LOGIN / REGISTER
OR
New Register
การดำเนินการต่อถือว่าคุณยอมรับ
Terms of Use and Privacy Policy
เราอาจส่งข่าวสารให้ท่าน ท่านสามารถปิดการรับข่าวสาร
ได้โดยเปลี่ยนการตั้งค่าในบัญชีของท่าน
เราจะไม่ส่งข่าวสารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากท่าน
LOGIN / REGISTER
New Register
Or Login By
OR
Order by Guest Account
การดำเนินการต่อถือว่าคุณยอมรับ
Terms of Use and Privacy Policy
เราอาจส่งข่าวสารให้ท่าน ท่านสามารถปิดการรับข่าวสาร
ได้โดยเปลี่ยนการตั้งค่าในบัญชีของท่าน
เราจะไม่ส่งข่าวสารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากท่าน
MY CART
Manage Item
ยังไม่มีคำสั่งซื้อ
You might also like
PRODUCTS
CUSTOMER SERVICE
ABOUT US
PROMOTION
REWARDS
HELPING
นวัตกรรมชะลอวัย ป้องกันร่างกายไม่ให้เสื่อมเร็ว
นวัตกรรมชะลอวัย ป้องกันร่างกายไม่ให้เสื่อมเร็ว

ความเสื่อมสภาพของร่างกายเกิดขึ้นได้ในทุกวัน แต่ร่างกายจะมีการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอหรือมีการสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาทดแทนเซลล์เก่าที่เสื่อมหรือตายไป ซึ่งเป็นกลไกตามธรรมชาติของร่างกาย แม้กระทั่งในวัยเด็กก็ยังมีการเสื่อมสภาพของร่างกายได้ แต่เป็นการเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย ไม่ชัดเจนเหมือนกับในวัยผู้ใหญ่ที่มีอายุเพิ่มมากขึ้น ความเสื่อมของร่างกายก็เกิดเพิ่มมากขึ้นและตามมาด้วยโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกาย เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน เป็นต้น และอนุมูลอิสระก็คือหนึ่งในปัจจัยที่มีส่วนทำให้ร่างกายเสื่อมสภาพเร็วก่อนวัยอันควร เป็นผู้ทำลายเซลล์สำคัญต่าง ๆ ของร่างกาย อันนำไปสู่การเกิดโรคต่าง ๆ ขึ้นนั่นเอง

อนุมูลอิสระ เป็นสารที่ไม่เสถียร เป็นเพียงโมเลกุลที่อยู่เพียงตัวเดียว (ไม่มีคู่) และเกิดขึ้นเองได้จากกระบวนการภายในร่างกาย เช่น การรับประทานมากเกินความจำเป็นสู่กระบวนการเผาผลาญที่มากขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดอนุมูลอิสระที่มากขึ้นด้วย และยังมีอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นจากปัจจัยกระตุ้นภายนอกร่างกาย แต่ส่งผลให้เกิดอนุมูลอิสระภายในร่างกาย ได้แก่ แสงแดดที่มีรังสี UV สูง ฝุ่น ควัน มลพิษ เชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสที่ปะปนมาในอากาศ อาหารที่ผ่านความร้อนสูง รวมถึงภาวะเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ และไม่ออกกำลังกาย เป็นต้น

เมื่อร่างกายมีอนุมูลอิสระเกิดขึ้น ก็จะสร้างสารต้านอนุมูลอิสระ antioxidant ขึ้นมาป้องกัน ต่อสู้ หรือกำจัดอนุมูลอิสระเหล่านี้ โดยสารต้านอนุมูลอิสระ antioxidant สามารถแบ่งตามกลไกการยับยั้งอนุมูลอิสระได้เป็น 3 ชนิด คือ

