มสมาธิในกลุ่มคนที่ทำงานภายใต้ภาวะเครียดสูง โดยพบว่าการบริโภคโสมช่วยลดระดับคอร์ติซอลซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความเครียดได้ดี
โสม จึงเป็นสมุนไพรที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายว่าเป็น สารสกัดที่ช่วยบำรุงสมองและเพิ่มพลังในการทำงานของสมอง ทั้งในแง่ของความจำ สมาธิ และการลดความเหนื่อยล้าจากการทำงานหนัก [7] [8]
วิตามินบี12
สารอาหารสำคัญเพื่อการฟื้นฟูสมองที่อ่อนล้า เป็นสารอาหารจำเป็นต่อการทำงานของระบบประสาทและสมอง มีส่วนสำคัญในการบำรุงสมอง ฟื้นฟูสมองที่อ่อนล้า โดยเฉพาะในด้านการส่งเสริมพลังงานแก่เซลล์สมอง และป้องกันการเสื่อมของเซลล์ในระบบประสาท หากขาดวิตามินบี12 จะทำให้เซลล์ประสาททำงานช้าลง เกิดอาการเหนื่อยล้าและความจำไม่ดี การได้รับวิตามินบี12 อย่างเพียงพอจึงมีส่วนช่วยให้สมองได้รับออกซิเจนและสารอาหารที่จำเป็นอย่างต่อเนื่อง และทำให้สมองทำงานได้เต็มอย่างประสิทธิภาพ

วิตามินบี12 พบได้แต่เฉพาะในเนื้อสัตว์ ปลา สัตว์ปีก และผลิตภัณฑ์จากนมต่าง ๆ ซึ่งในคนที่ขาดวิตามินบี 12 อาจส่งผลให้เกิดภาวะสมองเสื่อมได้ ผู้ที่รับประทานอาหารมังสวิรัติ จึงควรหมั่นตรวจว่ามีโรคของวิตามินบี 12 ต่ำหรือไม่ เพราะถ้าวิตามินบี 12 ต่ำ แพทย์อาจให้รับประทานวิตามินบี 12 เป็นอาหารเสริมเพิ่มเติม เพราะวิตามิน บี12 ช่วยสร้างสารที่จำเป็นในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง และบำรุงเนื้อเยื่อประสาท มีบทบาทสำคัญในการดูแลและฟื้นฟูสมองที่อ่อนล้าผ่านหลายกลไก โดยเฉพาะในด้านการส่งเสริมพลังงานแก่เซลล์สมอง และป้องกันการเสื่อมของระบบประสาท และช่วยสนับสนุนกระบวนการต่าง ๆ ดังนี้
- ฟื้นพลังให้สมอง ลดอาการสมองล้า
วิตามินบี12 เป็นส่วนสำคัญในการช่วยสังเคราะห์ ไมอีลิน (Myelin) สารเคลือบเส้นประสาท โดยวิตามินบี 12 มีส่วนช่วยให้การส่งสัญญาณประสาทในสมองเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดการสูญเสียพลังงานระหว่างการสื่อสารของเซลล์สมอง เมื่อไมอีลินไมอีลิน (Myelin) แข็งแรงขึ้น สมองฟื้นพลัง จะสามารถทำงานได้ดีขึ้นและลดอาการล้าของสมอง
- ช่วยผลิตพลังงานให้กับเซลล์สมอง ฟื้นความจำ
วิตามินบี12 เป็นโคเอนไซม์ที่จำเป็นในกระบวนการเปลี่ยนกรดไขมันและกรดอะมิโนให้เป็นพลังงาน ซึ่งเป็นพลังงานที่จำเป็นต่อการทำงานของสมองและระบบประสาทโดยเฉพาะในส่วนที่ต้องการพลังงานสูง หากขาดวิตามินบี 12 จะทำให้เซลล์ประสาททำงานช้าลง เกิดอาการเหนื่อยล้าและความจำไม่ดี
- ลดความเสื่อมของเซลล์ ฟื้นฟูสมองล้า
วิตามินบี12 ทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความเครียดออกซิเดชันที่เป็นสาเหตุของการเสื่อมของเซลล์ประสาท เมื่อสมองได้รับการป้องกันจากอนุมูลอิสระจะช่วยลดความเสื่อมและฟื้นฟูสมองที่ล้าได้ดีขึ้น
- ฟื้นฟูประสิทธภาพการทำงานของสมอง ป้องกันภาวะขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง
การขาดวิตามินบี12 อาจทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง ซึ่งส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้ไม่เต็มที่ การได้รับวิตามินบี 12 อย่างเพียงพอจึงมีส่วนช่วยให้สมองได้รับออกซิเจนและสารอาหารที่จำเป็นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้สมองทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
จากงานวิจัยศึกษา
