LOGIN / REGISTER
OR
New Register
การดำเนินการต่อถือว่าคุณยอมรับ
Terms of Use and Privacy Policy
เราอาจส่งข่าวสารให้ท่าน ท่านสามารถปิดการรับข่าวสาร
ได้โดยเปลี่ยนการตั้งค่าในบัญชีของท่าน
เราจะไม่ส่งข่าวสารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากท่าน
LOGIN / REGISTER
New Register
Or Login By
OR
Order by Guest Account
การดำเนินการต่อถือว่าคุณยอมรับ
Terms of Use and Privacy Policy
เราอาจส่งข่าวสารให้ท่าน ท่านสามารถปิดการรับข่าวสาร
ได้โดยเปลี่ยนการตั้งค่าในบัญชีของท่าน
เราจะไม่ส่งข่าวสารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากท่าน
MY CART
Manage Item
ยังไม่มีคำสั่งซื้อ
You might also like
PRODUCTS
CUSTOMER SERVICE
ABOUT US
PROMOTION
REWARDS
HELPING
ดูแลหัวใจให้อ่อนเยาว์ ด้วยพลังต้านอนุมูลอิสระ
ดูแลหัวใจให้อ่อนเยาว์ ด้วยพลังต้านอนุมูลอิสระ

หัวใจที่อ่อนเยาว์และแข็งแรงเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญของการมีสุขภาพดี เพราะทั่วโลกพบสถิติการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของโลก (ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) และมีมากถึงปีละ 7 หมื่นราย เฉลี่ยชั่วโมงละ 8 คน ในประเทศไทย โดยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปีอีกด้วย (ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข ปี 2565)

จริง ๆ แล้วโรคที่เกี่ยวกับหัวใจหรือภาวะต่าง ๆ ที่ส่งผลเสียต่อหัวใจ อาทิ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ, หัวใจวาย, ภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นต้น มักถูกเรียกให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า โรคหัวใจ และเมื่อหัวใจทำงานได้ไม่ดีหรือมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับหัวใจ ก็จะทำให้ระบบการหมุนเวียนเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะ เนื้อเยื่อ และเซลล์หลายล้านตัวไม่เพียงพอ เกิดผลเสียร้ายแรงต่อระบบอื่น ๆ ของร่างกายตามมา

หัวใจเป็นหนึ่งในอวัยวะสำคัญมากของร่างกาย มีขนาดประมาณกำปั้นและมีน้ำหนักระหว่าง 300 ถึง 450 กรัม ตำแหน่งของหัวใจจะอยู่ตรงกลางหน้าอก ด้านหลัง และด้านซ้ายของกระดูกหน้าอกเล็กน้อย เป็นศูนย์กลางของระบบไหลเวียนโลหิต เป็นกล้ามเนื้อที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทุกส่วนทั่วร่างกาย ผ่านระบบเครือข่ายของหลอดเลือดที่มีหลอดเลือดแดง หลอดเลือดดำ เส้นเลือดฝอย เพื่อนำเลือดที่มีออกซิเจนและสารอาหารต่าง ๆ ที่อวัยวะทุกส่วนในร่างกายต้องการ สำหรับใช้ในกระบวนการทำงานของร่างกาย โดยหัวใจต้องทำงานตลอด 24 ชั่วโมง และหากเกิดความผิดปกติต่อหัวใจ เช่น เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด ที่เกิดจากภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ส่งผลให้หัวใจขาดเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและกล้ามเนื้อหัวใจตาย เกิดภาวะหัวใจวายและเสียชีวิตได้นั่นเอง และปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดล้วนมาจาก...
  • ชอบกินอาหารรสเค็มจัด
  • ชอบกินอาหารที่มีไขมันสูง
  • ไม่ออกกำลังกาย
  • สูบบุหรี่
  • สตรีที่กินยาคุมกำเนิด
  • สตรีหลังหมดประจำเดือน
  • เป็นโรคความดันโลหิตสูง
  • มีภาวะโรคเบาหวาน
  • มีภาวะเป็นโรคอ้วน หรือน้ำหนักตัวเกินพอดี
  • มีความเครียด
  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
และอีกสาเหตุหลักของการเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตันก็มาจากสารอนุมูลอิสระรวมตัวกับไขมันที่อยู่ในกระแสเลือดและเกิดเป็นก้อนไขมันในเลือด เกาะยึดที่ผนังชั้นในของหลอดเลือดและเพิ่มปริมาณมากขึ้นจนเกิดการตีบหรืออุดตันในที่สุด

