LOGIN / REGISTER
OR
New Register
การดำเนินการต่อถือว่าคุณยอมรับ
Terms of Use and Privacy Policy
เราอาจส่งข่าวสารให้ท่าน ท่านสามารถปิดการรับข่าวสาร
ได้โดยเปลี่ยนการตั้งค่าในบัญชีของท่าน
เราจะไม่ส่งข่าวสารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากท่าน
LOGIN / REGISTER
New Register
Or Login By
OR
Order by Guest Account
การดำเนินการต่อถือว่าคุณยอมรับ
Terms of Use and Privacy Policy
เราอาจส่งข่าวสารให้ท่าน ท่านสามารถปิดการรับข่าวสาร
ได้โดยเปลี่ยนการตั้งค่าในบัญชีของท่าน
เราจะไม่ส่งข่าวสารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากท่าน
MY CART
Manage Item
ยังไม่มีคำสั่งซื้อ
You might also like
PRODUCTS
CUSTOMER SERVICE
ABOUT US
PROMOTION
REWARDS
HELPING
นาฬิกาแห่งชีวิต Live & Fit ไขรหัสลับสุขภาพ ที่คุณ (อาจ) ไม่รู้
นาฬิกาแห่งชีวิต Live & Fit ไขรหัสลับสุขภาพ ที่คุณ (อาจ) ไม่รู้

ในหนึ่งวัน เรามักมองนาฬิกาอยู่หลายหน เริ่มตั้งแต่ตื่นนอน ถึงเวลากินอาหาร และใกล้เวลาเลิกงานหรือใกล้เวลาเลิกเรียน ฯลฯ ไปจนถึงเวลาเข้านอน แต่นั่นเป็นเพียงเวลาภายนอกเท่านั้น จริง ๆ แล้วร่างกายของเรามี นาฬิกาชีวิต (Body Clock) วงจรการทำงานของระบบภายในร่างกายที่มีหน้าที่ควบคุมการทำงานต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น การตื่นนอน การหิว การกิน ระบบย่อยอาหาร การหลั่งฮอร์โมน การเผาผลาญพลังงาน การขับถ่าย ไปจนถึงการนอนหลับ ซึ่งมีความเที่ยงตรงยิ่งกว่านาฬิกาข้อมือของเราเสียอีก และถ้าคุณจัดการบาลานซ์นาฬิกาภายนอกและภายในให้ตรงกันได้ ก็จะส่งผลให้ระบบต่าง ๆ ของร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และตามมาซึ่งการมีสุขภาพ ห่างไกลจากโรคภัย และมีน้ำหนักตัวที่สมดุล แต่ถ้านาฬิกาชีวิตเดินผิดปกติ สุขภาพก็จะเสื่อมลงเร็วกว่าที่ควร และนี่คือการไขรหัสลับของนาฬิกาชีวิตสู่การมีสุขภาพดี จาก Live & Fit

นาฬิกาชีวิตจะมีรอบเวลา 24 ชั่วโมง ตามเวลาปกติทั่วไป ซึ่งนาฬิกาชีวิตจะถูกควบคุมโดยแสงและอุณหภูมิภายในร่างกาย เมื่อร่างกายได้รับแสงแดดและมีอุณหภูมิในระดับที่เหมาะสม ร่างกายก็จะเริ่มทำงานตามวงจรของแต่ละวัน เพราะว่าในร่างกายของเราจะมีดวงตาที่ 3 อยู่ในสมองที่เรียกว่า ต่อมไพเนียล (Pineal Gland) โดยต่อมไพเนียลจะคอยรับรู้เกี่ยวกับแสงและความมืดโดยการสร้างสารเมลาโทนิน และเมื่อแสงสว่างลดลง หรือเมื่อถึงเวลามืดก็จะทำให้เรารู้สึกง่วง ก็หมายถึงเวลาที่เราต้องเข้านอน เนื่องจากในขณะที่เราหลับลึก ร่างกายจะมีการซ่อมแซมอวัยวะที่ถูกใช้งานมาตลอดทั้งวันอีกด้วย



