LOGIN / REGISTER
OR
New Register
การดำเนินการต่อถือว่าคุณยอมรับ
Terms of Use and Privacy Policy
เราอาจส่งข่าวสารให้ท่าน ท่านสามารถปิดการรับข่าวสาร
ได้โดยเปลี่ยนการตั้งค่าในบัญชีของท่าน
เราจะไม่ส่งข่าวสารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากท่าน
LOGIN / REGISTER
New Register
Or Login By
OR
Order by Guest Account
การดำเนินการต่อถือว่าคุณยอมรับ
Terms of Use and Privacy Policy
เราอาจส่งข่าวสารให้ท่าน ท่านสามารถปิดการรับข่าวสาร
ได้โดยเปลี่ยนการตั้งค่าในบัญชีของท่าน
เราจะไม่ส่งข่าวสารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากท่าน
MY CART
Manage Item
ยังไม่มีคำสั่งซื้อ
You might also like
PRODUCTS
CUSTOMER SERVICE
ABOUT US
PROMOTION
REWARDS
HELPING
ความเครียด ภัยเสี่ยงโรค
ความเครียด ภัยเสี่ยงโรค

ความเครียด
เป็นกลไกตามธรรมชาติของคนเราที่ใช้ตอบสนองต่อสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น ฝืนทำในสิ่งที่ไม่ชอบ ไม่ได้ทำสิ่งที่อยากทำ เกิดการแข่งขัน การคาดหวัง อยู่ในสถานการณ์เสี่ยงอันตราย ภาวะว่างงาน ความสัมพันธ์กับเพื่อน ครอบครัว ฯลฯ เป็นภาวะที่มีความวิตกกังวลหรือไม่สบายใจ

ภาวะความเครียดเป็นระบบเตือนภัยของร่างกายให้เตรียมพร้อมรับมือหรือกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การมีความเครียดก็มีส่วนดี เช่น เกิดความตื่นเต้น ความท้าทาย และความสนุก แต่ถ้าเครียดมากเกินไปก็จะไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ ซึ่งส่วนใหญ่ เวลาเครียดก็จะมีอาการปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ หัวใจเต้นเร็ว มือเท้าเย็น แต่รู้ไหมว่า ยิ่งเครียด สุขภาพก็ยิ่งแย่

เมื่อมีภาวะความเครียด ร่างกายเกิดการกระตุ้นระบบประสาทซิมพาเทติก และกระตุ้นการหลั่งคอร์ติซอล (ฮอร์โมนความเครียด) จากต่อมหมวกไตให้อวัยวะต่าง ๆ ตื่นตัว เพื่อเตรียมร่างกายเข้าสู่ภาวะเตรียมพร้อมสู้หรือหนี โดยจะมีการแสดงอาการ คือ ใจเต้นรัว ความดันเลือดสูง หลอดเลือดหดตัว หายใจสั้นและถี่ เป็นอาการผิดปกติของร่างกายที่หากอยู่ในภาวะเครียดนาน ๆ ร่างกายและจิตใจจะได้รับผลกระทบจากอาการผิดปกติเหล่านี้ และทำให้เสี่ยงเกิดโรคที่มาจากความเครียด ได้แก่...

โรคปวดศีรษะไมเกรน
ความเครียดส่งผลให้สารเซโรโทนิน (Serotonin) ในสมองขาดพร่องไป ทำให้หลอดเลือดเกิดการพองขยายและหดตัวมากกว่าปกติ ส่งผลให้มีอาการปวดหัวไมเกรนนั่นเอง

โรคหัวใจขาดเลือด
ความเครียดส่งผลต่อหลอดเลือดและหัวใจ ทำให้เกิดความผิดปกติของระบบประสาทซิมพาเทติก ทำให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือดทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น และเร่งให้เกิดการทำลายชั้นเซลล์ของผนังหลอดเลือดแดง

โรคความดันโลหิตสูง
 มีการศึกษาพบว่า ในผู้ที่มีความเครียดสะสมเป็นเวลานาน มีโอกาสเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าคนปกติถึง 2 เท่า นอกจากนี้ในผู้ที่มีภาวะความเครียดจากงานซึ่งมีผลมาจากความทะเยอทะยานสูงโดยขาดการยับยั้งใจ จะทำให้ความดันโลหิตสูงและหัวใจช่องซ้ายโต

โรคทางเดินอาหาร
หากมีภาวะเครียดสะสมเป็นเวลานาน ร่างกายจะหลั่งน้ำย่อยในกระเพาะอาหารออกมามากกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการท้องอืด ลำไส้แปรปรวน กรดไหลย้อน

ปวดกล้ามเนื้อและนอนไม่หลับ
ความเครียดทำให้กล้ามเนื้อร่างกายตึง ปวดเมื่อย นอนท่าไหนก็ไม่สบายตัว ส่งผลให้การนอนหลับมีปัญหาอีกด้วย

โรคเบาหวาน
ความเครียดส่งผลโดยตรงทางด้านจิตใจซึ่งมีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาล เพราะฮอร์โมนที่เกิดจากความเครียดจะผลกระทบต่อการตอบสนองของอินซูลิน ทำให้ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยโรคเบาหวานได้

 โรคหอบหืด
ในผู้ป่วยที่มีประสบการณ์หายใจไม่ออกรุนแรงซ้ำ ๆ หรือเป็นโรคหอบหืด เมื่อเกิดความเครียดวิตกกังวลก็จะมีอาการหายใจเร็ว หายใจถี่ ส่งให้เกิดการกระตุ้นให้ร่างกายมีภาวะหอบหืดหนักขึ้นไปอีก

