0
| Health Tips

ไขมัน...เพชฌฆาตเงียบ ป้องกันได้เพียงรู้จักอ่านฉลากโภชนาการ

  Add Friend
อัพเดตโปรโมชั่นและข่าวสารดีๆ ผ่านทาง LINE LIVE & FIT
ID : @Liveandfit
 21 January 2019
 4779 times
 | 
SHARE 0 times



ไขมันสะสมในร่างกายมากเกินไปไม่ดี และเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดโรคต่าง ๆ อาทิ โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคอ้วน เป็นต้น ซึ่งผู้ที่ดูแลสุขภาพส่วนใหญ่ จึงหลีกเลี่ยงอาหารที่มีปริมาณไขมันสูง แต่ก็ยังมีเจ้าไขมันตัวร้ายแอบแฝงมากับอาหารสำเร็จรูปที่เราชอบซื้อมารับประทาน เพราะถือว่าเป็นอีกหนึ่งในอาหารจานด่วนที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่เร่งรีบได้เป็นอย่างดีสำหรับคนที่มีเวลาน้อยหรือมีเวลาไม่มากพอที่จะทำอาหารรับประทานเอง

แต่ผู้บริโภคอย่างเราป้องกันได้เพียงรู้จักอ่านฉลากข้อมูลโภชนาการแล้วเลือกผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีส่วนผสมของไขมัน หรือถ้ามี...ก็ให้มีให้น้อยที่สุด ง่าย ๆ ให้สังเกตตรงส่วนประกอบ (Ingredients) และตารางโภชนาการ (Nutrition facts) มองหาส่วนผสมของไขมันว่ามีค่าเป็น 0 ก. (g) เราก็หลีกเลี่ยงไขมันอันตรายนี้ได้แล้ว

 

โดยในแต่ละบรรจุภัณฑ์อาจมีการระบุข้อมูลโภชนาการของไขมันแตกต่างกันออกไป เช่น

  1. ไขมันต่ำ Low Fat มีปริมาณไขมันน้อยกว่า 3 กรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค
  2. Non Fat หรือ Fat Free ปราศจากไขมัน ไม่มีไขมันเป็นส่วนผสม หรือมีไขมันน้อยกว่า  0.5 กรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค
  3. Free of Trans Fat ปราศจากไขมันทรานส์ ไม่มีกรดไขมันชนิดทรานส์เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์

 

 แต่บรรจุภัณฑ์ส่วนใหญ่ในไทยจะระบุส่วนผสมที่เป็น…

1. ไขมันอิ่มตัว Saturated Fat

ไขมันอิ่มตัวเป็นไขมันที่มีลักษณะแข็งตัวได้ เช่น เนย ครีมเทียม เนยแข็ง ไขมันสัตว์ ไขมันมะพร้าว ปาล์ม ฯลฯ

2. ไขมันชนิดทรานส์ Trans-Fat

คือไขมันที่เกิดจากการแปรรูป สามารถเก็บไว้ได้นาน ไม่เหม็นหืน ไม่เป็นไข และทนความร้อนสูง รวมถึงมีรสชาติใกล้เคียงกับไขมันที่มาจากสัตว์แต่ราคาถูกกว่า บรรดาผู้ประกอบกิจการอาหารต่าง ๆ จึงนิยมนำไขมันทรานส์มาใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารมากมาย เช่น ขนมขบเคี้ยวกรุบกรอบทั้งหลาย, กลุ่มอาหารฟาสด์ฟูด ซึ่งใช้เป็นน้ำมันสำหรับทอดไก่, มันฝรั่ง, โดนัท, เบเกอร์รี่  และเป็นส่วนผสมในวิปปิ้งครีม เป็นต้น

แต่ในบรรดาไขมันทั้งหลาย นักโภชนาการจัดให้ไขมันทรานส์นั้นอันตรายเป็นอันดับหนึ่ง เพราะนอกจากจะเข้าไปเพิ่มระดับ LDL (low-density lipoprotein) ซึ่งเป็นโคเลสเตอรอลชนิดเลวในเลือดเช่นเดียวกับการบริโภคไขมันอิ่มตัว (ไขมันจากสัตว์และน้ำมันปาล์ม) แล้ว ไขมันทรานส์ยังไปลดระดับ HDL (high-density lipoprotein) ซึ่งเป็นโคเลสเตอรอลชนิดดีในเลือดอีกด้วย ซึ่งการรับประทานอาหารที่มีไขมันทรานส์ติดต่อกันเป็นเวลานาน จะยิ่งเพิ่มโอกาสการเป็นเบาหวาน  อ้วนลงพุง และตับทำงานเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และ โรคหลอดเลือดสูง ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของประชากรโลกเลยทีเดียว

ในปัจจุบันมีหลายประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา แคนาดา สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ต่างออกข้อบังคับเกี่ยวกับการระบุปริมาณของไขมันบนฉลากโภชนาการ และให้คำแนะนำแก่ประชาชนในการจำกัดการบริโภคอาหารที่มีไขมัน

 

สำหรับในประเทศไทย มีการประกาศจากกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 388 พ.ศ.2561 ในราชกิจจานุเบกษา เรื่องกำหนด อาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2561 ที่ผ่านมา เพราะกรดไขมันทรานส์ (Trans Fatty Acids) จากน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (Partially Hydrogenated Oils) ส่งผลต่อการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

ผู้บริโภคจึงควรรู้จักและดูแลตัวเอง หลีกเลี่ยงการรับประทานผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของไขมันทรานส์ โดยให้สังเกตตรงส่วนประกอบ (Ingredients) และตารางโภชนาการ (Nutrition facts) ตรงจุดไขมันรวม (Total fat) หากมีชื่อ อาทิ Hydrogenated vegetable oil, partially Hydrogenated vegetable oil, vegetable oil shortening, Hydrogenated margarine แสดงว่าผลิตภัณฑ์นั้นมีส่วนผสมของไขมันทรานส์ สำหรับเครื่องดื่มเพื่อรูปร่างและสุขภาพที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน จะมีระบุบนกล่องหรือถุง “Trans Fat 0 g”  ส่วนกลุ่มที่ไม่มีฉลากบอก เช่น อาหารฟาดฟู้ด, ขนมเบเกอรี่ทั้งหลาย หรือ พิชซ่า ก็ควรรับประทานแต่น้อย และเลือกร้านที่เชื่อถือได้จะดีต่อสุขภาพเราที่สุดนะคะ
Health Tips Other
see more