LOGIN / REGISTER
OR
New Register
การดำเนินการต่อถือว่าคุณยอมรับ
Terms of Use and Privacy Policy
เราอาจส่งข่าวสารให้ท่าน ท่านสามารถปิดการรับข่าวสาร
ได้โดยเปลี่ยนการตั้งค่าในบัญชีของท่าน
เราจะไม่ส่งข่าวสารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากท่าน
LOGIN / REGISTER
New Register
Or Login By
OR
Order by Guest Account
การดำเนินการต่อถือว่าคุณยอมรับ
Terms of Use and Privacy Policy
เราอาจส่งข่าวสารให้ท่าน ท่านสามารถปิดการรับข่าวสาร
ได้โดยเปลี่ยนการตั้งค่าในบัญชีของท่าน
เราจะไม่ส่งข่าวสารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากท่าน
MY CART
Manage Item
ยังไม่มีคำสั่งซื้อ
You might also like
PRODUCTS
CUSTOMER SERVICE
ABOUT US
PROMOTION
REWARDS
HELPING
ป้องกัน & ฟื้นฟู ภาวะ Long COVID
ป้องกัน & ฟื้นฟู ภาวะ Long COVID

ภาวะโพสต์โควิด (Post - Covid Condition) หรือ ลองโควิด (Long COVID) อาการที่ตามมาหลังหายป่วยจากโควิด-19 ที่มีทั้งอาการทางร่างกายและทางจิตใจ อาจเป็นผลกระทบทางตรงจากร่องรอยของโรค หรือเป็นผลกระทบทางอ้อมที่มาจากช่วงที่เคยติดเชื้อก็ได้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ให้ข้อมูลว่าอาการ Long COVID มีทั้งอาการที่คล้ายกับตอนเป็นโควิด-19 และอาการที่ดูไม่เกี่ยวข้องกันเลย แต่ก็สามารถสังเกตลักษณะอาการร่วมที่พบได้บ่อย ได้แก่
  • มีไข้ ไอ ปวดหัว เจ็บคอ
  •  มีการรับรสหรือได้กลิ่นน้อยลง
  • ปวดตามข้อต่อต่าง ๆ
  • นอนไม่หลับ หลับยาก
  • อาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
  • มีอาการหายใจถี่ หรือหายใจไม่ทัน หอบเหนื่อย
  • ใจสั่น รู้สึกแน่นหรืออึดอัดบริเวณหน้าอก
  • ความจำสั้น สมาธิสั้น หรือรู้สึกสมองล้า
  • เวียนศีรษะ มึนศีรษะ
  • ปวดท้อง ท้องเสีย ท้องผูก ไม่อยากอาหาร กรดไหลย้อน
  • มีผื่นขึ้นตามตัว
  • อาจมีภาวะซึมเศร้า หดหู่ หรือวิตกกังวล
  • การทำงานของภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติไป ซึ่งอาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงดีมาก กลายเป็นว่าเมื่อหายจากโควิด-19 แล้ว ภูมิคุ้มกันอาจหันมาทำลายเซลล์ในร่างกายของเราเอง

อาการ Long COVID มีโอกาสเกิดขึ้นได้ประมาณ 30-50% ของจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่รักษาหายแล้ว อาจเกิดหลังจากที่ได้รับเชื้อมาแล้ว 4-12 สัปดาห์ขึ้นไป มีรายงานว่าพบผู้ป่วย Long COVID ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย (โดยเฉพาะในวัยทำงาน) นอกจากนี้ อีกกลุ่มที่ควรเฝ้าระวัง เพราะมีโอกาสได้รับผลกระทบของโรคที่รุนแรงและฟื้นตัวได้ยากกว่า คือ กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภาวะอ้วน ผู้ป่วยโรคประจำตัว โดยเฉพาะโรคเบาหวาน รวมถึงกลุ่มผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันต่ำ

แนวทางป้องกัน Long COVID ลองโควิด
หากยังไม่เคยรับเชื้อโควิด-19 ควรมีแนวทางป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงจากภาวะรุนแรงของโรค หากได้รับเชื้อภายหลัง หรือลดภาวะรุนแรงจาก Long COVID ได้แก่
  • รับการฉีดวัคซีนโดยเร็วที่สุด (ในผู้ที่ยังไม่เคยรับการฉีดวัคซีน)
  • มีโรคประจำตัว พยายามดูแลตนเอง และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ให้อาการของโรคอยู่ในระดับที่ควบคุมได้
  • รักษาภาวะจิตใจให้สดชื่น แจ่มใส ไม่เครียด ไม่วิตกกังวล พยายามตรวจสอบภาวะจิตใจของตัวเองเพื่อรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่จะเข้ามา
  • น้ำหนักเกินต้องคุมน้ำหนัก ให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ต้องมีวินัยในการกิน เลี่ยงของทอด ของมัน ของหวาน
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ ทำให้ร่างกายเราแข็งแรงแน่นอนและยังช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายให้แข็งแรงอีกด้วย
  • กินอาหารที่มี 5 สารอาหารสำคัญ เสริมภูมิคุ้มกันร่างกาย ให้คุณยกการ์ดสูงขึ้นอีก ดังนี้