ป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระ (Preventive antioxidant)
  1. ทำลายหรือยับยั้งอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้น (Scavenging antioxidant)
  2. ทำให้ลูกโซ่ของการเกิดอนุมูลอิสระสิ้นสุดลง หรือการช่วยชะลอการเกิดออกซิเดชั่น ซึ่งเป็นตัวเร่งความแก่เร็ว ริ้วรอยมากขึ้นและเจ็บป่วยได้ง่าย (Chain breaking antioxidant)
  3. แต่หากอนุมูลอิสระมีจำนวนมากกว่าสารต้านอนุมูลอิสระ เมื่อนั้นอนุมูลอิสระตัวร้ายก็จะเริ่มทำลายเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย หรือที่เรียกว่า “Oxidative Stress” ที่มีส่วนทำให้เซลล์เกิดการอักเสบและเสียหาย

เมื่อเซลล์อักเสบและเสียหายจึงเกิดความเสื่อมของเซลล์ที่นำไปสู่ความเสื่อมของอวัยวะต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกร่างกาย เช่น
  • อนุมูลอิสระมีจำนวนมากที่ สมอง เสี่ยงสมองล้า มีปัญหาภาวะสมองเสื่อมอัลไซเมอร์
  • อนุมูลอิสระมีจำนวนมากที่ ตา เสี่ยงต่อการเกิดต้อกระจก ประสาทตาเสื่อม 
  • อนมูลอิสระมีจำนวนมากที่ หลอดเลือด เสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ
  • อนุมูลอิสระมีจำนวนมากที่ ผิวหนัง เสี่ยงต่อการมีริ้วรอยก่อนวัย เป็นสิว ผิวหนังแห้งหยาบ ไม่ยืดหยุ่น เป็นโรคผิวหนัง เช่น กลาก โรคสะเก็ดเงิน ผิวหนังอักเสบ มะเร็งที่ผิวหนัง ฯลฯ
  • อนุมูลอิสระมีจำนวนมากที่ ตับ เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน และโรคร้ายแรงอื่น ๆ
  • อนุมูลอิสระมีจำนวนมากที่ ไต เสี่ยงต่อการเจอสภาวะที่ไตภูกทำลาย เป็นโรคไตเรื้อรัง โรคไตอักเสบ 
  • อนุมูลอิสระมีจำนวนมากที่ หัวใจ เสี่ยงเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • อนุมูลอิสระมีจำนวนมากที่ ปอด เสี่ยงต่อการเป็นโรคหอบหืด หลอดลมอักเสบเรื้อรัง โรคมะเร็งปอด
  • อนุมูลอิสระมีจำนวนมากที่ ภูมิคุ้มกัน เสี่ยงต่อการมีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เจ็บป่วยง่าย เป็นโรคร้ายแรง
  • อนุมูลอิสระมีจำนวนมากที่ ข้อต่อกระดูก เสี่ยงต่อการมีภาวะกระดูกพรุน ข้ออักเสบ ข้อเข่าเสื่อม ข้ออักเสบสะเก็ดเงิน

ซึ่งในช่วงอายุวัยหนุ่มสาว ผลเสียที่เกิดจากอนุมูลอิสระและมีต่อร่างกายนั้นค่อนข้างน้อย เพราะร่างกายยังมีกระบวนการซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดขึ้นภายในร่างกายได้ ยังสามารถต่อต้านหรือกำจัดอนุมูลอิสระได้ดีในระดับหนึ่ง แต่เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นก็อาจจะเกิดภาวะเซลล์เสื่อมสภาพ หรือร่างกายอ่อนแอ ขาดการออกกำลังกาย มีความเครียด ภูมิคุ้มกันร่างกายไม่สามารถต่อสู้กับอนุมูลอิสระได้ อนุมูลอิสระก็จะทำลายเซลล์ต่าง ๆ นั่นเอง
 
