ท้องผูก อย่าคิดว่าเป็นเรื่องปกติ หากปล่อยให้ท้องผูกเป็นเวลานาน อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ต้องอยู่ในห้องน้ำนาน เกิดความเครียด ไม่สดชื่น หงุดหงิด อึดอัด ฯลฯ และอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายได้ เช่น อึดอัดจากการไม่ระบาย น้ำหนักตัวเพิ่ม “
ยิ่งท้องผูกทุกวัน รูปร่างพังมากกว่าที่คิด” เพราะคนที่มีปัญหาระบบขับถ่ายไม่ปกตินั้น มักจะมีภาวะโรคอ้วนตามมาได้ง่าย เนื่องจากเกิดการคั่งค้างของเสียและไขมันสะสมภายในร่างกาย รวมไปถึงการเกิดกลิ่นตัวกลิ่นปาก เนื่องจากมีการขับของเสียออกมาทางลมหายใจและผิวหนัง ซึ่งการขับถ่ายเป็นวิธีที่ร่างกายใช้กำจัดสารพิษที่ตกค้างภายในร่างกาย ถ้าไม่ได้ขับถ่ายทุกวัน สารพิษเหล่านั้นจะถูกดูดกลับไปสะสมในร่างกาย ทั้งในกระแสเลือดและตามอวัยวะต่าง ๆ อาจส่งผลให้เกิดปัญหา ผิวพรรณไม่สดใส หมองคล้ำ และน่ากลัวที่สุดก็คือ “
อาการท้องผูก” อาจเป็น สัญญาณเตือนของ “
มะเร็งลำไส้ใหญ่” อีกด้วย
ลองสังเกตเวลาตัวเองอยู่ในห้องน้ำนะคะว่า...
- ถ่ายยาก กว่าจะถ่ายได้ต้องใช้เวลาอยู่ในห้องน้ำนานมากและเป็นแบบนี้ประจำ
- ถ่ายน้อย ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้ง / สัปดาห์
- ถ่ายไม่ออก มีความรู้สึกเหมือนมีอะไรมาอุดกั้นบริเวณทวารหนัก
- ถ่ายออก แต่เป็นก้อนแข็งและแห้ง
- ถ่ายเสร็จ แต่ยังมีความรู้สึกว่ายังถ่ายไม่สุด
รวมไปถึงมีความรู้สึกอึดอัด แน่น ไม่สบายท้อง ถ้าการถ่ายของคุณตรงตามนี้มากกว่า 2 ข้อ แสดงว่าคุณกำลังมีอาการ “
ท้องผูก”
อาการท้องผูก เกิดจากหลายสาเหตุ โดยแบ่งออกเป็น 5 สาเหตุหลัก ดังนี้
กินอาหารมีกากใยน้อย อาจจะกินเพียง 2 ใน 3 หรือน้อยกว่า ของปริมาณที่ร่างกายต้องการได้รับต่อวัน (นักโภชนาการแนะนำให้กินเส้นใยอาหารวันละประมาณ 25 - 30 กรัม/วัน) จึงมีปริมาณใยอาหารไม่เพียงพอสำหรับการช่วยกวาดช่องทางเดินอาหาร ทำให้ไขมันและสารพิษไม่สามารถถูกขับออกไปจากร่างกาย
- ไม่ค่อยออกกำลังกาย เพราะการออกกำลังกายนอกจากจะช่วยให้ระบบเผาผลาญทำงานได้ดีขึ้นแล้ว ยังมีส่วนช่วยกระตุ้นให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้นอีกด้วย เพราะการเคลื่อนไหวร่างกายที่มีการยืดหดลำตัวและบิดลำตัวอย่างต่อเนื่อง มีส่วนทำให้กล้ามเนื้อลำไส้บีบตัว กระตุ้นเกิดการขับถ่ายกากของเสียออกมา
- ดื่มน้ำน้อย มีส่วนทำให้อุจจาระแข็งและแห้ง
- ยาบางชนิด ที่มีผลข้างเคียง เช่น กลุ่มยาทางจิตเวช ยาแก้แพ้บางชนิด ยาคุมกำเนิด ยาลดความดัน ฯลฯ
- ลำไส้ผิดปกติ ในบางคนอาจมีปัญหาของการเคลื่อนไหวลำไส้ใหญ่ช้ากว่าปกติ กล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักทำงานไม่ประสานกับการเบ่ง หรือมีภาวะลำไส้แปรปรวน
- สุขนิสัยในการขับถ่ายไม่ดี เช่น การขับถ่ายไม่เป็นเวลา ที่จำเป็นอย่างยิ่งในการปรับพฤติกรรมให้มีการขับถ่ายในเวลาเดิมทุกวัน
ท้องผูก ได้ก็ดูแลให้ ระบาย ได้ เริ่มต้นง่าย ๆ เพียงลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต
- ดื่มน้ำอุ่นแก้วใหญ่ ๆ ทันทีเมื่อตื่นนอน ช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น หลอดเลือดขยายตัว ช่วยขับสิ่งตกค้างในลำไส้ออกได้ง่ายขึ้น
- มื้อเช้าควรเน้นไฟเบอร์กันหน่อย เช่น ผัก ผลไม้ น้ำผลไม้ นม เพื่อเป็นการช่วยเสริมระบบขับถ่าย
- ไม่ไหวอย่าฝืน รู้สึกปวดท้องถ่ายตอนไหน ให้รีบเข้าห้องน้ำทันที ถ้าอั้นไว้อาจไม่ปวดอีกเลย
- ฝึกโยคะ เลือกฝึกท่าที่ช่วยในการย่อยอาหาร ลดก๊าซในท้อง โยคะยังช่วยให้ผ่อนคลายความเครียด อันเป็นสาเหตุหนึ่งของท้องผูก
- ดื่มชาชงสมุนไพรก่อนนอน เลือกชาชงที่มีคุณค่าสมุนไพรธรรมชาติของมะขามแขก ที่มีส่วนช่วยระบาย เพราะจะช่วยดูแลระบบขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ สำหรับคนที่ไม่ได้ท้องผูก ยังสามารถปรับใช้ได้ในวันที่รับประทานมื้อหนัก ต้องการการระบายเป็นพิเศษ รวมถึงสาว ๆ ที่ดูแลสุขภาพ และใส่ใจในรูปร่างอีกด้วยค่ะ