อนุมูลอิสระ (Free radical) เป็นสารที่ไม่เสถียร เป็นเพียงโมเลกุลที่อยู่เพียงตัวเดียว (ไม่มีคู่) และเกิดขึ้นเองได้จากการที่ร่างกายเกิดจากกระบวนการเผาผลาญอาหาร จากการหายใจ จากความเครียด จากความอ่อนเพลีย และจากปัจจัยกระตุ้นภายนอกร่างกาย ได้แก่ มลพิษ รังสียูวี ฝุ่น ควันบุหรี่ รวมถึงการกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ จำพวก อาหารที่มีไขมันสูง อาหารที่ผ่านความร้อนสูง เป็นต้น แต่อนุมูลอิสระจำนวนมากเกิดมาจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน

กระบวนการออกซิเดชัน (Oxidation) คือปฏิกิริยาที่โมเลกุลหรืออะตอมสูญเสียอิเล็กตรอนไปให้โมเลกุลหรืออะตอมอื่น ทำให้เจ้าอนุมูลอิสระเป็นสารที่ไม่เสถียร มีเพียงตัวเดียวไม่มีคู่ ต้องไปจับคู่กับสารอื่นในร่างกาย เกิดการถ่ายโอนอิเล็กตรอนเพื่อทำให้ตัวเองเสถียร และสารที่ถูกอนุมูลอิสระจับคู่ ก็จะเปลี่ยนเป็นอนุมูลอิสระตัวใหม่ และไปทำการจับคู่กับสารอื่นอย่างต่อเนื่อง เกิดเป็นอนุมูลอิสระจำนวนมาก เรียกว่าปฏิกิริยาออกซิเดชันแบบลูกโซ่ (กระบวนการออกซิเดชัน มีหลายรูปแบบ เช่น เราหายใจเอาออกซิเจนเข้าไป แล้วไปเผาผลาญอาหารที่กินเข้าไปเป็นพลังงาน แต่ก็ทำให้เกิดอนุมูลอิสระขึ้นมาด้วย  กระบวนการออกซิเดชันในการย่อยสลายสารอาหารจำพวกโปรตีนและไขมันที่กินเข้าไป กระบวนการออกซิเดชันที่ทำให้เหล็กกลายเป็นสนิม กระบวนการออกซิเดชันที่ทำให้แอปเปิลเปลี่ยนจากสีสดเป็นสีน้ำตาล กระบวนการออกซิเดชันทำให้น้ำมันพืชเหม็นหืน)