การทำงานของนาฬิกาชีวิต

03.00 - 05.00 น. ตื่นเช้าวันใหม่ สูดอากาศให้ปอดสดชื่น
  • เป็นเวลาทำงานของปอด ตื่นขึ้นมาสูดอากาศบริสุทธิ์และรับแสงแดดยามเช้า ผู้ที่ตื่นในช่วงนี้เป็นประจำ ปอดจะแข็งแรง ผิวพรรณเปล่งปลั่ง เด้ง สดใส เพราะเป็นช่วงเวลาที่ปอดทำหน้าที่ฟอกเลือดได้อย่างเต็มที่ และแจกจ่ายไปยังเซลล์ต่าง ๆ ให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ

05.00 - 7.00 น. ช่วงเวลาขับถ่าย ส่งผลดีต่อลำไส้ใหญ่
  • เวลาทำงานของลำไส้ใหญ่ จึงควรขับถ่ายอุจจาระให้เป็นนิสัยทุกเช้า หากไม่ขับถ่ายจะเกิดการหมักหมมของกากของเสียในร่างกาย ก่อให้เกิดสารพิษตกค้างและไขมันสะสม ซึ่งในผู้ที่มีระบบขับถ่ายไม่เป็นปกติ ร่างกายจะดูดซึมของเสียกลับเข้าสู้ร่างกายอีกรอบ และส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างมากมาย เช่น เป็นสิว ผิวพรรณหมองคล้ำ ร้อนใน ท้องผูก อึดอัด แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย มีน้ำหนักตัว เสี่ยงเป็นโรคอ้วน เป็นโรคริดสีดวงทวาร โรคมะเร็งลำไส้ เป็นต้น
ใส่ใจดูแลระบบขับถ่ายให้เป็นปกติ ด้วย...
กินอาหารที่มีประโยชน์อุดมไปด้วยใยอาหาร เช่น ผัก ผลไม้ เพิ่มกากในระบบทางเดินอาหาร ช่วยกระตุ้นการขับถ่าย หรือเลือกกินผลิตภัณฑ์เสริมใยอาหารประเภทท็อปปิ้งแบบพกพาสะดวก สำหรับเติมลงในเครื่องดื่มหรือเมนูอาหารที่มีผักน้อยหรือไม่มีผักเลย เพื่อเพิ่มกากใยดีต่อระบบทางเดินอาหาร

กินอาหารและเครื่องดื่มที่มีจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ หรือจุลินทรีย์ชนิดดีที่สามารถพบได้ใน โยเกิร์ต นมเปรี้ยว ฯลฯ โดยจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ มีหลายชนิด เช่น บาซิลลัส โคแอกกูแลน (Bacillus coagulans) เป็นจุลินทรีย์ที่ช่วยลดอาการอุจาระร่วง ป้องกันโรคที่มีสาเหตุจากเชื้อ E. coli ช่วยในการดูดซึมแร่ธาตุในลำไส้, แซคคาโรไมซิส (Saccharomyces Boulardii) ช่วยบรรเทาอาการท้องเสีย และบรรเทาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับด้านทางเดินอาหาร แซคคาโรไมซิส เป็นยีสต์ที่พบได้ในกลุ่มโพรไบโอติกส์ ไม่มีอยู่ในร่างกายของมนุษย์ตามธรรมชาติ, บิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) เป็นจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ที่ช่วยบรรเทาอาการลำไส้แปรปรวน จากงานวิจัยพบว่าโพรไบโอติกส์ชนิดนี้ ช่วยผลิตสารตั้งต้นของภูมิต้านทานในร่างกายได้, และยังมีโพรไบโอติกส์ชนิดอื่น ๆ ที่ใช้ทางด้านการแพทย์อีกด้วย

