0
| Health Tips

ผลวิจัยชี้...กาแฟมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง

  Add Friend
อัพเดตโปรโมชั่นและข่าวสารดีๆ ผ่านทาง LINE LIVE & FIT
ID : @Liveandfit
 8 May 2017
 9145 times
 | 
SHARE 4 times


กาแฟ วันนี้ไม่ใช่เป็นเพียงเครื่องดื่มที่คนนิยมทั่วโลก แต่กลายเป็นความรื่นรมย์ของชีวิต จิบเมื่อไหร่ ก็ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย อารมณ์ดี ซึ่งนอกจากกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์แล้ว ในกาแฟยังอุดมด้วยสาร “โพลีฟีนอล” ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย

สารอนุมูลอิสระ (Free Radical) พบได้ตลอดเวลาในร่างกาย โดยมีแหล่งที่มา 2 แหล่งคือจากภายในร่างกาย เช่น การเผาผลาญอาหาร การหายใจ การออกกำลังกาย และภายนอกร่างกาย เช่น ความเครียด การติดเชื้อ มลพิษในอากาศ  ก่อให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อร่างกาย เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้าและผิวพรรณ รวมทั้งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคหัวใจขาดเลือด  ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง อัลไซเมอร์ เบาหวาน มะเร็ง ฯลฯ

โดยปกติร่างกายจะมีกลไกการกำจัดสารอนุมูลอิสระได้เอง ซึ่งเราเรียกว่าสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) แต่ด้วยอายุที่มากขึ้น ความเครียด และวิถีชีวิตในปัจจุบัน ทำให้สารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายลดน้อยลง ทำให้ไม่เพียงพอต่อการต้านอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ร่างกายจึงต้องการสารต้านอนุมูลอิสระเสริมจากอาหารและเครื่องดื่มประจำวันในปริมาณที่มากพอ หาไม่แล้วร่างกายอาจจะเกิดการเจ็บป่วย และเสื่อมโทรมเร็วก่อนเวลาอันควร  

สำหรับอาหารและเครื่องดื่มที่มีสารต้านอนุมูลอิสระได้แก่ผัก ผลไม้ หลากสี ,ใบชาเขียว และล่าสุดมีการค้นพบว่าในเมล็ดกาแฟอุดมไปด้วยสารโพลีฟีนอลที่มีชื่อว่า “กรดคลอโรจีนิก (chlorogenic acid)” ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติ ดังนั้นการดื่มกาแฟในทุกๆ วัน จึงให้ประโยชน์มากกว่าความรื่นรมย์ในกลิ่นและรสชาติ

แต่อย่างไรก็ตาม ควรเลือกดื่มกาแฟที่มีไขมันต่ำและไม่มีส่วนผสมของน้ำตาลทราย เพื่อลดความเสี่ยงปัญหาสุขภาพด้านอื่นๆ หรือเลือกดื่มกาแฟสำเร็จรูปที่เป็นสูตรเฉพาะเพื่อรูปร่างและสุขภาพแทน เพราะไม่ต้องกังวลกับปัญหาปริมาณน้ำตาล และครีมเทียมที่สูง เพราะกาแฟกลุ่มนี้จะให้ความหวาน 0 แคลอรี่ด้วยซูคราโลส ซึ่งเป็นความหวานเพื่อสุขภาพ และครีมเทียมจากพืช ซึ่งจะทำให้คุณมีความสุขกับการดื่มแฟได้ในทุกๆ วันค่ะ


เอกสารอ้างอิง : 1.Pandey K.B. and Rizvi S.I. Plant polyphenols as dietary antioxidants in human health and disease. Oxidative Medicine and Cellular Longevity. 2009. 2:5, 270-278. November/December.  2.Percival M. Antioxidants. Clinical Nutrition Insights. 1998. 1-4. 3.Dumbravă D., Hădărugă N., Moldovan C., Raba D., Popa M. and Rădoi B. Antioxidant activity of some fresh vegetables and fruits juices. Journal of Agroalimentary Processes and Technologies. 2011, 17(2), 163-168. 4.Yashin A., Yashin Y., Wang J.Y. and Nemzer B. Antioxidant and Antiradical Activity of Coffee. Antioxidants. 2013, 2: 230-245.
Health Tips Other
see more