อนุมูลอิสระตัวการทำร้ายหัวใจ
อนุมูลอิสระอยู่ในร่างกายตั้งแต่เกิด ซึ่งในช่วงวัยเยาว์ไปจนถึงวัยรุ่นร่างกายยังสามารถต่อต้านหรือกำจัดอนุมูลอิสระได้ดีในระดับหนึ่ง แต่เมื่อเข้าสู่วัยทำงาน ชีวิตความเป็นอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยมลภาวะ ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ล้วนเป็นปัจจัยในการทำให้เกิดอนุมูลอิสระในร่างกาย วัยที่มีอายุมากขึ้นเกิดภาวะเซลล์เสื่อมสภาพ หรือร่างกายอ่อนแอ ขาดการออกกำลังกาย มีความเครียด ภูมิคุ้มกันร่างกายไม่สามารถต่อสู้กับอนุมูลอิสระได้ โดยในผู้ที่มีพฤติกรรมการกินอาหารที่เต็มไปด้วยอาหารไขมันสูงยิ่งเป็นการเพิ่มปริมาณของไขมันเลว (LDL) หรือที่เรียกว่า คอเลสเตอรอล สะสมในร่างกายเป็นจำนวนมาก ทำให้อนุมูลอิสระตัวร้ายไปทำปฏิกิริยากับคอเลสเตอรรอล LDL เกิดเป็นคอเลสเตอรรอลสนิมที่เรียกว่า Oxidized Cholesterol หรือ Oxidized LDL หรือกลายเป็นไขมันเสื่อมสภาพเกาะติดกับผนังของหลอดเลือด และเมื่อมีปริมาณมากขึ้น จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้หลอดเลือดตีบ (ลองนึกภาพท่อน้ำที่มีสนิมเพิ่มจำนวนมากขึ้น ทำให้น้ำไหลผ่านได้น้อยลง และท่อน้ำยังเสื่อมสภาพ เปราะบางรอเวลาชำรุดเสียหายนั่นเอง)
และยังไม่มีสารประกอบใด ๆ เลยที่สามารถป้องกันการเกิดออกซิเดชันในร่างกายได้ทั้งหมด ซึ่งแต่ละระบบของร่างกายอาจต้องใช้สารต้านอนุมูลอิสระที่แตกต่างกันในการหยุดกระบวนการออกซิเดชันที่เกิดขึ้นในร่างกาย (เนื่องจากสารอนุมูลอิสระเองก็มีมากมายหลายประเภท เกิดจากธาตุหลายชนิด และต่างกระบวนการออกซิเดชัน จึงต้องใช้สารต้านอนุมูลอิสระที่แตกต่างกัน) 

สารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) คือสารประกอบที่สามารถชะลอหรือป้องกันการเกิดกระบวนการออกซิเดชัน เป็นสารที่จะจับคู่กับอนุมูลอิสระทำให้เกิดความเสถียร ช่วยยับยั้งหรือชะลอการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันกับสารต่าง ๆ ในร่างกายได้
และมีส่วนช่วยปกป้องร่างกายของคุณจากโรคหัวใจเสมือนวิตามินบำรุงหัวใจ ด้วยการจับคู่กันกับอนุมูลอิสระเพื่อให้เกิดความเสถียร แต่ไม่ได้ถูกเปลี่ยนเป็นตัวอนุมูลอิสระ เป็นการช่วยต่อต้านการทำงานของอนุมูลอิสระ ยับยั้งหรือชะลอการเพิ่มปริมาณของอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยปรับปรุงความสมดุลระหว่างอนุมูลอิสระและสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งในร่างกายของคนเรามีสารต้านอนุมูลอิสระที่ถือเป็นกลไกในการกำจัดอนุมูลอิสระอยู่แล้ว โดยอาจได้รับมาจากวิตามิน เกลือแร่และสารอาหารต่าง ๆ ที่เรากินเข้าไปอย่างเพียงพอในแต่ละวัน ก็จะมีคุณสมบัติของสารต้านอนุมูลอิสระที่พอเพียงในการรักษาสมดุลเพื่อต่อต้านอนุมูลอิสระไม่ให้สามารถทำร้ายหัวใจ และเป็นวิตามินบำรุงหัวใจของเราได้
 
ดูแลหัวใจให้อ่อนเยาว์ ด้วยพลังต้านอนุมูลอิสระ
รู้ไหมว่า สารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) ยังมีอยู่ในรูปแบบที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเองได้นั่นก็คือ โคเอ็นไซม์ คิวเท็น (coenzyme q10) หรือ (CoQ10) หรือ ยูบิควิโนน (ubiquinone) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระธรรมชาติที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นมาเองได้เป็นส่วนใหญ่ และได้รับจากอาหารเป็นส่วนน้อยเท่านั้น โดยโคเอ็นไซม์ คิวเท็น (coenzyme q10) มีความจำเป็นต่อกระบวนการหายใจระดับเซลล์แบบใช้ออกซิเจนซึ่งเป็นกระบวนการสร้างพลังงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

