ลืมค่าดัชนีมวลกาย(BMI) แล้วให้ความสำคัญกับการวัดรอบพุงแทน
30 November 2017
6366 times
|
SHARE 0 times
จากงานวิจัยชิ้นใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Annals of Internal Medicine พบว่า
อัตราส่วนระหว่างเอวต่อสะโพกเป็นตัวชี้บ่งปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวกับการมีน้ำหนักส่วนเกินได้ดีกว่าค่า BMI
โดยผลวิจัยพบว่าคนที่มีค่า BMI อยู่ในระดับปกติ แต่มี
โรคอ้วนกลาง (Central Obesity) หรืออ้วนลงพุง มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุมากกว่าคนที่มีค่า BMI ปกติ แต่ไม่เป็นโรคอ้วนกลาง และในทางตรงกันข้ามคนที่มีค่า BMI มากกว่าปกติ หรือ อ้วน แต่ไม่เป็นโรคอ้วนกลางจะมีความเสี่ยงน้อยกว่าคนที่มีค่า BMI ปกติ แต่เป็นโรคอ้วนกลาง
จากผลวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่าผู้ที่เป็นโรคอ้วนกลาง (Central Obesity) ในทุกกลุ่ม BMI จะมีความเสี่ยงในการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งผลวิจัยนี้บ่งบอกว่าไขมันหน้าท้องมีความสัมพันธ์กับปัญหาโรคหัวใจยิ่งกว่าสาเหตุอื่นๆ จะรู้ได้อย่างไร...เป็นโรคอ้วนกลางหรือไม่? ในการหาค่าให้วัดรอบพุงผ่านบริเวณสะดือในจังหวะหายใจออก (ไม่แขม่วท้อง) โดยให้สายวัดแนบลำตัว ไม่รัดแน่น
ถ้าค่าที่ได้เกินกว่า ส่วนสูงของตัวเองหารสอง แสดงว่ามีความเสี่ยงเป็นโรคอ้วนกลาง ตัวอย่าง : ส่วนสูง 160 ซ.ม. =
160/2 = 80 ซ.ม. หากค่าที่ได้เกินกว่า 80 ซ.ม. = โรคอ้วนกลาง
โดยพบว่าการเพิ่มขึ้นทุกๆ 5 ซ.ม. จะยิ่งเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือด และโรคเบาหวาน 3-5 เท่า เมื่อทราบอย่างนี้แล้ววันนี้ลองวัดรอบพุงกันดูนะคะ หากพบว่ามีแนวโน้มหรือสูงกว่าค่าปกติ ให้รีบแก้ไข เพื่อลดความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพต่างๆที่จะตามมาค่ะ