สงสัยกันไหม ! ว่าทำไมบางคนตากฝนต้องเป็นหวัด ทำไมเปียกฝนต้องรีบอาบน้ำสระผม
เพราะโรคหวัดส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ไรโนไวรัส (Rhinovirus) ที่แพร่กระจายได้ดีในสภาพอากาศเย็น โดยเฉพาะในประเทศไทยที่มักมีไข้หวัดออกมาอาละวาดในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว
แต่ทำไมบางคนตากฝนต้องเป็นหวัด บางคนตากฝนแล้วไม่เป็นหวัด
เมื่อคนเราเปียกฝนหรือตากฝนมา ไม่ใช่เพียงเพราะเราตากฝนหรือเปียกฝนเท่านั้น แต่ลมและฝนจะพัดเอาเชื้อไวรัสที่ลอยอยู่ในอากาศมาสู่ร่างกาย และในเวลาเดียวกันนั้น อุณหภูมิในร่างกายช่วงที่ฝนตกมักจะลดต่ำกว่าปกติ (สังเกตได้จาก ความรู้สึกหนาวเย็นเวลาฝนตก) ถ้าหากภูมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแออยู่พอดี ก็เท่ากับว่าสุขภาพร่างกายของเราไม่มีบอดี้การ์ดฝีมือดีคอยคุ้มกันเฝ้าระวังเชื้อไวรัสที่มากับลมฝน และเข้าสู่ร่างกายทำให้เราเป็นหวัดได้อย่างง่ายดาย โดยไข้หวัดที่พบบ่อยครั้งในคนไทยส่วนใหญ่ก็คือ ไข้หวัดธรรมดาและไข้หวัดใหญ่
ไข้หวัดธรรมดา มีอาการไข้ไม่สูงมาก หรือมีไข้แบบค่อยเป็นค่อยไป และเป็นอยู่ไม่เกิน 3 วัน อาการหวัดมักจะหายไปเองใน 3 – 4 วัน หรือไม่เกิน 7 วัน แต่เด็กมักจะมีไข้สูงมากกว่าผู้ใหญ่ มีปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อและลำตัวเล็กน้อย หรืออาจไม่ปวดเลย ไอแบบแห้ง ๆ และแน่นหน้าอก แต่ไม่มากนัก เจ็บคอบ่อย ๆ มีน้ำมูกบ่อย ๆ จามบ่อย ๆ ไม่มีอาการเบื่ออาหาร กินอาหารได้ตามปกติ ๆ รู้สึกหนาว ๆ ร้อน ๆ คลื่นไส้และอาเจียน มีอาการอ่อนแรงและอ่อนเพลียไม่มากนัก แต่จะรู้สึกไม่สบายตัว เป็นโรคที่พบบ่อยมาก ทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก โดยเฉพาะเด็กเล็ก ซึ่งพบว่าเป็นหวัดได้บ่อยถึงปีละ 6 - 8 ครั้ง เพราะเด็กมีภูมิคุ้มกันโรคต่ำกว่าผู้ใหญ่ และเด็กที่เป็นโรคภูมิแพ้ก็จะยิ่งมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้มากขึ้น
ไข้หวัดใหญ่ เกิดจากเชื้อไวรัสสายพันธุ์ไข้หวัดใหญ่ที่ชื่อว่า Influenza Virus ซึ่งเป็นต้นเหตุของการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจอย่างเฉียบพลัน มีอาการไข้สูงถึง 40 องศาเซลเซียส นาน 2-4 วัน คัดจมูกบ่อย ๆ ปวดศีรษะมาก ๆ มีอาการปวดตัว ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้ออย่างมาก แน่นหน้าอกหรือไอบ่อย ๆ และอาการอาจรุนแรงขึ้นได้ เจ็บคอบ่อย ๆ มีน้ำมูกบ่อย ๆ จามบ่อย ๆ มีอาการเบื่ออาหารบ่อย ๆ รู้สึกหนาว ๆ ร้อน ๆ คลื่นไส้และอาเจียน โดยเฉพาะในผู้ป่วยเด็ก และมีอาการอ่อนเพลียมาก อาการยาวนาน 2-3 สัปดาห์
แต่การดูแลสุขภาพร่างกายไม่ให้เป็นหวัดนั้น...ไม่ใช่เรื่องยาก