0
| Health Tips

คุณอาจเข้าข่ายภาวะเสพติดน้ำตาล

  Add Friend
อัพเดตโปรโมชั่นและข่าวสารดีๆ ผ่านทาง LINE LIVE & FIT
ID : @Liveandfit
 30 April 2019
 3443 times
 | 
SHARE 3 times



คุณอาจจะกำลังเข้าข่ายอยู่ในภาวะเสพติดน้ำตาล รู้หรือไม่? โดยผู้ที่ติดรสชาติหวานจนเข้าข่ายเสพติดน้ำตาลนั้นเรียกว่า Sugar Blues คือจะมีความต้องการและอยากกินน้ำตาลอยู่ตลอดเวลา และจะมีความรู้สุกหดหู่ ซึมเซา อารมณ์ฉุนเฉียวง่าย ขาดสมาธิ เกิดภูมิแพ้ และความดันโลหิตต่ำ

 

ติดหวานอันตราย ส่งผลร้ายทำลายสุขภาพ

ทำร้ายร่างกายและจิตใจ โดยเริ่มจากทำให้คุณ อ้วน เพราะเมื่อน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดมากเกินไป ร่างกายจะส่งไปเก็บไว้ที่ตับในรูปของไกลโคเจน (Glycogen) แต่เก็บไว้ได้เพียงจำนวน 50 กรัม หากมากกว่านี้ ตับจะส่งน้ำตาลกลับไปที่กระแสเลือดแล้วเปลี่ยนเป็นกรดไขมัน แล้วไปสะสมอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่มีการเคลื่อนไหวน้อย เช่น สะโพก หน้าท้อง ต้นขา ต้นแขน ฯลฯ รู้ตัวอีกก็เป็นโรคอ้วนเสียแล้ว

ทำร้ายกันถึงชีวิต เพราะถ้ายังคงกินน้ำตาลอย่างต่อเนื่อง กรดไขมันจะไปสะสมเพิ่มพูนอยู่ตามอวัยวะภายใน เช่น หัวใจ ตับ ไต หรือที่เรารู้จักกันว่า ไขมันพอกตับ ไขมันพอกไต นั่นเอง ที่สำคัญ น้ำตาล มีผลทำให้เลือดเหนียวเหมือนน้ำเชื่อม ทำให้เกิดการไหลช้า จึงนำพาสารอาหารไปสู่เนื้อเยื่อได้ช้าลง ความสามารถในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อก็จะลดลง ซึ่งมีผลทำให้เส้นเลือดฝอยตีบ และเกิดความเสื่อมของอวัยวะต่าง ๆ ได้

 

สัญญาณเตือนภัยว่าคุณอยู่ในภาวะเสพติดน้ำตาล

1.ปวดหัว เมื่อได้กินของหวานในตอนเช้า อาจจะมาจากการไม่ได้กินกาแฟมื้อเช้าหรือเครื่องดื่มหวาน ๆ ตอนเช้า เป็นการเสพติดน้ำตาลอย่างหนึ่งที่ต้องสังเกตเอาไว้นะ

2.ตู้เย็น ตู้กับข้าว มีแต่ขนมหวาน เปิดตู้ทีเจอแต่โดนัท ช็อกโกแลต เค้ก คุกกี้ ฯลฯ ทำไมไม่มีผลไม้บ้างเลยนะ

3.อยากกินของหวานตลอดเวลา อะไรก็ได้ขอให้เป็นของหวาน หรือมีส่วนประกอบของน้ำตาลเป็นอันใช้ได้ทั้งนั้น บางคนกินของหวานมากกว่าอาหารหลักที่ต้องกินเป็นประจำเสียอีก เมื่อไม่ได้กินก็จะเริ่มรู้สึกหงุดหงิด ฉุนเฉียว อารมณ์ไม่ดี แต่ถ้าได้กินเมื่อไหร่ ก็จะกลับมายิ้มแย้มแจ่มใสแทบจะทันที