ระยะของช่วงอายุที่มีผลต่อประสิทธิภาพของเซลล์ในร่างกาย
  • ช่วงอายุ 22 - 35 ปี ประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์ในร่างกายเริ่มลดลง ตั้งแต่ช่วงอายุ 22 ปี เริ่มมีอัตราการลดลงของฮอร์โมนในร่างกายและจะลดลงอีก 14% เมื่ออยู่ในช่วงอายุ 35 ปี ร่างกายจะเริ่มมีความเสื่อมสภาพแต่ยังไม่แสดงอาการให้พบเห็น
  • ช่วงอายุ 35 - 45 ปี เซลล์ต่าง ๆ จะเสื่อมลงมากขึ้น รวมไปถึงฮอร์โมนที่ลดลงเรื่อย ๆ ด้วยเช่นกันอีก 25% เมื่ออยู่ในช่วงอายุ 45 ปี ร่างกายเริ่มเปลี่ยนแปลงและแสดงให้เห็นถึงผลของความเสื่อมของเซลล์ เช่น ผิวหน้ามีริ้วรอย สายตาเปลี่ยน เริ่มมองไม่ชัด มีผมหงอก ในบางคนอาจตรวจพบเซลล์มะเร็งได้ในระยะนี้
  • ช่วงอายุ 45 ปี ขึ้นไป ปริมาณการเสื่อมสภาพของเซลล์เพิ่มมากขึ้น แต่การสร้างเซลล์ใหม่ลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นระยะที่ร่างกายของแต่ละคนอาจแสดงให้เห็นว่ามีอาการของผิวหนังแห้ง ผิวหนังมีริ้วรอยที่เห็นได้ชัดเจน ผิวหนังเหี่ยวย่น พบอาการไขข้อเสื่อม และสุขภาพต้องเผชิญกับโรคภัยต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง โรคทางระบบสายตาและการมองเห็น โรคเบาหวาน โรคตับ โรคมะเร็ง เป็นต้น

แต่ในปัจจุบัน ความเสื่อมสภาพของเซลล์ในร่างกายเริ่มมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นกับกลุ่มคนที่มีอายุน้อยที่อาจเป็นเพราะรูปแบบวิถีการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปเป็นตัวแปรทำให้ร่างกายต้องเผชิญกับ อนุมูลอิสระ ตัวเร่งความเสื่อมของร่างกายอย่างเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น การมีความรู้ความเข้าใจในวิถีการชะลอความเสื่อมของร่างกายด้วยวิธีการดำเนินชีวิตที่ไม่ประมาท มีการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ที่มีส่วนช่วยปกป้องร่างกายไม่ให้เสื่อมเร็ว ยืดอายุการทำงานของเซลล์ต่าง ๆ ให้ร่างกายได้ยาวนานขึ้นและส่งผลให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงแบบยั่งยืน

ป้องกันร่างกายไม่ให้เสื่อมเร็ว ด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ดังนี้...

สาหร่ายฮีมาโตค็อกคัส มีสารแอสตาแซนธิน (Astaxanthin) สูง

สาหร่ายฮีมาโตค็อกคัส เป็นที่รู้จักกันดีว่ามีโปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุต่าง ๆ อยู่ในปริมาณมาก แต่มีไขมันในปริมาณน้อย มีการศึกษาวิจัยพบว่า สารสกัดจากสาหร่ายฮีมาโตค็อกคัส เช่น กลุ่มสารโพลีแซคคาไรด์ กลุ่มสารไกลโคโปรตีน กลุ่มสารโพลีฟีนอล กลุ่มสารโทโคฟีรอล กลุ่มสารแคโรทีนอยด์ สารฟิวโคแซนทีน และสารพฤกษเคมีอื่น ๆ มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระคุณภาพสูง ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพในด้านการชะลอความเสื่อมของร่างกาย รวมไปถึงผิวพรรณที่ปรากฏให้เห็นได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะสารแอสต้าแซนทีน astaxanthin ซึ่งเป็นสารสำคัญในกลุ่มแคโรทีนอยด์ ที่มีมากในสาหร่ายฮีมาโตค็อกคัส ที่ปัจจุบันนักวิจัยได้ให้ความสนใจศึกษา สารแอสต้าแซนทีน astaxanthin สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทั้งด้านสุขภาพและการช่วยชะลอวัยอย่างกว้างขวางอีกด้วย

