LOGIN / REGISTER
OR
New Register
การดำเนินการต่อถือว่าคุณยอมรับ
Terms of Use and Privacy Policy
เราอาจส่งข่าวสารให้ท่าน ท่านสามารถปิดการรับข่าวสาร
ได้โดยเปลี่ยนการตั้งค่าในบัญชีของท่าน
เราจะไม่ส่งข่าวสารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากท่าน
LOGIN / REGISTER
New Register
Or Login By
OR
Order by Guest Account
การดำเนินการต่อถือว่าคุณยอมรับ
Terms of Use and Privacy Policy
เราอาจส่งข่าวสารให้ท่าน ท่านสามารถปิดการรับข่าวสาร
ได้โดยเปลี่ยนการตั้งค่าในบัญชีของท่าน
เราจะไม่ส่งข่าวสารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากท่าน
MY CART
Manage Item
ยังไม่มีคำสั่งซื้อ
You might also like
PRODUCTS
CUSTOMER SERVICE
ABOUT US
PROMOTION
REWARDS
HELPING
สัญญาณอันตราย บอกภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
สัญญาณอันตราย บอกภาวะน้ำตาลในเลือดสูง

ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เป็นศัพท์ทางการแพทย์สำหรับภาวะที่ระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดเพิ่มสูงขึ้นกว่าระดับปกติ ซึ่งเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน และบางครั้ง ภาวะนี้อาจส่งผลต่อผู้ที่ไม่เป็นโรคเบาหวานได้เช่นกัน แต่คนเหล่านั้นมักจะป่วยหนัก เช่น ผู้ที่เพิ่งเป็นโรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือมีการติดเชื้อรุนแรง อีกทั้งภาวะนี้อาจไม่ก่อให้เกิดอาการใด ๆ หรืออาจก่อให้เกิดอาการรุนแรงจนนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่สามารถคุกคามต่อชีวิตได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานานหลายเดือน หรือหลายปี อาจส่งผลต่อความเสียหายถาวรของร่างกาย เช่น ดวงตา เส้นประสาท หน่วยไต และหลอดเลือด

น้ำตาลในเลือดสูง มักไม่มีอาการบ่งบอกในช่วงแรก แต่เริ่มสังเกตเห็นความผิดปกติได้เมื่อระดับน้ำตาลสูงเกิน 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป อาจใช้เวลาหลายวันไปจนถึงหลายสัปดาห์ จึงจะแสดงอาการอย่างค่อยเป็นค่อยไป และอาการของภาวะน้ำตาลในเลือดสูงที่พบได้บ่อย มีดังนี้

อาการในช่วงเริ่มต้น

◾ ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะในช่วงกลางคืน ◾ มองเห็นไม่ชัด ◾ กระหายน้ำมาก ◾ ปวดศีรษะ ◾ เหนื่อยง่าย


อาการของผู้ที่ระดับน้ำตาลสูงขึ้น และไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีอาจเกิดภาวะเลือดเป็นกรดจากการสะสมของสารคีโตน (Ketones) ซึ่งเป็นของเสียในเลือดและปัสสาวะ ทำให้มีอาการอื่น ๆ ตามมา เช่น

◾ ลมหายใจมีกลิ่นคล้ายผลไม้ ◾ หายใจสั้น ◾ ปากแห้ง ◾ คลื่นไส้ อาเจียน ◾ ปวดท้อง

◾ อ่อนเพลีย ◾ น้ำหนักลด ◾ รู้สึกสับสน ◾ แผลหายช้ากว่าปกติ ◾ ติดเชื้อบริเวณช่องคลอดหรือผิวหนัง ◾ ในรายที่อาการรุนแรงอาจเป็นลม หมดสติ

◾ เส้นประสาทเสียหาย ส่งผลให้มีอาการเท้าเย็นจนปวดหรือไม่มีความรู้สึก ขนขาล่วง หรือหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

◾ มีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหารและลำไส้ เช่น ท้องผูกหรือท้องเสียเรื้อรัง

◾ มีปัญหาเกี่ยวกับดวงตา หลอดเลือด หรือไต

ควรดูแลตัวเองอย่างไรเมื่ออยู่ในภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
เพราะระดับน้ำตาลในเลือด เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา การป้องกันหรือการดูแลตัวเองที่ดีจึงอยู่ที่ความใส่ใจในเรื่องการรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงหรือลดปริมาณการกินหวาน หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ส่วนผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือเป็นโรคเบาหวานนั้น ควรตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ หลีกเลี่ยงน้ำตาลหรือเลือกใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล รับประทานยาและไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ และหากพบความผิดปกติของระดับน้ำตาลในเลือด ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการควบคุมหรือป้องกันอาการไม่ให้หนักขึ้น นะคะ
แชทผ่านไลน์ @Liveandfit