4.ชอบกินแป้ง หรือกินขนมปังในระหว่างวันทั้งที่กำลังอิ่มอยู่ก็เป็นสัญญาณบอกว่าคุณกำลังติดหวาน เพราะการกินแป้งเข้าไปในร่างกาย สุดท้ายก็เปลี่ยนเป็นน้ำตาลอยู่ดี

5.เน้นกินแต่หวานหนัก ๆ บางคนชอบกินของหวานมากจนน่ากลัว เช่น การกินขนมเค้กที่มากกว่า 3 ชิ้นขึ้นไป หรือติดเครื่องดื่มชงเย็นตลอดเวลาแบบแก้วต่อแก้ว ซึ่งแต่ละเมนูก็จะใส่น้ำตาลลงไปในปริมาณมากเช่นกัน

6.ไม่สามารถกินอาหารแบบจืด ๆ ได้ หลายคนอาจรู้ตัวนะ และพยายามที่จะลดพฤติกรรมลง แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะอดใจไม่ตักน้ำตาลเติมลงไปในก๋วยเตี๋ยว ผัดไทย ได้ บางคนยังเติมน้ำตาลเพิ่มลงไปในข้าวผัดเลยด้วยซ้ำ และผลสุดท้ายก็ไม่สามารถต้านทานความต้องการของสมองได้ และต้องตักใส่เข้าไปอีก 2 - 3 ช้อนชา บางคนยังไม่ได้ตักชิมก็เติมน้ำตาลก่อนแล้ว

7.มีปัญหาสุขภาพฟัน เพราะน้ำตาลเป็นบ่อเกิดของการสะสมแบคทีเรียในช่องปาก ผู้ที่ติดหวานจึงมักมีปัญหาในช่องปาก เช่น ฟันผุ ปวดฟัน ฯลฯ

 

การควบคุมปริมาณน้ำตาลเป็นวิธีที่ดี แต่เมื่อการติดรสหวานทำให้ไม่สามารถลดปริมาณการบริโภคน้ำตาลได้ ทางเลือกที่ดีและปลอดภัยสำหรับผู้ที่หลีกเลี่ยงน้ำตาลทรายแต่ไม่ให้ชีวิตขาดความหวานก็คือการเลือกใช้วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล อย่าง ซูคราโลส หรือ ใบหญ้าหวาน ที่ให้รสหวานเหมือนน้ำตาลทราย 100% แต่ไม่ให้พลังงาน (0 แคลอรี่) เหมาะสำหรับผู้ที่ดูแลสุขภาพ ผู้ที่ควบคุมน้ำหนัก ผู้ที่เสพติดรสหวาน หรือผู้ที่หลีกเลี่ยงน้ำตาลทราย นั่นเอง

เรื่องของการเสพติดน้ำตาลเป็นเรื่องใหญ่มากในประเทศไทย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ พญ.วรรณี นิธิยานันท์ นายกสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากการสำรวจเมื่อปี พ.ศ.2557 พบว่าคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 4.8 ล้านคนเป็นโรคเบาหวาน และมีคนไทยมากถึง 7.7 ล้านคน มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวาน อีกทั้งในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา คนไทยเป็นเบาหวานเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าปีละ 1 แสนคน และมีอายุเฉลี่ยในการเป็นโรคเบาหวานน้อยลง (คือไม่ใช่แค่ในกลุ่มผู้สูงวัยเท่านั้น) ซึ่งพบว่า 1 ใน 12 คน เพิ่งรู้ตัวว่าเป็นเบาหวานอายุจะน้อยกว่า 30 ปี นอกจากนี้ 1 ใน 4 คน จะไม่รู้ตัวว่าเป็นเบาหวานเพราะไม่ปรากฏ

ใครที่ยังเสพติดความหวานอยู่ก็ควรลด ละ เลิก หรือติดตามวิธีหลีกเลี่ยงน้ำตาลในบทความต่อไปที่ Liveandfit จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายที่ทำลายชีวิตได้แบบไม่น่าเชื่อ

Health Tips Other
see more