แอสต้าแซนทีน astaxanthin ถือเป็นนวัตกรรมชะลอวัย ป้องกันร่างกายไม่ให้เสื่อมเร็ว เพราะเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ antioxidant ที่มีกลไกในรูปแบบของการทำลายหรือยับยั้งอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้น (Scavenging antioxidant) มีส่วนช่วยป้องกันการทำลายเซลล์ และกระบวนการออกซิเดชั่นที่มีผลทำให้เกิดการเสื่อมของเซลล์และเกิดริ้วรอยก่อนวัย

แอสต้าแซนทีน astaxanthin เป็นสารชะลอวัยที่นิยมนำมาสกัดเป็นรูปแบบของอาหารเสริม เพื่อช่วยดูแลป้องกันร่างกายไม่ให้เสื่อมเร็ว ชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ช่วยบำรุงผิวพรรณ เส้นผม เล็บ ปกป้องดวงตา หัวใจ บำรุงสมองและความจำ และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายให้แข็งแรง เป็นต้น

ปริมาณการบริโภคสารแอสต้าแซนทีน astaxanthin จะนิยมบริโภคสารแอสต้าแซนทีน astaxanthin ในผู้ใหญ่ประมาณ 4 - 18 มิลลิกรัมต่อวัน และกินต่อเนื่องกัน ไม่เกิน 12 สัปดาห์หรือ 3 เดือน พักเบรกสัก 1 เดือน แล้วจึงค่อยกินต่อ โดยปริมาณการบริโภคสารแอสต้าแซนทีน astaxanthin ขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ที่ต้องการ เช่น ปริมาณ 4 มก. ต่อวัน มีผลต่อการลดการอักเสบได้ดี หรือบริโภคในปริมาณ 12 มก. ต่อวัน มีส่วนช่วยในการเพิ่มปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระ antioxidant ให้มากขึ้น อีกทั้งสารแอสต้าแซนทีน astaxanthin ยังจัดอยู่ในกลุ่มสารแคโรทีนอยด์ที่ละลายได้ดีในน้ำมัน จึงควรบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบของไขมันจะมีส่วนช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมสารแอสต้าแซนทีน astaxanthin ได้ดียิ่งขึ้น

ความมหัศจรรย์ของสารแอสต้าแซนทีน astaxanthin ที่ไม่มีสารต้านอนุมูลอิสระตัวอื่นเทียบได้ก็คือ เมื่อร่างกายได้รับสารต้านอนุมูลอิสระมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ สารต้านอนุมูลอิสระจะกลายเป็น Pro-Oxidant ก็คือกลายเป็นสารที่กระตุ้นให้เกิดอนุมูลอิสระแทน ซึ่งจากการศึกษาของนักวิจัยนั้นพบว่า แอสต้าแซนทีน astaxanthin ไม่เคยเปลี่ยนแปลงเป็นอนุมูลอิสระแถมยังเป็นตัวช่วยที่มีคุณค่าในการสร้างเสริมสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืนอีกด้วย

โดยปกติร่างกายไม่สามารถสร้างหรือสังเคราะห์สารแอสต้าแซนทีน astaxanthin ขึ้นมาเองได้ โดยจะต้องได้รับสารแอสต้าแซนทีน astaxanthin จากการกินอาหารเพียงอย่างเดียว และจะพบสารแอสต้าแซนทีน astaxanthin อยู่ในเปลือกกุ้งมังกร (ล็อบสเตอร์) เปลือกปู ปลาแซลมอน แต่พบมากที่สุดในสาหร่ายสีแดงสายพันธุ์ฮีมาโตค็อกคัส พลูวิเอลิส มากกว่าปู กุ้ง ปลา นั่นอาจเป็นเพราะ ปูและกุ้งไปกินสาหร่ายจึงมีสีแดง และปลาก็มากินกุ้งกินปูจึงเกิดสีแดง เนื่องจากแอสต้าแซนทีน astaxanthin เป็นสารที่ทำให้เกิดสีแดงหรือสีชมพูในพืชหรือสัตว์นั่งเอง

