Live & Fit Healthy Recipes “เมนูนี้ปราศจากน้ำตาล (Sugar Free)”
ลาบเต้าหู้หิมพานต์
ส่วนผสม
เต้าหู้ทอด 100 กรัม (ทอดเต้าหู้ให้สุกพอดีอย่าให้แข็งเกินไป)
ต้นหอม (ซอย) 1 ต้น
ผักชี (ซอย) 1 ต้น
หอมแดง (ซอย) 5-7 หัว
ข้าวคั่ว 2 ช้อนโต๊ะ
พริกป่น ½ ช้อนโต๊ะ (เพิ่ม - ลด ตามชอบ)
ซอสหอยนางรม 1 ช้อนชา
น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ
ฟิตเน่ สวีท ซูคราโลส 1 ช้อนชา (เพิ่ม - ลด ตามชอบ)
น้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะ
เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ (สำหรับโรยหน้า)
วิธีทำ
? รู้ไหมว่า...
เต้าหู้ เป็นผลิตภัณฑ์จาก ถั่วเหลือง ที่อุดมไปด้วยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต กรดอะมิโน มีไขมันชนิดดีสูง มีเส้นใยอาหารสูง มีวิตามินและเกลือแร่สูง โดยเฉพาะโปรตีนมีมากกว่าเนื้อสัตว์บางชนิดถึงสองเท่าในปริมาณที่เท่ากันและมีราคาถูกกว่าอีกด้วย เรียกได้ว่า ถั่วเหลืองอัดแน่นไปด้วยประโยชน์อย่างแท้จริง ไล่ตั้งแต่บำรุงผิวไปจนถึงป้องกันโรคที่เกี่ยวกับหัวใจ ดังต่อไปนี้
การรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของถั่วเหลืองมีส่วนช่วยให้ผิวพรรณดูดี เพราะ ถั่วเหลือง เป็นหนึ่งในส่วนผสมที่ใช้รักษาปัญหาผิวสีเข้มมากผิดปกติ ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีการค้นพบด้วยว่า สารไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogen) ในถั่วเหลืองมีส่วนช่วยกระตุ้นให้เกิดการสร้างเซลล์ใหม่ทดแทนเซลล์เก่า ทำให้ไขมันใต้ผิวหนังไม่จับตัวกันเป็นก้อน ช่วยเสริมสร้างความงามให้แก่เรือนร่าง ช่วยทำให้ผิวพรรณสดใส เปล่งปลั่ง ดูมีน้ำมีนวล ลดปัญหาสิว ฯลฯ ที่สำคัญ สามารถช่วยต้านความแก่ชราได้ จึงมีคุณค่าทางอาหารที่เหมาะแก่สุภาพสตรีเป็นอย่างมาก และเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคนที่อยากมีผิวสวย หรือมีผิวที่ดูเด็กกว่าวัย
ผู้หญิงส่วนมากในประเทศแถบเอเชียที่รับประทานอาหารประเภทถั่วเหลืองเป็นส่วนหนึ่งของอาหารที่บริโภคตามปกติ มักไม่ค่อยเกิดอาการร้อนวูบวาบในช่วงวัยทอง การศึกษาพบว่าไอโซฟลาโวนในถั่วเหลืองช่วยลดความถี่และความรุนแรงของอาการร้อนวูบวาบลงถึง 20% ถั่วเหลืองและเต้าหู้ได้รับการแนะนำจากสมาคมวัยทองแห่งอเมริกาเหนือในการช่วยลดอาการวัยทอง
ถั่วเหลือง มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งลำไส้ ผลการวิจัยพบว่าผู้ที่ได้รับไอโซฟลาโวนจากอาหารที่มีถั่วเหลืองเป็นส่วนประกอบในปริมาณที่สูง มีอัตราการเสี่ยงในการเสียชีวิตลดลง 17% และมีอัตราการเกิดมะเร็งเต้านมซ้ำอีกครั้งน้อยกว่าผู้หญิงที่ไม่ได้รับประทานอาหารจากถั่วเหลืองถึง 25%
เพราะถั่วเหลืองมีสารโพลีฟีนอลที่มีส่วนช่วยควบคุมความดันไม่ให้อยู่ในระดับสูงเกินไป หากผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากถั่วเหลือง ก็จะมีส่วนช่วยบรรเทาและรักษาอาการ โดยจะไปลดความดันซิสโตลิก (Systolic pressure) และไดแอสโตลิก (Diastolic pressure) ให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี
ถั่วเหลือง มีแคลเซียมสูง ยิ่งอยู่ในรูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่มีการเพิ่มแคลเซียมเข้าไปอีก ยิ่งมีส่วนช่วยลดโอกาสการเกิดโรคกระดูกพรุนได้มากขึ้น
โปรตีนจากถั่วเหลือง เส้นใยอาหาร และสารไอโซฟลาโวนที่มีในถั่วเหลือง มีส่วนช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือด ลดความดันโลหิต มีส่วนช่วยรักษาหลอดเลือดให้มีความยืดหยุ่นเมื่อคุณอายุมากขึ้น และรู้หรือไม่ว่า! ผลการวิจัย แสดงให้เห็นว่าโปรตีนจากถั่วเหลืองช่วยลดระดับ LDL หรือระดับโคเลสเตอรอลตัวเลว ลงถึง 5.5%
ซูคราโลส