| Health Tips

วัยหมดประจำเดือน เสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุน

  Add Friend
อัพเดตโปรโมชั่นและข่าวสารดีๆ ผ่านทาง LINE LIVE & FIT
ID : @Liveandfit
 22 June 2017
 4686 times
 | 
SHARE 0 times


"โรคกระดูกพรุน"
 ถือเป็นโรคหนึ่งที่พบมาในผู้สูงอายุ เกิดจากการลดลงของปริมาณกระดูกในร่างกายร่วมกับมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในของกระดูก เป็นผลให้ความแข็งแรงของกระดูกโดยรวมลดลง และเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดกระดูกหักได้ โดยเฉพาะผู้หญิงมีโอกาสกระดูกจากโรคนี้มากถึง 30-40% ผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือน เป็นผู้ที่มีความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุนมาก เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนจะลดลง ทำให้มวลกระดูกของผู้หญิงในกลุ่มวัยนี้ลดลงถึงร้อยละ 3-5 ต่อปี   

นอกจากนี้ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนยังพบได้ในภาวะผู้ป่วยที่ได้รับการตัดรังไข่ 2 ข้าง ผู้ป่วยที่ได้รับวิตามินดีน้อยกว่าความต้องการของร่างกาย ผู้ป่วยที่รับประทานยาบางชนิด เช่น สารสเตียรอยด์หรือยากันชักบางชนิด และการสูบบุหรี่ก็เป็นอีกปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมากขึ้น โดยทั่วไปผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนจะไม่มีอาการใดๆ จนกว่าจะมีอาการแสดงซึ่งได้แก่กระดูกหัก ตำแหน่งที่พบบ่อยในโรคกระดูกพรุน ได้แก่ บริเวณข้อสะโพก ข้อมือ หรือกระดูกสันหลังทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้   

นอกจากนี้ อาการหลังโก่ง หรือตัวเตี้ยลงมากกว่า 2 เซนติเมตรนั้น อาจเป็นอาการของโรคกระดูกพรุนที่มีการยุบตัวลงของกระดูกสันหลัง จึงเป็นภัยเงียบเพราะคนไข้จะไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคนี้แล้ว โรคกระดูกพรุนวินิจฉัยได้จากการตรวจค่าความหนาแน่นของกระดูกด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ นอกจากนี้ยังสามารถตรวจเลือดเพื่อหาความผิดปกติอื่นๆ เช่น การขาดวิตามินดี และสามารถตรวจประเมินอัตราการสร้างและสลายของกระดูกได้   

คำแนะนำ สำหรับผู้สูงอายุ โดยเฉพาะวัยหมดประจำเดือนควรมาตรวจภาวะกระดูกพรุน ผู้หญิงที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรเสริมการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น ผักใบเขียว นม และงาดำ โดยทั่วไปแล้วผู้สูงอายุควรได้รับแคลเซียม วันละ 1200 มิลลิกรัมควบคู่กับวิตามินดี 800 IU   

ข้อมูลจาก นิตยสารสุขภาพดี 
Health Tips Other
see more