ตัวอย่างปริมาณสารแอสต้าแซนทีน astaxanthin ที่พบในอาหารชนิดต่าง ๆ
  • สาหร่ายฮีมาโตค็อกคัส พลูวิเอลิส 40,000 PPM
  • ยีสต์ (Phaffia Yeast) 10,000 PPM
  • กุ้ง 1,200 PPM
  • เคย 120 PPM
*ppm (Parts per million) คือส่วนต่อล้าน ใช้อธิบายคุณภาพของประสิทธิภาพหรือความเข้มข้นของสาร ในส่วนผสมที่ใหญ่กว่า สามารถใช้เพื่ออธิบายสารละลายในน้ำ อัตราความบกพร่อง ฯลฯ เป็นการวัดทางเทคนิคแบบไม่มีขนาดและเหมาะกว่าในการอธิบายความเข้มข้นของสารในก๊าซ ของเหลว หรือของแข็ง
 

ขมิ้นชัน (Turmeric)
ขมิ้นชัน เป็นพืชสมุนไพรที่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติที่มีสรรพคุณและความปลอดภัยในการนำมาใช้เป็นสมุนไพรรักษาโรค โดยมีการเลือกใช้เหง้าขมิ้นชันมาทำเป็นยา บดเป็นผงทำขมิ้นชันแคปซูล เป็นสารสกัดขมิ้นชัน เป็นวัตถุเครื่องปรุงในเมนูอาหาร หรือนำมาทำเป็นสีย้อมผ้า และใช้ทำประโยชน์อื่น ๆ อีกมากมาย ชื่อขมิ้นชันจึงเป็นชื่อที่คนไทยรู้จักกันดี หรือชื่อท้องถิ่นในประเทศไทยที่ใช้เรียกก็มี ขมิ้น ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว ขี้มิ้น เป็นต้น และสารสำคัญในขมิ้นชันคือคุณค่าจากธรรมชาติที่ถือเป็นนวัตกรรมชะลอวัย ให้คุณห่างไกลริ้วรอย

