0
| Health Tips

วิธีอ่านข้อมูลโภชนาการ สำหรับผู้หลีกเลี่ยงน้ำตาลทราย (ควรอ่าน)

  Add Friend
อัพเดตโปรโมชั่นและข่าวสารดีๆ ผ่านทาง LINE LIVE & FIT
ID : @Liveandfit
 14 December 2018
 6292 times
 | 
SHARE 0 times


ยังมีอีกหลายคนที่ไม่ชอบอ่านข้อมูลบนฉลากโภชนาการเวลาเลือกซื้อของกิน ไม่ว่าจะในร้านสะดวกซื้อหรือซูเปอร์มาร์เก็ต แต่หากได้ลองอ่านดู บางทีคุณก็จะรู้และเกิดการเปลี่ยนใจ หรือ เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมไปเลยก็ได้

โดยเฉพาะผู้ที่จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงน้ำตาล  เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด หรือผู้ที่กำลังดูแลสุขภาพเป็นอย่างดี ควรอ่านข้อมูลโภชนาการบนฉลากข้างกล่องหรือบรรจุภัณฑ์ของอาหารชนิดนั้น ๆ ว่ามีการแจ้งข้อมูลปริมาณของน้ำตาลไว้แบบไหน แต่ทั่ว ๆ ไป จะพบการแสดงข้อมูลโภชนาการในส่วนของปริมาณ น้ำตาล (sugar) เป็น กรัม (g) ซึ่งเราควรดูว่า อย่าให้ค่าสูงเกิน 0.5 กรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภคเป็นดีที่สุด แต่ในบางบรรจุภัณฑ์อาจระบุเพิ่มแบบพิเศษให้ เช่น



Sugar Free
ผลิตภัณฑ์ที่แสดงข้อมูลในฉลากโภชนาการว่า Sugar Free หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ ปราศจาก, ไม่มี, free, without, free of, no, zero, sugarless หรือมีปริมาณน้ำตาลน้อยกว่า 0.5 กรัม ต่อหนึ่งหน่วยบริโภค หรือมีรสหวานจากสารให้ความหวานที่ไม่ให้พลังงาน (0 แคลอรี่) จำพวก ซูคราโลส และ สตีเวีย เป็นต้น


No sugar added

ผลิตภัณฑ์ที่แสดงข้อมูลในฉลากโภชนาการว่า No sugar added หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีการเติมน้ำตาล หรือส่วนผสมที่มีน้ำตาล ในระหว่างการผลิต หรือการบรรจุ แต่ผลิตภัณฑ์บางชนิดอาจมีรสหวานและมีน้ำตาลอยู่บ้างแล้ว เช่น รสหวานจากน้ำตาลธรรมชาติที่ได้มาจากผลไม้และนม เป็นต้น
 


Non-nutritive sweetener

ผลิตภัณฑ์ที่แสดงข้อมูลในฉลากโภชนาการว่า Non-nutritive sweetener หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่มี ส่วนผสมของ สารให้ความหวานที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ หรือ น้ำตาลเทียม หรือ สารให้ความหวานเทียม หรือ น้ำตาลสุขภาพ


โดยปัจจุบัน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (The United states food and drug administration, U.S. FDA) ได้กำหนดชนิดของน้ำตาลเทียมที่อนุญาตให้ใช้ในอาหารได้อย่างปลอดภัยไว้ 6 ชนิดได้แก่ แซคคาริน หรือ ขัณฑสกร (Saccharin), แอสพาแตม (Aspartame), อะซีซัลเฟม โพแทสเซียม (Acesulfame potassium) หรือ อะซีซัลเฟม เค (Acesulfame-K), ซูคราโลส (Sucralose), นีโอเทม (Neotame), แอดแวนเทม (Advantame)

นอกจากนี้ยังมีสารให้ความหวานจากธรรมชาติอีก 2 ชนิดที่ U.S. FDA กำหนดให้เป็นสารจำพวกที่สามารถใช้เติมลงไปในอาหารได้อย่างปลอดภัย (Generally recognized as safe, GRAS) ได้แก่

1.สตีเวีย หรือ สเตวิออลไกลโคไซด์ (Steviol glycosides) สกัดมาจากใบหญ้าหวาน (Bertoni) มีสารสำคัญที่ให้ความหวานคือ สเตวิโอไซด์ (Stevioside)

2.เรบาวดิโอไซด์ เอ (Rebaudioside A) สารสกัดจากหล่อฮังก๊วย (Luo Han Guo fruit extracts) มีสารให้ความหวานสำคัญคือ โมโกรไซด์ (Mogrosides)

การแสดงข้อมูลโภชนาการของอาหารแต่ละผู้ผลิต บางทีก็แตกต่างกันไป โดยอาจสังเกตเห็นได้ว่า น้ำตาล หรือสารอาหารอื่น ๆ เช่น ใยอาหาร โปรตีน วิตามิน และเกลือแร่ อาจจะบอกเพียงปริมาณต่อหน่วยบริโภค หรือเปอร์เซ็นต์เท่านั้น แต่ไม่ได้บอกปริมาณกรัม หรือมิลลิกรัมที่ควรได้รับให้เห็นชัดเจน นั่นก็เป็นเพราะว่า สารอาหารเหล่านี้มีความไม่แน่นอนสูง เนื่องจากมีหลายชนิดแถมยังมีคุณภาพแตกต่างกัน ดังนั้นจึงไม่สามารถระบุเป็นร้อยละของปริมาณที่แนะนำต่อวันที่ชัดเจนได้ แต่ผู้ผลิตบางรายที่มีมาตรฐานสูง จะระบุความชัดเจนให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อได้ง่ายขึ้น

Health Tips Other
see more