- American Journal of Clinical Nutrition ปี 2016 พบว่าผู้สูงอายุที่มีระดับวิตามินบี12 เพียงพอ มีการทำงานของสมองที่ดีกว่าในด้านความจำและการเรียนรู้เมื่อเทียบกับกลุ่มที่มีระดับวิตามินบี12 ต่ำ เป็นข้อบ่งชี้ว่าวิตามินบี12 ช่วยลดความเสื่อมของสมองได้ดีในระยะยาว
- งานวิจัยใน Journal of Neurology พบว่า วิตามินบี12 ช่วยเสริมสร้างไมอีลินและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคระบบประสาท ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของความเสื่อมและความล้าของสมอง วิตามินบี12 จึงมีส่วนสำคัญในการฟื้นฟูภาวะสมองล้าจากการทำงานที่ต้องใช้ความคิด ใช้สมองมาก ๆ และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของสมอง
ดังนั้น วิตามินบี12 จึงมีส่วนช่วยอย่างมากในการฟื้นฟูสมองที่เหนื่อยล้า สนับสนุนกระบวนการทำงานของระบบประสาทและเพิ่มพลังงานให้สมอง ทำให้สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ [9] [10]
เมื่องานวิจัยต่าง ๆ บอกเราว่า Multitasking ไม่ใช่สิ่งที่ส่งผลดีต่อการทำงานอีกต่อไป ครั้งหน้าที่ต้องเผชิญกับการทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกัน ให้ลองหยุด Multitasking แล้วพยายามโฟกัสงานใดงานหนึ่งไปทีละงานตามเคล็ดลับข้างต้น คุณอาจพบว่าตัวเองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เครียดน้อยลง และมีความสุขกับงานที่ทำมากกว่าเดิมก็เป็นได้
ที่มา
[1] https://www.brownhealth.org/be-well/multitasking-and-how-it-affects-your-brain-health การทำงานหลายอย่างพร้อมกันและส่งผลต่อสุขภาพสมองของคุณอย่างไร / Jennifer E. Davis, PhD / January 26, 2023
[2] https://health.clevelandclinic.org/science-clear-multitasking-doesnt-work เหตุใดการทำงานหลายอย่างพร้อมกันจึงไม่ทำงาน / Health Essentials logo / Cleveland Clinic
[3] https://www.petcharavejhospital.com/th/Article/article_detail/Brain-Fog-Syndrome ภาวะสมองล้า / โรงพยาบาลเพชรเวช
[4] https://community.thriveglobal.com/9-ways-multitasking-is-killing-your-brain-and-productivity-according-to-neuroscientists/ การทำงานหลายอย่างพร้อมกันทำร้ายสมอง / Thrive Global
[5] https://www.gpoplanet.com/th/blog/15285/brahmi?srsltid=AfmBOor2QIbjqpksqLtkIb3MUBO-y8QWL12qHXUBvMAiF_VjExqev5j5 พรมมิ สมุนไพรพื้นบ้านบำรุงสมอง / GPOPLANETองค์การเภสัชกรรม
[6] https://www.nupress.grad.nu.ac.th/พรมมิ-บำรุงความจำ/ พรมมิ สมุนไพรบำรุงความจำ / สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร
[7] http://lib3.dss.go.th/fulltext/dss_j/2561_66_208_P18-20.pdf / จินเซโนไซด์ เสริมแกร่ง สร้างสุขภาพ / วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ ปีที่ 66 ฉบับที่ 208 กันยายน 2561
[8] https://pmc.ncbi.nlm.nih.gov/articles/PMC8020288/ ศักยภาพทางเภสัชวิทยาของโสมและส่วนประกอบหลักของโสม
[9] https://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content?contenttypeid=19&contentid=vitaminb-12 / วิตามิบี12 / UNIVERSITY of ROCHESTER MEDICAL CENTER
[10] https://www.healthline.com/nutrition/vitamin-b12-benefits / ประโยชน์ต่อสุขภาพของวิตามินบี 12 ตามหลักวิทยาศาสตร์ / healthline
[11] https://www.pobpad.com/social-detox-โซเชียลดีท็อกซ์-บำบัด