ขมิ้นชัน อุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินซี วิตามินอี และแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก ฯลฯ และมีสารสำคัญเด่น ๆ ในการออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาอยู่ 2 ชนิด ได้แก่
  1. น้ำมันหอมระเหย (Volatile oil) คือน้ำมันที่อยู่ในเซลล์ของพืช สามารถระเหยได้ที่อุณหภูมิห้อง บางครั้งเรียก essential oil นิยมแยกสกัดน้ำมันหอมระเหยออกมาเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมยา อาหารและเครื่องสำอาง
  2. เคอร์คูมิน (Curcumin) สารสีเหลืองส้มหรือสารสีทองที่ได้มีการศึกษาวิจัยการออกฤทธิ์ทางชีวภาพของสารเคอร์คูมินอย่างกว้างขวางในต่างประเทศ พบว่าสารเคอร์คูมิน (Curcumin) มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ antioxidant คุณภาพดี ที่มีส่วนในทุกกลไกของการยับยั้งอนุมูลอิสระ ทั้งการป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระ, ทำลายหรือยับยั้งอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้น, ทำให้ลูกโซ่ของการเกิดอนุมูลอิสระสิ้นสุดลง โดยสารเคอร์คูมิน (Curcumin) จากขมิ้นชันมีส่วนช่วยเพิ่มการทำงานของเอนไซม์ ที่ทำหน้าที่กำจัดอนุมูลอิสระในเลือด อาทิ ซูเปอร์ออกไซด์ดิสมิวเทส (superoxide dismutase; SOD) กลูตาไธโอน เปอร์ออกซิเดส (glutathione peroxidase; GSH) และลิพิดเปอร์ออกซิเดส (lipid peroxides) และเมื่อเปรียบเทียบกับพืชในวงศ์เดียวกัน พบว่าขมิ้นชันมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ antioxidant สูงที่สุด อีกทั้งยังมีฤทธิ์บำรุงและรักษาตับ มีส่วนช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลและป้องกันภาวะสมองเสื่อมอัลไซเมอร์
แต่เคอร์คูมินสารสีทอง​ในขมิ้นชันนั้นจะถูกดูดซึมได้น้อยและเหลืออยู่ในร่างกายไม่น้อยมาก เนื่องจากถูกตับกำจัดหรือขับออกจากร่างกายอย่างรวดเร็ว ​มีการศึกษาวิจัยที่พบวิธีการเพิ่มระดับเคอร์คูมินในกระแสเลือดให้สูงขึ้นได้ โดยการรับประทานคู่กับพริกไทย ผักผลไม้ ธัญพืชและปลาที่มีไขมันดี ฯลฯ โดยเฉพาะพริกไทยดำจะมีสารพิเพอริน Plperine ที่มีงานวิจัยพบคุณสมบัติช่วยในการดูดซึมสารเคอร์คูมินและเพิ่มประสิทธิภาพขึ้นถึง 2,000% ในเวลา 45 นาที ที่รับประทานร่วมกัน
 

พริกไทยดำ (Black pepper)
พริกไทยดำ คือการใช้ผลพริกไทยที่ยังไม่สุก แต่แก่เต็มที่ นำไปตากแดดให้แห้ง ผลพริกไทยจะแห้งและเปลี่ยนเป็นสีดำ จะไม่ปลอกเปลือก หากเป็นพริกไทยขาว (White pepper) หรือพริกไทยล่อน จะได้มาจากการนำผลพริกไทยสุกไปแช่น้ำเพื่อให้ง่ายต่อการลอกเปลือกออก แล้วจึงนำไปตากให้แห้ง

โดยพริกไทยดำนั้นเป็นวัตถุดิบหรือเครื่องปรุงอาหารไทยและเทศชั้นเลิศ รวมไปถึงเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณรักษาและบำบัดโรคในตำรับยาไทยอีกมากมาย ด้วยพริกไทยดำนั้นอุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินซี และสารต้านอนุมูลอิสระสูง ที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ช่วยในการรักษาโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัด ไอ จาม ไอมีเสมหะ และพริกไทยดำยังมีสารไฟโตนิวเทรียนท์ ที่มีส่วนช่วยในการสลายไขมันส่วนเกิน ลดน้ำหนัก ช่วยเร่งการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย

พริกไทยดำอุดมไปด้วยสารสำคัญชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า พิเพอริน (Piperine) ซึ่งเป็นสารอัลคาลอยด์ที่ทำให้เกิดกลิ่นฉุนและเผ็ดเป็นองค์ประกอบหลัก และตัวสารพิเพอรินเองก็มีประโยชน์ต่อสุขภาพในหลายด้าน เช่น บรรเทาอาการคลื่นไส้ ปวดหัว อาหารไม่ย่อย และยังมีฤทธิ์ช่วยต้านอักเสบ แต่สิ่งที่สำคัญคือ สารพิเพอรินในพริกไทยดำช่วยเพิ่มการดูดซึมสารเคอร์คูมินเข้าสู่ร่างกาย และยับยั้งกระบวนการกำจัดเคอร์คูมินโดยตับอีกด้วย

สารพิเพอรีน (Piperine) ในพริกไทยดำมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ antioxidant ที่มีส่วนช่วยชะลอการอักเสบของเซลล์ ช่วยลดการก่อตัวของแอมีลอยด์พลาก (Amyloid Plaques) ในสมอง ซึ่งเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคอัลไซเมอร์อีกด้วย
 