ภูมิแพ้
ความเครียดสามารถไปกดภูมิคุ้มกัน โดยผ่านฮอร์โมนชนิดหนึ่ง ในขณะเดียวกันความเครียดยังไปกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันอื่น ๆ และมีผลทำให้ระบบภูมิคุ้มกันพร่อง และอาจทำให้ติดเชื้อได้ง่าย

 และตับอักเสบจากการติดสุรา (เวลาเครียดยิ่งดื่มหนัก), ถุงลมโป่งพองจากการติดบุหรี่ (เวลาเครียดยิ่งสูบบุหรี่หนัก), โรคอ้วน (เครียดทำให้หิวบ่อย), เป็นหวัดง่าย, มะเร็ง ฯลฯ เป็นต้น
 

วิธีรับมือหรือจัดการความเครียด

 1. หมั่นอออกกำลังกาย
การออกกำลังกายสามารถช่วยลดความเครียดและจัดเป็นยาต้านเศร้าที่มีประสิทธิภาพ เพราะการออกกำลังกายทำให้ร่างกายหลั่งสารเซโรโทนิน (Serotonin) หรือสารเคมีรู้สึกดีที่ทำหน้าที่หลักในการควบคุมอารมณ์ ช่วยลดความเครียดได้ และต้องพยายามปรับทัศนคติของตัวเองให้สนุกกับกิจกรรมที่ทำ ไม่ฝืนทำหรือทำมากจนเกินไป จะส่งผลให้สูญเสียพลังสมองเป็นอย่างมาก

2. ฝึกการหายใจ
ฝึกการหายใจเพื่อคลายความเครียดด้วยการใช้กล้ามเนื้อกะบังลมบริเวณหน้าท้องแทนการหายใจที่ปกติเราใช้กล้ามเนื้อหน้าอก โดยการหายใจเข้าลึก ๆ นับ 1-4 ช้า ๆ จะรู้สึกว่าท้องพองออก หลังจากนั้นค่อย ๆ ผ่อนลมหายใจออก นับ 1-8 ไล่ลมหายใจออกมาให้หมด สังเกตว่าหน้าท้องจะแฟบ และทำแบบนี้ติดต่อกัน 4-5 ครั้ง ซึ่งการฝึกหายใจแบบนี้มีส่วนช่วยทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนมากขึ้น สมองสดชื่นแจ่มใสขึ้น

3. จัดตารางกิจกรรมและลงมือทำให้สำเร็จ
  • จดบันทึกกิจกรรมที่จะทำ กำหนดตารางนัดหมายที่จะทำ ช่วยลดความกังวลในการจะทำสิ่งที่ตั้งใจ โดยจัดความสำคัญของสิ่งจำเป็นที่ต้องทำ และลดความสำคัญของสิ่งที่ยังรอได้
  • การทำกิจกรรมที่เรากำหนดเป้าหมายไว้นั้นช่วยเพิ่มความรู้สึกว่า เราทำได้ และสามารถทำได้ทุกวันอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มจากกิจกรรมเล็ก ๆ เช่น ตื่นเช้ากว่าเดิม 30 นาที, กินมื้อเช้า, ดื่มน้ำเปล่าแทนน้ำอัดลม เป็นต้น
 
4. พูดคำขอบคุณจากความรู้สึก
การพูดคำขอบคุณเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ฟังรู้สึกดี แต่การที่เราซึ่งเป็นผู้พูดจะรู้สึกดีไปด้วยนั้น อยู่ที่ความรู้สึกขอบคุณที่เกิดขึ้นภายในใจ เพราะความรู้สึกขอบคุณจะประกอบไปด้วยความซาบซึ้ง ความประทับใจ ซึ่งเป็นยาต้านความเครียดที่ได้จากธรรมชาติ เป็นการเพิ่มพลังบวกที่ช่วยเชื่อมโยงระหว่างสมองส่วนคิดกับสมองที่เกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึก
 
5. การหัวเราะคือยาวิเศษ
ขณะที่เราหัวเราะ ร่างกายจะหลั่งสารโดปามีน (dopamine) หรือสารแห่งความปิติยินดี ที่มีส่วนช่วยลดความเครียด และทำให้สารคอร์ติซอล (ฮอร์โมนความเครียด) กลับมาอยู่ในระดับที่สมดุล ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแข็งแรงขึ้น อีกทั้งการหัวเราะยังมีส่วนช่วยให้ออกซิเจนเข้าไปหล่อเลี้ยงร่างกายได้ดีขึ้น ทำให้เกิดการไหลเวียนของเลือดที่ดี มีส่วนทำให้ร่างกายสดชื่นขึ้น คลายความเศร้าหมอง จิตใจสงบ ช่วยให้สมาธิและความทรงจำดีขึ้น
 
 
ที่มา:
[1] ความเครียด เกิดจากตัวเราหรือฮอร์โมนเป็นตัวกำหนด
[2] เคล็ดลับบอกลาความเครียด
[3] แค่เครียดก็เสี่ยงโรค
[4] แบบประเมินความเครียด (ST-5) คัดกรองความเครียดได้ด้วยตัวเอง
[5] 13โรคที่เกิดจากความเครียด
แชทผ่านไลน์ @Liveandfit