7.00 - 9.00 น. มื้อเช้าสำคัญ กระเพาะอาหารย่อยได้ดีที่สุด
  • เป็นเวลาทำงานของกระเพาะอาหาร เพื่อการมีสุขภาพที่ดี ควรเริ่มต้นด้วยมื้อเช้าที่หลากหลายครบ 5 หมู่ ในสัดส่วนที่เหมาะสม หรือในปริมาณที่พอดีแต่มีคุณค่าของสารอาหารมากมาย ซึ่งในผู้ที่ไม่ค่อยกินอาหารเช้า อาจเสี่ยงต่อภาวะสมองเฉื่อยชาที่ส่งผลเสียต่อการเรียนและการทำงาน เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยง่าย ไม่กระฉับกระเฉง ฯลฯ ในผู้ที่มีวิถีการกินแบบสะดวก หรือกินแก้หิว ด้วยการกินแต่ขนมขบเคี้ยวก็อาจมีภาวะเสี่ยงต่อการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัว หรือลดน้ำหนักไม่ได้ผล ในช่วงเวลาที่เร่งรีบ เราสามารถเลือกสิ่งที่มีประโยชน์ให้กับกระเพาะอาหารของเราได้ เช่น สลัดผักสำเร็จรูป โยเกิร์ตใส่ผลไม้ ขนมปังธัญพืช แซนวิชอกไก่ ชาเขียวไม่ผสมน้ำตาลหรือเครื่องดื่มผสมสารให้ความหวาน ซูคราโลส ใบหญ้าหวานสกัด กาแฟดำผสมโคเอนไซม์คิวเท็น และแอล-คาร์นิทีน เพื่อคุณประโยชน์สูงสุดสำหรับคนใส่ใจตัวเอง

9.00 - 11.00 น. อย่านอนนะ ม้ามอ่อนแอ
  • ม้ามเป็นอวัยวะภายในที่อยู่ชายโครงด้านซ้าย มีความสำคัญต่อร่างกายในการทำหน้าที่ควบคุมไขมัน ควบคุมเม็ดเลือดและสร้างน้ำเหลือง ซึ่งในช่วงเวลา 9 โมงเช้า - 11 นาฬิกานี้ จึงไม่ควรกินอาหารหรือนอนหลับ เพราะจะทำให้ม้ามอ่อนแอและอ้วนง่าย ช่วงเวลานี้สมองจะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ จึงเหมาะสำหรับเป็นเวลาของการทำงานหรือเรียนที่ต้องใช้ความคิด

11.00 - 13.00 น. หัวใจทำงานหนัก หยุดพักเรื่องเครียด
  • เพราะเป็นเวลาทำงานของหัวใจ ที่ควรระวังในเรื่องของความเครียดหรือการใช้ความคิดหนัก ควรหยุดพักเพื่อกินอาหารกลางวันที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารที่เต็มไปด้วยไขมัน น้ำตาล และเลือกดื่มน้ำขิงร้อน ๆ หรือดื่มเย็นชื่นใจ น้ำขิงช่วยย่อยอาหารและดีต่อหัวใจ รสเผ็ดร้อนของขิงช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือด

13.00 - 15.00 น. งดกินอาหารให้ลำไส้เล็กทำงานเต็มที่
  • เป็นช่วงเวลาของลำไส้เล็กได้ทำหน้าที่ย่อยและดูดซึมอาหารที่เรากินเข้าไปในมื้อเที่ยง หากมื้อกลางวันไม่ได้กินอาหาร หรือกินน้อย กินไม่เพียงพอ จะรู้สึกหิวมาก ๆ ในช่วงเวลานี้ และในช่วงเวลาทำงานของลำใส้เล็กนี้ ควรงดกินอาหารทุกประเภท ลำไส้เล็กจะทำหน้าที่ดูดซึมสารอาหารที่เป็นน้ำเพื่อสร้างกรดอะมิโน สร้างเซลล์สมอง ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และสร้างไข่สำหรับผู้หญิง อีกทั้งในช่วงเวลานี้สมองจะกลับมาทำงานอย่างมีประสิทธิภาพอีกครั้ง