วิตามินอี (Vitamin E)
วิตามินอี คือหนึ่งในสารอาหาร 5 หมู่ ที่มีคุณประโยชน์จำเป็นต่อร่างกายในด้านสุขภาพและความงาม วิตามินอีเป็นหนึ่งในวิตามินที่ละลายในไขมันได้ดี ร่างกายจำเป็นต้องใช้วิตามินอีในกระบวนการต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในการปกป้องเซลล์จากอนุมูลอิสระ ป้องกันการอักเสบ และเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์

โดยร่างกายของคนเราจะใช้วิตามินอีเพื่อช่วยทำให้มีปฏิกิริยาในร่างกายเกิดขึ้น ส่งผลให้การทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายเป็นไปตามปกติ หรือพูดง่าย ๆ คือ

วิตามินอีเปรียบเสมือนน้ำมันหล่อลื่นในรถยนต์ที่จำเป็นต้องมี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ antioxidant แต่ไม่ได้ให้พลังงานแก่รถ นั่นคือ วิตามินอีไม่สามารถให้พลังงานโดยตรงกับร่างกาย แต่ร่างกายจำเป็นต้องได้รับวิตามินอีเพื่อไปทำหน้าที่เปลี่ยนอาหารให้เป็นพลังงาน คนเราต้องการวิตามินอีในปริมาณที่น้อยแต่ขาดไม่ได้

วิตามินอีมีอยู่ในอาหารธรรมชาติประเภทพืช ผักและผลไม้ อาหารจำพวกถั่ว อาหารทางการแพทย์ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ครีมทาผิว โลชั่นบำรุงผิว และอื่น ๆ อีกมากมาย แต่การเลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุก สด ใหม่ สะอาด และมีความหลากหลายจะทำให้ได้รับวิตามินอีที่ครบถ้วน ส่งผลให้สุขภาพร่างกายมีการทำงานที่สมบูรณ์เป็นไปอย่างปกติ
 

วิตามินซี (Vitamin C)
วิตามินซี เป็นวิตามินที่มีความจำเป็นต่อร่างกายเป็นอย่างมาก เป็นวิตามินที่ร่างกายผลิตขึ้นมาเองไม่ได้ แต่มีอยู่ในอาหารที่ได้มาจากธรรมชาติมากมาย อาทิ ผักผลไม้

โดยคุณประโยชน์หลัก ๆ ของวิตามินซีที่นอกจากจะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันร่างกายให้แข็งแรง ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บแล้ว วิตามินซี ยังมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ antioxidant ที่มีส่วนช่วยในกระบวนการต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในการปกป้องเซลล์จากอนุมูลอิสระ ช่วยในการสร้างคอลลาเจนที่ดีต่อผิวหนัง เหงือก ฟัน กระดูก กระดูกอ่อน ช่วยในการคืนสภาพของรีดิวซ์วิตามินอี และดีต่อระบบประสาทอีกด้วย

ซึ่งโดยปกติแล้วเราสามารถเลือกเติมวิตามินซีให้สุขภาพหรือป้องกันการขาดวิตามินซีในร่างกายได้ด้วยการกินผักและผลไม้ให้เพียงพอหรือโดยการกินผลิตภัณฑ์เสริมอาหารวิตามินซี