สังกะสี (Zinc) มีส่วนช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ต่อต้านอนุมูลอิสระ ปกป้องเซลล์จากอนุมูลอิสระ มีอยู่ในพืชตระกูลถั่ว ไข่ ฯลฯ

วิตามินซี มีส่วนช่วยสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงและป้องกันการติดเชื้อและโรคหวัดได้ มีอยู่ในผลไม้รสเปรี้ยว ฝรั่ง ส้ม เป็นต้น

เหล็ก มีส่วนช่วยขนส่งออกซิเจนให้แก่เซลล์ภูมิคุ้มกันและกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง พบธาตุเหล็กได้ในเนื้อไม่ติดมัน ผักใบเขียว พืชตระกูลถั่ว

วิตามินดี มีส่วนช่วยเพิ่มการตอบสนองของภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงของการติดเชื้อทางเดินหายใจ มีอยู่ในผลิตภัณฑ์จากนม ไข่ ปลา

ซีลีเนียม มีส่วนช่วยปกป้องร่างกายจากความเสียหายที่เกิดจากอนุมูลอิสระและการติดเชื้อ พบได้ในพืชตระกูลถั่วและไข่

การมีโภชนาการที่ดีเชื่อมโยงกับภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงขึ้นเสมอ และมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงและความรุนแรงของการติดเชื้อ ผู้ที่ขาด 5 สารอาหารสำคัญ อาจมีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อจากเชื้อโรคที่เป็นอันตรายและการติดเชื้ออื่น ๆ ได้

แนวทางการฟื้นฟูภาวะ Long COVID ลองโควิด
เมื่อทราบว่ามีอาการ Long COVID และปรึกษาแพทย์แล้ว ในช่วงที่พักฟื้นรักษาตัวอยู่ที่บ้าน ควรเน้นเรื่องการดูแลร่างกายเพิ่มเติมเพื่อลดผลกระทบจากการอักเสบของร่างกาย เพราะโควิด-19 ได้ทำให้เกิดการอักเสบทั่วร่างกาย ได้แก่

กินอาหารที่ช่วยฟื้นฟูร่างกายในทุกมื้อ
มุ่งเน้นที่อาหารมีโปรตีนสูงและวิตามินต่าง ๆ ที่มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างและซ่อมแซมเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น เนื้อสัตว์ ปลา ไข่ ถั่วต่าง ๆ และผักผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินซี โดยกินในสัดส่วนที่เหมาะสมไม่มากจนเกินไป

นอกจากนี้ การกินอาหารประเภทแป้งก็ควรเลือกกินประเภทแป้งที่ไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้องหอมมะลิ ขนมปังโฮลวีท เพื่อลดอัตราการดูดซึมน้ำตาลที่เร็วเกินไป (น้ำตาลมีส่วนเพิ่มโอกาสการอักเสบ) รวมไปถึงหลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลเป็นส่วนผสมด้วย

พยายามออกกำลังกาย (อย่างเหมาะสม)
การออกกำลังกายเป็นแนวทางหนึ่งในการฟื้นฟูร่างกายให้กลับมามีสมรรถภาพเช่นเดิมได้อีกครั้ง แต่ถึงแม้ว่าการออกกำลังกายจะเป็นผลดีต่อร่างกาย แต่บางอย่างอาจไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่เพิ่งหายจากโควิด (และถึงขั้นทำให้อาการแย่ลงได้) ดังนั้นในผู้ป่วยที่เพิ่งหายจากโควิดจึงควรเลือกการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม

เช่น เริ่มจากท่าออกกำลังกายเบา ๆ เน้นเคลื่อนไหวช้า ๆ ให้มากที่สุด อย่าพึ่งรีบไปทำท่ายาก อย่าเร่งตัวเองให้เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว เพราะช่วงแรกนั้น ปอดหรืออวัยวะต่าง ๆ ของเราอาจยังมีส่วนที่เสียหายอยู่ ยังทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ

โควิด-19 ในวันนี้ ส่งผลต่อผู้คนในรูปแบบที่แตกต่างกันไป ผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่จะมีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง และหายจากโรคได้เองโดยไม่ต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาล
  • อาการทั่วไป มีไข้ ไอ อ่อนเพลีย สูญเสียความสามารถในการดมกลิ่นและรับรส
  • อาการที่พบไม่บ่อยนัก เจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยเนื้อตัว ท้องเสีย มีผื่นบนผิวหนัง หรือนิ้วมือนิ้วเท้าเปลี่ยนสี ตาแดงหรือระคายเคืองตา

โปรดสังเกตร่างกายและใส่ใจดูแลสุขภาพของตัวเองมาก ๆ เพราะการระบาดของโควิด-19 ทุกวันนี้ยังมีตัวเลขของจำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิต ซึ่งเราทุกคนล้วนตระหนักดีว่า “การ์ดอย่าตก” ปกป้องดูแลตัวเองอย่างเคร่งครัด เช่น การสวมหน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่างทางสังคม และการล้างมือเป็นระยะ เป็นวิธีที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ได้นั่นเอง
แชทผ่านไลน์ @Liveandfit