15.00 - 17.00 น. กระเพาะปัสสาวะเร่งกำจัดของเสีย
  • กระเพาะปัสสาวะทำหน้าที่เก็บน้ำกรองจากไต ช่วงเวลานี้กระเพาะปัสสาวะจึงรอกําจัดของเสียออกจากร่างกาย ควรดื่มน้ำเยอะ ๆ ไม่กลั้นปัสสาวะ เพราะการกลั้นปัสสาวะมีส่วนทําให้เกิดการดูดซึมของเสียเข้าสู่กระแสเลือด ส่งผลในเรื่องของความจํา ไทรอยด์ และระบบสืบพันธุ์ รวมทั้งอาจทําให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบอีกด้วย และช่วงเวลานี้ยังเป็นช่วงที่หลอดเลือดหัวใจและกล้ามเนื้อในร่างกายมีความแข็งแรง ซึ่งเหมาะสำหรับเป็นช่วงเวลาของการออกกำลังกายอีกด้วย และการมีเหงื่อออกจากการออกกำลังกาย มีส่วนช่วยในการขับของเสียออกจากร่างกายอีกทางหนึ่ง
ขอแนะนำเครื่องดื่มที่ผสมแอลคาร์นิทีน หรือ โคเอนไซม์คิวเท็น เช่น กาแฟผสมแอลคาร์นิทีน ดื่มก่อนออกกำลังกาย 30 นาที มีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิ์ภาพของการออกกำลังกาย และ กาแฟผสมโคเอนไซม์คิวเท็น ดีต่อหัวใจและระบบความดันโลหิตในร่างกาย

17.00 - 19.00 น. สดชื่นเข้าไว้ ไตไม่อ่อนแอ
  • ไต เสมือนเครื่องกรองชนิดพิเศษ ช่วยทำหน้าที่กลั่นกรองน้ำ เกลือแร่ และสารเคมีส่วนเกินที่ร่างกายไม่ต้องการ พร้อมทำการคัดหลั่งของเสียออกจากร่างกาย ในช่วงเวลานี้ควรทำใจให้สดชื่น ไม่ง่วงเหงาหาวนอน หากิจกรรมงานบ้านทำให้ร่างกายตื่นตัว และไม่ควรนอนเวลานี้ อาจทำให้ไตทำงานหนัก และหากมีอาการง่วงเหงาหาวนอนในช่วงเวลานี้บ่อย ๆ แสดงว่าอาจมีภาวะของไตเริ่มเสื่อมได้

19.00 - 21.00 น. เลี่ยงเรื่องตื่นเต้น ช่วยให้เยื่อหุ้มหัวใจผ่อนคลาย
  • เป็นช่วงเวลาของร่างกายที่พร้อมจะเข้านอน ซึ่งไม่ควรทํากิจกรรมอะไรที่ตื่นเต้น หรือใช้พลังงานเยอะ เช่น ออกกําลังหนัก ๆ หรือกินอาหารในปริมาณมาก เพราะอาหารจะไปคั่งค้างในกระเพาะ ทำให้เกิดผลเสียตามมา และมีส่วนทําให้นอนไม่หลับ เนื่องจากเยื่อหุ้มหัวใจเป็นส่วนประกอบสําคัญของหัวใจ และช่วงเวลานี้มีความสําคัญในการทํางานของระบบหมุนเวียนเลือด และขนส่งอาหาร ออกซิเจน เม็ดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ช่วงเวลานี้จึงควรทำจิตใจให้สงบ สวดมนต์ ทำสมาธิ ผ่อนคลายจิตใจแล้วเข้านอน