โคเอ็นไซม์ คิวเท็น (coenzyme q10) พบเป็นจำนวนมากในอวัยวะสำคัญของร่างกาย เช่น หัวใจ ตับ สมอง กล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นอวัยวะที่ต้องการพลังงานสูง ส่วนในอวัยวะอื่น ๆ ก็พบโคเอ็นไซม์ คิวเท็น (coenzyme q10) เช่นกัน แต่ในปริมาณที่ค่อนข้างน้อย โคเอ็นไซม์ คิวเท็น (coenzyme q10)
 

เมื่ออายุมากขึ้นปริมาณ โคเอ็นไซม์ คิวเท็น (coenzyme Q10) จะลดลงขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์และอวัยวะส่วนนั้น ๆ เนื่องจากเซลล์แต่ละชนิดใช้พลังงานในระดับที่ไม่เท่ากัน และสร้างพลังงานให้แก่ร่างกายแตกต่างกัน ปริมาณโคเอ็นไซม์ คิวเท็น (coenzyme Q10) ในร่างกายจะเพิ่มมากขึ้นเป็น 3-5 เท่าเมื่ออายุแรกเกิดจนถึง 21 ปี และเริ่มลดลงอย่างต่อเนื่องเมื่ออายุมากกว่า 21 ปี แต่โดยเฉลี่ยจะลดลงอย่างเห็นได้ชัดเมื่ออายุ 30 ปีขึ้นไป ในขณะที่อัตราการเกิดอนุมูลอิสระยังเท่าเดิม ซึ่งในผู้ที่ร่างกายมีโคเอ็นไซม์ คิวเท็น (coenzyme q10) ลดลงนั้น มีส่วนทำให้การหายใจระดับเซลล์แบบใช้ออกซิเจนมีประสิทธิภาพในการสร้างพลังงานลดลงตามไปด้วย เซลล์หรืออวัยวะต่าง ๆ ก็จะทำงานได้ไม่เต็มศักยภาพ ส่งผลให้ร่างกายอ่อนเพลีย หัวใจเกิดการเจ็บป่วย และทำให้ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องตามมา หรือในผู้ที่ป่วยด้วยโรคทางพันธุกรรมที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ โคเอ็นไซม์ คิวเท็น (coenzyme q10) ขึ้นมาเองได้ และผู้ที่มีปริมาณ โคเอ็นไซม์ คิวเท็น (coenzyme q10) ในเลือดน้อย จำเป็นจะต้องได้รับสารโคเอ็นไซม์ คิวเท็น (coenzyme q10) จากแหล่งอาหารภายนอกเพื่อเข้าไปทดแทน จำพวก อาหารทะเล ปลาทะเลน้ำลึก น้ำมันปลา เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ ถั่วต่าง ๆ และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโคเอ็นไซม์ คิวเท็น (coenzyme q10) เป็นต้น

ร่างกายของคนทั่วไปควรได้รับโคเอ็นไซม์ คิวเท็น (coenzyme Q10) ในปริมาณวันละ 30 มก.ต่อวัน เพื่อให้มีสุขภาพที่แข็งแรงดี เทียบเท่ากับการรับประทานปลาซาร์ดีน 480 กรัม หรือเนื้อวัว 900 กรัม หรือถั่วลิสง 1,150 กรัม

โคเอ็นไซม์ คิวเท็น (coenzyme Q10) มี 3 หน้าที่หลัก ๆ ได้แก่
  • สร้างพลังงานให้เซลล์
  • ป้องกันและต่อต้านอนุมูลอิสระ
  • ลดการสะสมของไขมันบริเวณผนังหลอดเลือด และป้องกันไขมันเลวหรือคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (Low-density lipprotein หรือ LDL)

3 หน้าที่สำคัญนี้ แสดงให้เห็นถึงความชัดเจนว่า โคเอ็นไซม์ คิวเท็น (coenzyme q10) ถูกร่างกายสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นวิตามินบำรุงหัวใจให้กับคนเรา โดยช่วยลดภาวะหลอดเลือดแข็งตัวด้วยการจำกัดปริมาณของไขมันที่จะไปสะสมบนผนังหลอดเลือด และลดการสะสมของคอเลสเตอรอลในเลือด นอกจากนี้ยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ ช่วยป้องกันการเสื่อมสภาพของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายโดยเฉพาะเซลล์ที่กล้ามเนื้อหัวใจ