จริง ๆ แล้ว ความจำเป็นในการบริโภควิตามินซีจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แต่การบริโภควิตามินซีอย่างเพียงพอไม่เพียงแต่มีความปลอดภัยเท่านั้น ยังจำเป็นต่อการมีสุขภาพที่ดีอีกด้วย ซึ่งจากผลการศึกษามากมาย แนะนำให้มีการบริโภคผักและผลไม้มากกว่า 5 ส่วนต่อวัน และกินผลิตภัณฑ์อาหารเสริมวิตามินซี1 กรัม โดยแบ่งเป็น 2 หรือ 3 มื้อระหว่างวัน เพื่อให้มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง นอกจากนี้ ผู้ชาย ผู้สูงวัย ผู้ที่มักมีความเครียด และผู้ที่ชอบสูบบุหรี่ อาจมีความจำเป็นในการบริโภควิตามินซีเพิ่มมากขึ้นเพื่อการมีสุขภาพที่ดี และวิตามินซีสามารถถูกทำลายได้ด้วยแสงแดด ความร้อน หรือจากการปรุงอาหารที่ใช้ความร้อนสูง หรือการใช้เวลาปรุงอาหารเป็นเวลานานที่อาจทำให้วิตามินซีสลายหายไปได้ และการกินผักผลไม้สุกหรือดิบที่ไม่ได้ผ่านการปรุงจะทำให้ได้รับวิตามินซีมากที่สุดนั่นเอง
 
สารต้านอนุมูลอิสระที่มีส่วนป้องกันร่างกายไม่ให้เสื่อมเร็วนั้นมีมากมายอยู่ในพืชผักผลไม้และเนื้อสัตว์ที่เป็นอาหารของมนุษย์เรา แต่ด้วยไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต พฤติกรรมในการกินของแต่ละคนในแต่ละมื้อ อาจไม่ครบหลักอาหาร 5 หมู่ ที่มีส่วนทำให้ร่างกายขาดวิตามิน แร่ธาตุบางชนิด และสารอาหารที่จำเป็นและมีสารต้านอนุมูลอิสระธรรมชาติ และทำให้มีความจำเป็นต้องหาอาหารเสริมต่าง ๆ เพื่อมาชดเชยซ่อมแซมในส่วนที่ขาดหายไปนั่นเอง

อาหารเสริมในกลุ่มต่อต้านอนุมูลอิสระหรือสารแอสต้าแซนทีน ควรเป็นพื้นฐานแรกของการเลือกผลิตภันฑ์เสริมอาหารเพื่อช่วยดูแลสุขภาพได้ทั่วทั้งร่างกาย โดยเฉพาะท่านที่ชอบความสะดวก ง่าย และไม่อยากรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหลากหลายชนิดให้ปวดหัว ก็ลองศึกษาเพื่อเลือกอาหารเสริมในกลุ่มต้านอนุมูลอิสระหรือสารแอสต้าแซนทีนที่รวมครบจบด้วยคุณประโยชน์ต่อร่างกายมารับประทานกัน


 
ที่มา:
[1] ทฎษฎีความชรา / มรภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา
[2] ศาสตร์การชะลอวัย / มรภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา
[3]  Antioxidant สารต้านออกซิเดชัน / Food Network Solution ศูนย์เครือข่ายข้อมูลอาหาร
[4] แอสตาแซนทิน / Pobpad ข้อมูลสุขภาพที่ครบถ้วนและเชื่อถือได้
[5] สาหร่ายกับประโยชน์ด้านสุขภาพและการชะลอวัย / วารสารพยาบาลทหารบก
[6]  แอสตาแซนทิน เวชศาสตร์แห่งการชะลอวัย / SGE CHEM
[7]Astaxanthin สุดยอดสารต้านอนุมูลอิสระ มีข้อมูลแค่ไหน จะสุดยอดเหมือนโฆษณาหรือเปล่า
[8] บทบาทและการออกฤทธิ์ของแอสตาแซนทินในทางคลินิก
[9] แอสตาแซนธินมีพลังที่ไม่มีสารต้านอนุมูลอิสระตัวอื่นเทียบได้
[10] ขมิ้นชัน / ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  
[11] โครงงานวิจัยทางเภสัชศาสตร์ เรื่อง การพัฒนาผลิตภัณฑ์มาส์กหน้าจากสารสกัดธรรมชาติขมิ้นชัน
แชทผ่านไลน์ @Liveandfit