21.00 - 23.00 น. นอนกันเถอะ ได้เวลาทํางานของระบบอุณหภูมิในร่างกายแล้ว
  • ช่วงเวลานี้ควรทำร่างกายให้อบอุ่น ไม่อาบน้ำ หรือตากลม เพราะจะทำให้ร่างกายป่วยได้ง่าย เนื่องจากช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่ระบบหายใจ (หัวใจ ปอด), ระบบย่อยอาหาร (กระเพาะอาหาร ม้าม ตับ), ระบบขับถ่าย (ไต กระเพาะปัสสาวะ ลําไส้เล็ก) พร้อมปรับสมดุลในร่างกาย อุณหภูมิในร่างกายจะค่อย ๆ ลดลง เรียกว่าระบบความร้อนในร่างกายเริ่มทำงาน (หลายคนจะเริ่มรู้ตัวเองแล้วว่าทำไมตอนตื่นนอน ร่างกายรู้สึกร้อนภายใน) ร่างกายจะเริ่มหลั่งสารเมลาโทนิน จึงควรนอนหลับพักผ่อน แล้วอย่าลืมจิบน้้ำขิงก่อนนอน ช่วยผ่อนคลาย หรือดื่มชาชงสมุนไพรก่อนนอน สำหรับช่วยดูแลระบบขับถ่ายให้เป็นปกติ
ดื่มชาชงสมุนไพรก่อนนอนช่วยระบาย เลือกที่เป็นสมุนไพรธรรมชาติ 100% มีส่วนผสมของใบมะขามแขก ฝักมะขามแขก เหง้าโกฐน้ำเต้า และผลสมอไทย ช่วยให้มีระบบขับถ่ายที่เป็นเวลาทุกเช้าที่ตื่นนอนขึ้นมา ด้วยการกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ใหญ่ แต่ไม่ทำให้รู้สึกปวดมวนท้องด้วยฤทธิ์ของสมุนไพรเหง้าโกฐน้ำเต้าและผลสมอไทยนั่นเอง การระบายหรือการขับถ่ายที่เป็นปกติ มีส่วนช่วยขับกากของเสียที่หมักหมมในลำไส้ สร้างความสมดุลในลำไส้ ส่งผลดีโดยรวมให้กับสุขภาพภายในร่างกาย

23.00 - 01.00 น. อย่าลืมดื่มน้ำก่อนนอน ช่วยให้ถุงน้ำดีทำงานดีขึ้น
  • ถึงต้องย้ำว่าควรดื่มน้ำก่อนเข้านอน เพราะถุงน้ำดีเป็นถุงสำรองน้ำย่อยที่ได้จากตับ พร้อมส่งไปช่วยย่อยไขมันในลําไส้เล็กระหว่างนอนหลับ หากอวัยวะใดขาดน้ำก็จะไปดึงน้ำมาจากถุงน้ำดี ถ้ามีการดึงมากเกินไปอาจทำให้ถุงน้ำดีข้นและส่งผลให้นอนไม่หลับ ตื่นกลางดึก สายตาเสื่อม ปวดหัว ปวดฟัน เหงือกบวม และมีอารมณ์หงุดหงิดฉุนเฉียวง่าย

01.00 - 03.00 น. เป็นเวลาของตับ ควรหลับให้สนิท
  • เวลานี้จะเป็นเวลาที่ร่างกายต้องการพักผ่อนมากที่สุด ใครหลับสนิทในช่วงนี้ ตับจะหลั่งสารมีราโทนิน (Meratonine) เพื่อฆ่าเชื้อโรค ทำให้หน้าอ่อนกว่าวัย เพราะขณะที่เรานอนหลับ ตับจะกําจัดของเสียออกจากร่างกาย พร้อมเก็บสะสมเลือด ลดระดับน้ำตาลในเลือด โดยนำมาสกัดและเก็บไว้ในรูปของไกลโคเจน หากช่วงเวลานี้ไม่ยอมนอนหลับ อาจทำให้เลือดในตับน้อย ส่งผลให้ตอนเช้าเวียนหัว มึนหัว อ่อนเพลีย กลายเป็นคนขี้วีน หงุดหงิดได้ และตับยังมีหน้าที่ดูแลเส้นผม ขน และเล็บให้แข็งแรงสวยงามอีกด้วย
ไขรหัสนาฬิกาชีวิตสู่การมีสุขภาพดี ฉบับ Live & Fit อาจมีส่วนทำให้ใครหลายคนสังเกตตัวเองได้บ้างแล้วว่า ร่างกายของตัวเองที่รู้สึกดีหรือไม่ค่อยปกติดีนั้นเป็นเพราะอะไร และลองปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตประจำวันให้ตรงกับนาฬิกาในร่างกาย ซึ่งการปรับพฤติกรรมให้ได้ตามหลักนาฬิกาชีวิต อาจต้องใช้เวลาสักหน่อยแต่สุขภาพกลับมาดีแน่นอน
 
ที่มา
[1] รู้จักนาฬิกาชีวภาพของคุณ
[2] มารู้จักนาฬิกาชีวิต อีกหนึ่งเคล็ดลับปรับสมดุลร่างกาย
แชทผ่านไลน์ @Liveandfit