จากงานวิจัย พบว่าโคเอ็นไซม์ คิวเท็น (coenzyme q10) มีส่วนช่วยในการป้องกันความเสียหายของกล้ามเนื้อหัวใจระหว่างการผ่าตัด โดยมีการทดลองให้โคเอ็นไซม์ คิวเท็น (coenzyme q10) กับผู้ป่วยก่อนการผ่าตัด และพบว่าการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจฟื้นฟูดีขึ้น
 

การดูแลสุขภาพของหัวใจให้อ่อนเยาว์ จำเป็นต้องพยายามเพิ่มแหล่งอาหารที่มีสารโคเอ็นไซม์ คิวเท็น (coenzyme q10) เนื่องจากการสังเคราะห์ของโคเอ็นไซม์ คิวเท็น (coenzyme q10) มีวิถีร่วมกันกับการสังเคราะห์ของคอเลสเตอรอล จึงมีผลการศึกษาพบว่า การรับสารโคเอ็นไซม์ คิวเท็น (coenzyme q10) ในรูปแบบการรับประทานร่วมกับการใช้ยาในกลุ่มสแตติน (statin เป็นกลุ่มของยาลดไขมันในเลือด ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี LDL ช่วยลดระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ และช่วยลดความเสี่ยงต่าง ๆ ในการเกิดโรคเกี่ยวกับหัวใจ) จะช่วยเพิ่มการลดระดับของคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอร์ไรด์ และช่วยเพิ่มระดับของไขมันดี HDL ในเลือดของผู้ป่วย ส่งผลดีต่อระบบการทำงานของหัวใจและหลอดเลือดได้

จากการวิจัยต่าง ๆ แสดงให้เห็นว่าสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) มีประโยชน์ในการดูแลสุขภาพหัวใจของคุณให้อ่อนเยาว์ และสามารถช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ และยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่คุณสามารถได้รับคุณประโยชน์จากการรับประทานและควรยกให้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพหัวใจคุณ โดยมีการค้นคว้าและวิจัย พบว่า มะกอก มีประโยชน์ต่อสุขภาพหัวใจและลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ

มะกอก มีน้ำมันมากกว่าร้อยละ 40 ที่มีส่วนประกอบของกรดไขมันไม่อิ่มตัวมากถึงร้อยละ 55-83 ส่วนใหญ่จะเป็นกรดโอเลอิกที่มีส่วนช่วยลดไขมันในเลือด และเต็มไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) ในกลุ่มฟินอล ที่ชื่อไฮดรอกซีไทโรซอล (Hydroxytyrosol) ซึ่งพบว่ามีสัดส่วนอยู่ที่ประมาณ 50% ของโพลีฟีนอลทั้งหมด ทำให้เกิดการยังยั้งการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันของคอเลสเตอรอล หรือไขมันชนิดเลว (LDL) ตัวต้นเหตุของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด คือระหว่าง 4-20 มล./วัน รวมไปถึงมีส่วนช่วยในการเพิ่มไขมันดี (HDL) อีกด้วย โดยสารสำคัญในมะกอกนี้มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดี จึงนิยมนำผลมะกอกไปสกัดเอาน้ำมัน (Olive Oil) มาปรุงประกอบอาหารนั่นเอง

มีผลการศึกษาหนึ่งในปี 2014 ที่ทำการศึกษาในผู้ใหญ่ 7,216 คน ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคหัวใจ พบว่าผู้ที่บริโภคน้ำมันมะกอกมากที่สุด มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจลดลง 35% นอกจากนี้ การบริโภคน้ำมันมะกอกในปริมาณที่มากขึ้นยังสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคหัวใจได้ถึง 48%
 

