0
| Health Tips

เทคนิค (ไม่) ลับ เจ นี้ไม่มีเลี่ยน

  Add Friend
อัพเดตโปรโมชั่นและข่าวสารดีๆ ผ่านทาง LINE LIVE & FIT
ID : @Liveandfit
 2 October 2019
 3436 times
 | 
SHARE 1 times



ในเทศกาลถือศีลกินเจนี้ หลายคนมีโอกาสดีที่ได้กินอาหารเจหลากหลายชนิด ซื้อหากินได้ทั่วไป แต่คนที่กินเจเป็นประจำจะรู้และคนที่เพิ่งกินเจต้องรู้ ว่าอาหารเจหลัก ๆ ก็คือ อาหารที่ไม่มีเนื้อสัตว์และไม่มีพืชผักที่มีกลิ่นฉุน โดยเน้นผัก ผลไม้ ธัญพืชเป็นหลัก แต่อาหารเจที่ทำขายตามเทศกาลนั้น ส่วนมากจะเห็นว่ามันเยิ้มเพราะใช้น้ำมันมากจนให้ความรู้สึก เอียน เลี่ยนรสมันเกินไป


ที่สำคัญ อาหารเจยังมีแป้งเป็นส่วนประกอบหลัก งานวิจัยของ ผศ. ดร.Julia Greer มหาวิทยาลัย Pittsburgh สหรัฐอเมริกา พบว่าการกินอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต (อาหารประเภทแป้งและพืชผักบางชนิดที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง เช่น ถั่วเปลือกแข็ง ธัญพืช ผักตระกูลกะหล่ำ แตงโม ฯลฯ) จะมีการดูดซึมในลำไส้เพียงเล็กน้อย หรือบางครั้งก็ย่อยได้ไม่หมด แล้วเกิดการหมักโดยเชื้อจุลินทรีย์ในทางเดินอาหารจนทำให้เกิดแก๊สขึ้นในลำไส้ใหญ่ ส่งผลให้รู้สึกท้องอืดหรือมีลมในช่องท้องนั่นเอง อาการท้องอืด หากใครเคยเป็นแล้วจะรู้ว่ามันอึดอัดขนาดไหน จะนั่งจะนอนจะทำอะไรก็ไม่สะดวกดูอึดอัดไปหมด


การกินเจเป็นโอกาสที่หลายคนจะดีท็อกร่างกายและจิตใจตัวเอง และถือเป็นการทำบุญอีกวิธีหนึ่ง แต่หากกินเจแล้วท้องอืดขึ้นมา คงไม่สบายตัวเท่าไรจริงไหมคะ ดังนั้น เราต้องหาวิธีบรรเทาอาการท้องอืดและไม่รู้สึกเลี่ยนเวลากินเจ ด้วยการรับประทานขิงสด ขิงดอง หรือดื่มน้ำขิงระหว่างมื้ออาหารเจ


เพราะ ขิง มีส่วนช่วยบรรเทาอาการอึดอัดแน่นท้อง ท้องอืด ให้หายไป เภสัชตำรับของประเทศเยอรมนี ยอมรับว่าขิงเป็นยาช่วยย่อยอาหาร วันไหนที่กระ-เพาะอาหารต้องรับบทหนัก ให้รีบดื่มน้ำขิงตาม รับรองว่าอาการอึดอัด ท้องอืด แน่นท้องจะหายไป อีกทั้ง ขิง ยังมีส่วนช่วยแก้อาการ เลี่ยน จากการกินอาหารมันได้ดี


นอกจากนี้ก็ยังมีวิธีอื่น ๆ เป็นตัวช่วยให้รู้สึกหายรู้สึกท้องอืดและเลี่ยนในช่วงระหว่างกินเจ

1.รับประทานอาหารให้หลากหลาย และครบ 5 หมู่

2.หลีกเลี่ยงอาหารประเภทผัด ทอด มัน ๆ แล้วเน้นกินอาหารต้ม นึ่ง อบ

3.เลี่ยงการกินพืชผักที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง หรือกินในปริมาณที่พอเหมาะ อาทิ ถั่วเปลือกแข็ง, ธัญพืชต่าง ๆ (เช่น ข้าวโพด ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ฯลฯ), ผักตระกูลกะหล่ำ (เช่น กะหล่ำปลี บรอกโคลี กะหล่ำดอก), แตงโม ฯลฯ

5.ใส่เครื่องเทศที่มีฤทธิ์ขับลม ในเมนูอาหาร เช่น กะเพรา โหระพา พริกไทย ฯลฯ

4.กินผัก ผลไม้ ที่ช่วยในการขับถ่าย ช่วยย่อยอาหาร บรรเทาอาการท้องอืด เช่น ขิง สับปะรด มะละกอ กล้วย แอปเปิ้ล ฯลฯ

5.ดื่มน้ำเปล่ามาก ๆ เพื่อช่วยขับแก๊ส