ปัจจุบันนี้ มีความนิยมในการบริโภคน้ำมันมะกอกมากขึ้น หรือถูกนำมาเป็นส่วนหนึ่งในอุตสาหกรรมการผลิตที่หลากหลายรูปแบบ เช่น การผลิตน้ำมันนวด น้ำมันบำรุงผิว ผลิตสบู่ เป็นต้น และล่าสุดได้มีการวิจัยและพัฒนาสารสกัดจากมะกอกให้มีคุณสมบัติและประสิทธิภาพสูงกว่าน้ำมันมะกอกทั่วไป ด้วยกรรมวิธีการสกัดที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด สู่สารสกัดจากมะกอก (Olive Extract) ที่ยังคงคุณค่าสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) และสารอาหารทางโภชนาการที่มีประโยชน์ของมะกอกไว้ได้มากกว่าน้ำมันมะกอกที่ผลิตด้วยวิธีทั่วไป และยกให้เป็นวิตามินบำรุงหัวใจที่ควรมีไว้ติดบ้านอีกชนิดหนึ่ง

ลดเสี่ยงโรคหัวใจ พร้อมดูแลหัวใจให้อ่อนเยาว์

โคเอ็นไซม์ คิวเท็น (coenzyme q10) และ สารสกัดจากมะกอก ล้วนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) ที่เปรียบเสมือนวิตามินบำรุงหัวใจ และสามารถปกป้องร่างกายของคุณจากโรคมะเร็ง และโรคอื่นๆ โดยการต่อต้านอนุมูลอิสระที่พบในร่างกายอันเป็นผลมาจากการใช้ชีวิตและมีพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ โดยใครที่รู้ตัวเองว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงดังต่อไปนี้ ควรได้รับการเสริมประโยชน์ดี ๆ จากโคเอนไซม์ คิวเท็น และ สารสกัดจากมะกอก
  • ผู้ที่พักผ่อนน้อย
  • ผู้ขาดการออกกำลังกาย
  • ผู้ที่ชอบกินอาหารที่อุดมไปด้วยไขมัน โซเดียม และน้ำตาลสูง
  • ผู้ที่ชื่นชอบอาหารไม่มีประโยชน์ และไม่ชอบกินผักผลไม้
  • ผู้ที่เครียดกับทุกเรื่องในชีวิต
  • ผู้ที่สูบบุหรี่และดื่มสุรา
  • ผู้ที่มีความเสี่ยงเรื่องโรคหัวใจและความดันโลหิตสูง
  • ผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ เจ็บป่วยง่าย หรือภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง
  • นักกีฬา และผู้สูงอายุ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการหายใจของเซลล์แบบใช้ออกซิเจน
 

ที่มา
[1] อนุมูลอิสระ / มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
[2] การทำงานของหัวใจ
[3] หัวใจ / บทความด้านสุขภาพจากผู้เชี่ยวชาญ
[4] 17 อาหารเพื่อสุขภาพหัวใจที่น่าทึ่ง / น้ำมันมะกอก
[5] พลังแห่งสารต้านอนุมูลอิสระ
[6] 6 อาหารอุดมด้วยสารอาหารจากธรรมชาติเพื่อสุขภาพหัวใจที่ดี
[7] อาหารเสริมสุขภาพหัวใจ 8 ชนิด
[8] สารต้านอนุมูลอิสระเพื่อสุขภาพหัวใจ
[9] สารต้านอนุมูลอิสระ
[10] รู้จักกับโคเอนไซม์คิวเทน ประโยชน์และการบริโภคอย่างปลอดภัย
[11] หลอดเลือดหัวใจอุดตันยับยั้งได้ด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ (ตอนที่ 1) / มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
[12] สารต้านอนุมูลอิสระ คืออะไรแน่?
[13] ผลไม้กับสุขภาพจากประโยชน์ของสารพฤกษเคมี
[14] กรมควบคุมโรค / ร่วมรณรงค์วันหัวใจโลก 2566
[15] บทฟื้นฟูวิชาการ โคเอ็นไซม์ คิวเท็น Coenzyme Q10 จากเคมีพื้นฐานสู่การประยุกต์ในทางการแพทย์ / ศรีนครินทร์เวชสาร 2556
[16] ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง / โคเอ็นไซม์คิวเท็น

แชทผ่านไลน์ @Liveandfit